เศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องเขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2011 เวลา 15:19
๑.๑ ระดับการผลิตตามสภาพทางนิเวศน์ที่จัดให้อาจจะได้ปริมาณ คุณภาพ และผลทางเศรษฐกิจในระดับต่างๆกัน ตามชนิดของปลา และวิธีการเลี้ยง เช่น ในภูมิภาคซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดเพียง ๒๐ องศาเซลเซียส อาจจะเหมาะต่อการเลี้ยงปลาเมืองหนาว เช่น ปลาแซลมอน และปลาไน ในสภาวะดังกล่าวผลผลิตของปลาแซลมอนควรจะได้ ๑๖ กิโลกรัมต่อไร่และผลผลิตปลาไน ๓๒ กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ให้อาหาร ผลผลิตของปลาที่กินอาหารไม่เลือก เช่น ปลาหมอเทศจะได้ ๑๖๐-๒๕๔ กิโลกรัมต่อไร่ ปลากินแมลงจะได้ ๓๖-๙๐ กิโลกรัมต่อไร่ และปลากินเนื้อจะได้ ๑๓-๒๔ กิโลกรัมต่อไร่ การเลี้ยงปลากินพืชให้ผลผลิตเหนือปลาที่กินอาหารอย่างอื่น ถ้าไม่มีการให้อาหารสมทบโดยทั่วไปแล้ว ผู้เลี้ยงปลาจะเลือกปลาชนิดโตเร็วมาเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ๑.๒ การปล่อยปลาอย่างอื่นรวมกัน ปริมาณการผลิตจะได้สูงสุด หากเลี้ยงปลาที่กินอาหารที่มีห่วงโซ่อาหารสั้นเช่น ปลากินพืช ปลากินแพลงก์ตอน ปลากินอาหารไม่เลือกและปลากินเศษชีวอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย หรือเป็นปลาที่กินอาหารสมทบที่หาง่าย ราคาถูก และเป็นปลาที่อยู่ร่วมกับปลาอื่นได้ดี ไม่แก่งแย่งอาหารและทำร้ายกันและกัน ๒. ควบคุมการปล่อยปลา การปล่อยปลาจะต้องคำนึงถึงปริมาณที่จะปล่อยในอัตราพอดี เพื่อให้ได้ผลทางคุณภาพและปริมาณสูงสุดภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด การปล่อยปลาขึ้นอยู่กับกำลังผลิตและขนาดของบ่อ กำลังผลิตทั้งหมดเท่ากับผลบวกของกำลังผลิตตามธรรมชาติ รวมกับกำลังผลิตที่เกิดจากการใส่ปุ๋ยหมักและการให้อาหาร ๔. ปรับปรุงการสืบพันธุ์และการคัดพันธุ์ ๔.๑ ควบคุมและปรับปรุงการสืบพันธุ์ ปลาบางชนิดขยายพันธุ์ง่ายในบ่อ แต่บางชนิดไม่ขยายพันธุ์ และบางชนิดแพร่พันธุ์รวดเร็ว ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการควบคุมและปรับปรุงด้วยวิธีการต่างๆ กล่าวคือ ๔.๒ การคัดพันธุ์ การคัดพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตเป็นที่ทราบกันดีว่าลูกปลาที่เกิดในครอกเดียว กันจะเจริญเติบโตผิดแผกแตกต่างกัน การคัดเอาลูกที่โตดีและนำไปผสมกับลูกปลาครอกอื่นที่โตดีหลายๆ ชั่ว เราก็จะได้พันธุ์ที่เจริญเติบโตดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการเช่น มีสีต่างๆ มีเกล็ดมากน้อยหรือไม่มีเลย มีรูปร่างยาวหรือป้อมสั้น มีความต้านทานโรค วางไข่ช้าหรือเร็วกว่าปกติ และที่สำคัญก็คือการเจริญเติบโตรวดเร็ว ๖. การผลิตติดต่อสืบเนื่องกันตลอดปี ในภูมิอากาศร้อนการเจริญเติบโตของปลาเป็นไปตลอดทั้งปี ผิดกับในภูมิอากาศหนาว ซึ่งมีช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตสั้น ฉะนั้น การเลี้ยงปลาในบ่อในภูมิอากาศร้อน จึงสามารถดำเนินการติดต่อกันไปตลอดปี และถ้าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กอาจจะเลี้ยงได้ ๒-๓ รุ่น เช่น การเลี้ยงปลาดุก ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าปกติมาก ๗. การเลี้ยงปลารวมกับสัตว์อื่น การเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลา ให้ประโยชน์หลายทางด้วยกัน กล่าวคือ (๑) เป็ดจะถ่ายมูลลงในบ่อ ทำให้เกิดเป็นปุ๋ยในน้ำและในดินก้นบ่อ ก่อให้เกิดแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดิน (๒) เป็ดที่หากินบริเวณที่ตื้นชายตลิ่งจะช่วยกำจัดวัชพืชในบ่อ (๓) การขุดคุ้ยดังกล่าวจะช่วยให้อาหารธาตุที่มีอยู่ในดินละลายในน้ำ ทำให้เกิดผลผลิตอาหารธรรมชาติ (๔)อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดเมื่อตกลงในน้ำ ปลาจะกินเป็นอาหารจะมีเหลือบางส่วนที่จะกลายเป็นปุ๋ย และ (๕) เป็ดจะช่วยกำจัดหอยซึ่งเป็นตัวนำโรคพยาธิบางอย่าง ๗.๒ การเลี้ยงปลากับหมู นิยมสร้างคอกหมูไว้กับบ่อปลา ปล่อยปลาที่เลี้ยงรวมกันหลายชนิด ได้แก่ ปลาเฉาปลาลิ่น ปลาเฉาดำ และปลาไน ผลผลิตปลาจากวิธีการเลี้ยงดังกล่าวจะได้ ๔๘๐-๑,๑๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ในไต้หวันเลี้ยงปลาจีนหลายชนิดรวมกัน และเลี้ยงหมู ๑๗ ตัวในเนื้อที่ ๑ ไร่ ได้ผลผลิตปลา ๘๐๐-๘๖๐ กิโลกรัม ผลผลิตดังกล่าวใกล้เคียงกับผลผลิตปลานิลในบ้านเรา ตามปกติการเลี้ยงหมูควบคู่กับปลานั้น ควรจะเลี้ยงในอัตรา ๓-๔ ตัวต่อเนื้อที่บ่อปลา ๑ ไร่ หมูตัวหนึ่งจะให้มูล ๑.๖-๑.๘ ตันต่อปี และมูลหมู ๑๐๐ กิโลกรัม ให้ผลผลิตปลาไน ๓-๕ กิโลกรัม ๗.๓ การเลี้ยงปลากับสัตว์น้ำอื่นๆ การเลี้ยงปลารวมกับหอย กุ้ง กบ และพวกสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะพาบน้ำเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตและเกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ (ดูเพิ่มเติมสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม ๑ เรื่อง ปลา) |
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |