ถึงเวลาแล้วหรือยังกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมถาวรแก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:02 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2011 เวลา 22:45 หากจะเปรียบเทียบชีวิตมนุษย์กับธรรมชาติแล้ว คงเปรียบกันไม่ได้เลย ในที่สุดแล้ว มนุษย์จะไม่มีทางเอาชนะธรรมชาติได้เลย เพียงแต่เราสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้เท่านั้นเอง แล้วจะทำอย่างไร เมื่อมนุษย์มีเพิ่มขึ้น คนเห็นแก่ตัวก็เพิ่มมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณด้วย ถึงแม้มนุษย์จะมีความเก่งกาจสามารถชำนาญการจะมากน้อยเพียงไรก็ตาม เราก็ไม่มีสิทธิที่จะเอาชนะธรรมชาติได้ เราอาจจะบังคับธรรมชาติให้เป็นดังใจที่เราต้องการ เช่น ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นลาสเวกัส รัฐเนวาด้า หรือ แม้แต่ที่ ดิสนี่แลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถบังคับน้ำให้ขึ้นลง ตามจังหวะ แสง สี เสียง ตามจังหวะดนตรี ทำความตื่นเต้นให้กับผู้รับชมเป็นอย่างมาก คนอาจจะทึ่ง และประหยาดใจ และยกนิ้วให้กับผู้คิดค้น ประดิษฐ์และสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น แต่ก็นั่นแหล่ะ ถึงแม้เราจะเก่งหรือมีความสามารถเพียงใด สุดท้ายแล้ว เราก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้เด็ดขาด เมื่อใดที่ธรรมชาติ ได้โหมกระหน่ำทำลายล้างมนุษย์ชาติแล้ว เราก็ยากที่จะป้องกันมันได้ เราจะสังเกต เหตุการณ์และภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ณ ปัจจุบัน คง ไม่กล่าวถึงอะไรมากมาย หรือ พูดให้กว้าง อารัมภบทไปมากกว่านี้แล้ว อยากจะกล่าวว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยของเรา ณ ปัจจุบัน ปีพุทธศักราช 2554 จะเริ่มคิด วางแผน หรือ อยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ และเตรียมตัวรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ปัจจุบัน จะเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่ประเทศไทยประสบ ณ ปัจจุบันนี้ และถือได้ว่า เป็นอุทกภัยน้ำท่วม ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ที่มีผลต่อทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ความเป็นอยู่ ฯลฯ ของมนุษย์เอง เนื่องในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนยังไม่ค่อยเยอะเหมือนทุกวันนี้ อีกทั้ง ก็ยังไม่มีบ้านเรือน โรงงาน หรือ ถนนได้ขัดขวางเส้นทางเดินของน้ำ เหมือนดังเช่นเป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ เราต้องมาทำความเข้าใจธรรมชาติ ของน้ำซะก่อนว่า โดยปกติแล้วธรรมชาติของน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ลุ่มหรือที่ต่ำ และมันก็จะไหลไปเรื่อยๆ จนไปรวมอยู่ที่จุดต่ำสุด เช่น ทะเลและมหาสมุทร เป็นต้น ตามหลักวิทยาศาสตร์ และ ตามหลักวิชาการ ได้มีการคิดและการคำนวณว่า น้ำที่มีความสูง 1 ลูกบาศก์เมตร คือ หน่วยอนุพันธ์ของหน่วยพื้นฐานในระบบ หน่วยเอสไอ คือ หน่วยความยาวมาคูณกัน ใช้สำหรับวัดปริมาตร เทียบได้กับลูกบาศก์ที่มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร ตัวย่อของหน่วยวัดคือ ม³ (m³) หรือ ลบ.