เศรษฐกิจพอเพียง การผสมเทียมปลา
  
เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2011 เวลา 15:36
การผสมเทียมปลาสลิด
1. การเตรียมบ่อและโรงเรือน
1.1 บ่อ ที่ใช้ในการเพาะฟักปลาสลิดโดยการผสมเทียมนั้น จะทำเป็นบ่อปูนโดยการก่ออิฐบล๊อกขนาดกว้างอิฐ 3 ก้อน ยาว 8 ก้อน สูง 3 ก้อน ยกพื้นจะหรือพื้นสำหรับเป็นบ่อจริงสำหรับขังน้ำ 2 ก้อน
1.2 โรงเรือน โรงเรือนที่สร้างคลุมบ่อหรืออ่างเพาะฟักนั้นจะต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรง เรือนได้ เพราะอุณหภูมิในโรงเรือนนั้นมีผลต่อการเพาะฟักปลาสลิดโดยวิธีการผสมเทียม เป็นอย่างมาก โดยหลังคาและด้านข้างจะต้องใช้พลาสติกคลุมและมีพัดลมสำหรับระบายอากาศเมื่อ ยามอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง 40 องศาเซลเซียส
1.3 อุณหภูมิ อุณหภูมิที่ใช้ในการเพาะฟักปลาสลิดโดยการผสมเทียม อุณหภูมิของน้ำในระหว่างเพาะฟักจะอยู่ในช่วง 28 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในโรงเรือนจะอยู่ในช่วง 38 – 40 องศาเซลเซียส
1.4 ฮอร์โมนที่ใช้ผสมเทียม จะใช้ฮอร์โมนซูพรีแฟคที่มีความเข้มข้น 25 ไมโครกรัม จะใช้ให้กับแม่พันธุ์เท่านั้น
1.5 จำนวนพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ จะใช้อัตราส่วน 1 / 1 ขนาดของบ่อกว้าง 1.20 ม. ยาว 4 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ ประมาณ 15 คู่
1.6 การเตรียมบ่อเพาะฟักปลาสลิดโดยวิธีการผสมเทียม จะต้องเตรียมน้ำก่อน โดยการนำหญ้าแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 15 – 20 กำ/บ่อ ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน จะสังเกตได้จากสีของน้ำจะออกสีแดง ๆ
1.7 เมื่อเตรียมบ่อและเตรียมน้ำเสร็จแล้วให้นำพ่อพันธุ์ปล่อยลงไปในบ่อๆละ 15 ตัวหลังจากนั้นให้ฉีดฮอร์โมนให้กับแม่พันธุ์ แล้วปล่อยลงไปในบ่อ ๆ ละ 15 ตัว เช่นกัน หลังจากนั้นให้ใช้ สแลนสีเขียวชนิดพรางแสง ประมาณ 60/40 ปิดปากบ่อเพื่อให้เกิดความมืดเพื่อให้ปลาก่อหวอด
1.8 หลังจากปล่อยพ่อแม่ปลาลงในบ่อเพาะฟักแล้ว ประมาณ 48 ชั่วโมง ปลาจะเริ่มก่อหวอด ในระหว่างนั้นคาดว่าปลาจะวางไข่แล้ว
1.9 หลังจากปลาก่อหวอดแล้วอีกประมาณ 3 วัน หวอดจะยุบและจะเห็นลูกปลา
1.10 หลังจากปลาเป็นตัวแล้วให้เก็บหญ้าแห้งออก และเริ่มให้ไรแดง ไปจนกระทั่งมีอายุประมาณ 25 วัน ก็เริ่มจับจำหน่ายได้
หมายเหตุ จะต้องจับและเคลื่อนย้ายก่อนที่ลูกปลาเกร็ดแข็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลาเกร็ดแข็ง เกร็ดจะหลุดจะทำให้ปลาเป็นโรคเลี้ยงไม่รอด
การเจือจางฮอร์โมนสำหรับผสมเทียมปลา
ใน ที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการผสมฮอร์โมน ซูฟรีแฟคท์ เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เมื่อซื้อฮอร์โมนซูฟรีแฟคท์มาแล้วจากร้านขายยา ก่อนอื่นควรทราบรายละเอียดของฮอร์โมนก่อน กล่าวคือ
ฮอร์โมนที่ซื้อมา 1 ขวดนี้ ราคาประมาณ 1,650 บาท
ใน 1 ขวด จะบรรจุฮอร์โมนประมาณ 10 ซี.ซี. จะมีความเข้มข้น 10,000 ไมโครกรัม
ในการผสมเทียมปลาแต่ละครั้งจะใช้ความเข้มข้น ประมาณ 25 ไมโครกรัม
ฉะนั้นจะต้องเจือจางฮอร์โมนที่ซื้อมาซึ่งมีความเข้มข้นถึง 10,000 ไมโครกรัม ให้เหลือความเข้มข้นประมาณ 25 ไมโครกรัม จึงจะผสมเทียมได้
ขั้นตอนในการเจือจางฮอร์โมนในการผสมเทียมปลามีดังนี้
1. นำฮอร์โมนที่ซื้อมา 1 ขวด ใช้เข็มฉีดยาดูดฮอร์โมนออกมา 1 ซี.ซี. ใส่ขวดแก้วที่มีสีชาไว้
2. ซื้อน้ำเกลือ( ที่ใช้สำหรับให้คนป่วย) ที่มีเดร็กโตรส 5 % มา 1 ขวด หลังจากนั้นใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำเกลือออกมา 9 ซี.ซี. ผสมกับฮอร์โมนที่ดูดออกมาใส่ขวดไว้ในครั้งแรก เขย่าผสมให้เข้ากัน ( ในช่วงนี้ ความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ได้จะมีความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม )
3. เวลาจะใช้ฮอร์โมนในการผสมเทียมปลาจริง ๆ จะใช้เข็มฉีดยา ดูดฮอร์โมนที่ได้จากการผสมในข้อที่ 2 (ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม ) ออกมา 1 ซี.ซี. แล้วใส่แก้วไว้
4. ให้ใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำเกลือออกมา 4 ซี.ซี. ใส่ผสมกับฮอร์โมนในข้อที่ 3 เมื่อผสมกันแล้ว
5. (ในข้อ 3 และข้อ 4 )จะได้ฮอร์โมนทั้งหมดจำนวน 5 ซี.ซี. ความเข้มข้นของฮอร์โมนจะเหลือ 25 ไมโครกรัมแล้ว สามารถนำไปฉีดให้กับปลาได้ 5 กิโลกรัม แต่ก่อนจะนำไปฉีดจะต้องนำฮอร์โมนนี้ไปผสมกับ ยาโมทิเลี่ยม m 1 เม็ด ( โมทิเลียมจะต้องบดให้ละเอียดเสียก่อน) นำฮอร์โมนที่ผสมแล้วดูดใส่เข็มฉีดยาขนาดบรรจุ 1 ซี.ซี. ไว้จะได้ทั้งหมด 5 เข็ม
6. การฉีดฮอร์โมนแต่ละครั้งจะฉีดในปริมาณเท่าไร ก่อนอื่นต้องจับปลาชั่งที่ละตัวว่าน้ำหนักตัวเท่าไร ตัวอย่าง จับปลาตัวแรก ชั่งได้ นำหนัก 2 ขีด ให้เอาเข็มแทงบริเวณด้านข้างลำตัวใกล้ครีบหลัง แล้วฉีดฮอร์โมนให้ปลา 0.2 ซี.ซี. ถ้าปลาตัวต่อไปนำหนัก 2.5 ขีด ก็ฉีดฮอร์โมน 0.25 ซี.ซี. ( ให้ชั่งปลาทุกตัวและฉีดฮอร์โมน โดยยึดหลัก ปลา 1 กิโลกรัม ต่อ ฮอร์โมน 1 ซี.ซี.)
หมายเหตุ
ในการเจือจางฮอร์โมนใน ทางปฏิบัติจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อเป็นแล้วสามารถนำไปใช้ในการผสมเทียมได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาดุก ตะเพียน ยี่สก
ปัญหาจริง ๆ คือ ไม่มีใครบอกวิธีการเจือจางฮอร์โมน ได้แต่บอกว่า ว่าผสมเทียมปลาจะต้องฮอร์โมนที่มีความเข็มข้น 10 – 30 ไมโครกรัม แล้ว 10 – 30 ไมโครกรัม เอามาจากไหนมาได้อย่างไร ทำให้ผู้อ่านไม่สามารถปฏิบัติได้
นัก เรียนโรงเรียนบางลี่วิทยา มีการเรียนการสอนในรายวิชา การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด โดยผสมเทียมปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลาตะเพียน ปลายีสก ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย และปลาอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ หรือหาพันธุ์ปลาได้
โมทิเลียมซึ่งใช้ควบคู่กับซูพรีแฟ็คท์หาซื้อได้ตามร้านขายยาใกล้บ้านทั่วๆไป (ยาแก้อาเจียน) ราคาเม็ดละ 3-4 บาท
การผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน
ฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม
2. การคัดเลือกพ่อ – แม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป
3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
3.1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
3.2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3.3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
3.4. เข็มฉีดยา
3..5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
3.6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
3.7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
3.8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
3.9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา
4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมนฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่ เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้
1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ
การฉีดฮอร์โมนผสม เทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 – 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลา วางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้น ให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. – lnternational unit)
การ ฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสม เทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) – 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้
ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำ เชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 – 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่ง ฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุก เทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีด ครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้
ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มี น้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง
5. ปริมาณสารละลายที่ใช้
หลัง จากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็น เรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี
6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การ ฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร)
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครังที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรก หลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุกแล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่ พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อนั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะ ผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำ เชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก
น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมียประมาณ 10 ตัว
8. การฟักไข่ ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟัก ไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาด ประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่ปลา |