ม. (http://th.wikipedia.org) จะมีแรงดันเป็นตันเลย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมขึ้นที่ประเทศไทยของเรา เราจะไม่ไปโทษใครใดๆทั้งสิ้น เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีใครล่วงรู้ หรืออยากให้มันเกิดขึ้น แต่เมื่อมันเกิดเหตุขึ้นแล้ว เราจะทำอย่างไร ? จะมีวิธีการ หรือ แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างไร? จะทำอย่างไร ให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ? วันนี้ ขอแสดงความคิดเห็น มันอาจจะเป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่ง ที่อาจจะไม่มีความหมายเลยก็ได้ แต่เนื่องด้วยความเป็นห่วงประเทศไทย อันเป็นที่รักของผม ดังที่ได้ กล่าวแล้วว่า ธรรมชาติของน้ำ ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ การไปกั้นหรือบังคับ ไม่ให้มันไหล ก็ต้องมีวิธีการ หรือ แผนการที่ดี ในการที่จะบังคับให้มันเป็นอย่างที่เราต้องการ ไม่ใช่เป็นการทำเฉพาะหน้า หรือ แก้ปัญหาเพื่อให้ผ่านไปในแต่ละสถานการณ์ ดังที่เราได้เห็นการแก้ปัญหา ณ ปัจจุบัน เราไม่ได้ว่าใคร และไม่อยากจะช้ำเติม ความหวังหรือกำลังใจของใคร แค่อยากเสนอแนวคิดแค่นั้นเอง ยิ่งเรากั้นน้ำสูงเท่าไหร่ แรงดันใต้น้ำก็ยิ่งเพิ่มทวีคูณเท่านั้น ดังนั้นเราควรมีวิธีจัดการน้ำที่ดี เพื่อที่จะทำให้น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำได้อย่างรวดเร็ว ผมอยู่ที่รัฐแคลิ ฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผมได้เห็นระบบจัดการน้ำของเราได้ดีมาก ถ้าเปรียบเทียบความกว้างใหญ่ของรัฐนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว รัฐนี้ก็ใหญ่พอๆกับประเทศของเรา อาจจะเล็กกว่าเล็กน้อยเท่านั้นเอง แต่ระบบจัดการน้ำเขา ทำได้อย่างดีเยี่ยม เขาสร้างคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ขนาดว่า รถสิบล้อสามารถวิ่งสวนกันได้เลย ในเวลาที่ไม่มีน้ำ แต่เมื่อใดที่เกิดฝนตกหนัก หรือ น้ำทิ้งจากบ้านเรือน สามารถไหลลงสู่คลองระบายน้ำของเขาได้อย่างสะดวก และไม่มีสิ่งกีดขวางใด ที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำได้เลย และน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่ทะเลและมหาสมุทรได้ในเวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ซึ่งจากการสังเกต ก็ทำให้นึกถึงประเทศไทยของเรา ว่า ประเทศไทยของเรา ก็น่าจะทำได้ แต่อยู่ที่จะมีใครมีแนวคิด มีผู้นำ และมีประชาชน ร่วมสนับสนุนมากน้อยเพียงใด ก็ขอฝากความหวังไปยังผู้นำประเทศก็แล้วกันว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะมาวางแผน และวางระบบ การจัดการน้ำทั่วประเทศกันใหม่ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำความเสียหายเหมือนอย่างที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ อันดับแรก เราจะต้องเริ่มตั้งแต่การรักษาธรรมชาติ การจัดการและการบริหารที่ดี ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้นำทุกท่านนะครับ เราเชื่อว่า ท่านได้ตั้งใจทำงานเต็มที่แล้ว ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ขอให้ท่านอย่ายอมแพ้ และตั้งใจทำงานต่อไป ผลงานเท่านั้น จะเป็นบทพิสูจน์ความตั้งใจจริงของท่าน ขอให้เหตุการณ์อันเลวร้ายนี้ จงผ่านไปอย่างรวดเร็ว และพวกเราจะช่วยกันพัฒนาประเทศชาติของเราให้กลับมาเหมือนเดิมนะครับ ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |