จังหวัดเชียงใหม่ (คำเมือง: จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย อนึ่ง ราวปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีมติให้เสนอโครงการจัดตั้งอำเภอนันทบุรีเฉลิมพระเกียรติ ต่อกระทรวงมหาดไทย [5] จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ของยูเนสโก[6] ประวัติศาสตร์พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” (คำเมือง: ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่า อาณาจักรล้านนา ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) กระทั่งในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า และได้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดี ปกครองนครเชียงใหม่และเป็นประมุขแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) และต่อมา เจ้านายซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่างๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลพายัพ” ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น “จังหวัด” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน ภูมิศาสตร์ที่ตั้งจังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ละติจูด 16 องศาเหนือ ลองติจูด 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร[8] อาณาเขตติดต่อ
จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ ภูมิประเทศจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
ภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู[8]
ทรัพยากรทรัพยากรป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่มีป่าไม้หลายประเภท ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมป่าสนเขา และป่าแดง เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ ประกอบด้วย ป่าธรรมชาติ สวนป่า และป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 8,787,656 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.92 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[8] แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 25 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง อุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ นอกจากนี้จังหวัดเชียงใหม่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เกิดขึ้น เป็นประจำ สาเหตุสำคัญเช่น การลักลอบตัดไม้ การบุกรุกเพื่อทำการเกษร และไฟป่า ทรัพยากรสัตว์ป่าพื้นที่ป่าในจังหวัด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่าสำคัญที่พบ ได้แก่ เลียงผา หมูป่า หมาจิ้งจอก เสือดาว อีเห็น ชะมด พังพอน ชะนี ลิง เม่น แมวป่า หมูหริ่ง กระต่ายป่า ตะกวด กิ้งก่า งู ตุ๊กแก ด้วง บึ้ง ไก่ป่า นกขมิ้น นกกระรางหัวขวาน นกกระขาบทุ่ง นกขุนทอง นกขุนแผน นกบั่งรอก นกกางเขน นกกาเหว่า นกเขียวคราม นกกระติ๊ต นกกระจิบ นกกระจาบ นกปรอด นกระวังไพร นกแซงแซว นกโพระดก นกนางแอ่น นกคุ่ม นกเขาเขียว นกเขาใหญ่ นกเขาขวาน นกเอี้ยง นกกระปูด เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] ทรัพยากรน้ำจังหวัดเชียงใหม่มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำปิง และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด และเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และยังแบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำดังนี้
ทรัพยากรธรณีจังหวัดเชียงใหม่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยมีการผลิตแร่ที่สำคัญ 8 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน เฟลด์สปาร์ (แร่ฟันม้า) แมงกานีส ชีไลต์ ดีบุก ดินขาว ฟลูออไรด์ และแร่หินอุตสาหกรรม และจังหวัดเชียงใหม่ยังมีแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญ เช่น แหล่งปิโตรเลียม อำเภอฝาง สภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำพุร้อน อำเภอสันกำแพงและอำเภอฝาง โป่งเดือด อำเภอแม่แตง บ่อน้ำแร่ธรรมชาติ อำเภอแม่ริม เป็นต้น แผ่นดินไหวจังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่สำคัญของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ขนาด 5.1 มีจุดศูนย์กลางในอำเภอแม่ริม ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยในบริเวณอำเภอแม่ริมและอำเภอข้างเคียง
การปกครองการปกครองส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 25 อำเภอมีดังนี้ การปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีจำนวน 211 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด, 1 เทศบาลนคร, 4 เทศบาลเมือง, 115 เทศบาลตำบล และ 91 องค์การบริหารส่วนตำบล มีรายชื่อดังนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่การเลือกตั้งดูบทความหลักที่: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งเขตเลือกตั้งออก เป็น 10 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 10 คน ส่วนวุฒิสภา มีการเลือกตั้งสมาชิกได้ 1 คน ปัจจุบันคือ ชูชัย เลิศพงศ์อดิศร สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
เศรษฐกิจผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2552 มีมูลค่า 127,660 ล้านบาท แบ่งเป็นภาคเกษตร 18,539 ล้านบาท (ร้อยละ 14.5) และนอกภาคเกษตร 109,121 ล้านบาท (ร้อยละ 85.5) ซึ่งสาขาการผลิตนอกภาคเกษตรที่สำคัญ มีบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 20,603 ล้านบาท (ร้อยละ 16.1) ตามมาด้วยสาขาการศึกษา 15,916 ล้านบาท (ร้อยละ 12.5) มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 2.3 มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ย 79,971 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับ 3 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดลำพูน และจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับรายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ยนั้น อยู่ที่ 59,092.45 บาท/คน/ปี อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด คือ อำเภออมก๋อย 29,198.01 บาท/คน/ปี และอำเภอที่มีรายได้สูงสุด คือ อำเภอฝาง 110,592.77 บาท/คน/ปี[8] การเกษตรจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่การเกษตร 1,835,425 ไร่ (ร้อยละ 12.82 ของพื้นที่จังหวัด) ส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน 515,385 ไร่ ปลูกข้าวรองลงมา 515,385 ไร่ พื้นที่การเกษตรนี้อยู่ในเขตชลประทาน 642,979 ไร่ (ร้อยละ 35 ของพื้นที่การเกษตร) มีครัวเรือนการเกษตร 1,192,446 ครัวเรือน ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ พ.ศ. 2553-2554 สูงสุด 3 อันดับ คือ 1) ข้าว ผลผลิตเฉลี่ย 387,744 ตัน, 2) ลำไย ผลผลิตเฉลี่ย 195,195 ตัน และ 3) กระเทียม ผลผลิตเฉลี่ย 97,395 ตัน[8] การอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่มีโรงงาน 1,395 แห่ง เงินลงทุน 32,180 ล้านบาท แรงงาน 43,306 คน อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ขนส่ง อโลหะ และเครื่องดื่ม ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พ.ศ. 2554 มี 34 โครงการ ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สิงคโปร์ มาเลเซีย เดนมาร์ก ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[8] การท่องเที่ยวในการสำรวจ World Best Award-Top 10 Cities จากผู้อ่าน Travel and Leisure นิตยสารท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 ผลปรากฏว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 2 ของโลก รองแต่เพียงกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งใน พ.ศ. 2552 จังหวัดเชียงใหม่ถูกจัดเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับ 5 ของโลก โดยพิจารณาจากสถานที่ ทัศนียภาพ ความสวยงามและร่มรื่น ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อาหารการกิน แหล่งช็อปปิ้ง ความเป็นมิตรของผู้คน ความคุ้มค่า ของเงิน เป็นต้น[10] ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดมีจำนวนนักท่องเที่ยว 5,040,917 คน อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศรองจากจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชลบุรี[8] เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 1,695,288 คน (ร้อยละ 33.63) สร้างรายได้รวม 39,507.03 ล้านบาท[8] แรงงานใน พ.ศ. 2553 จังหวัดเชียงใหม่มีกำลังแรงงาน 985,349 คน (หรือร้อยละ 58.5 ของประชากร) มีอัตราว่างงานเฉลี่ย 1.2% อัตราจ้างแรงงาน 180 บาท/วัน นอกจากนี้ มีแรงงานต่างด้าว 67,663 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าถึง 67,453 คน แรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพรับจ้างในกิจการก่อสร้างมากที่สุด 24,625 คน งานเกษตรและปศุสัตว์รองลงมา 22,655 คน[8] ประชากร
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรทั้งสิ้น 1,655,642 คน แยกเป็นชาย 806,720 คน หญิง 848,922 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 82.34 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555) ประชากรชนกลุ่มน้อยในจังหวัดมีจำนวน 64,505 คน กระจายตามอำเภอต่าง ๆ ใน 16 อำเภอ อำเภอที่มีประชากรชนกลุ่มน้อยมากที่สุด ได้แก่ อำเภอฝาง รองลงมา ได้แก่ อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย และอำเภอเวียงแหง[8] ประชากรส่วนใหญ่เป็น “ชาวไทยวน” หรือ “คนเมือง” ที่เหลือเป็น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทขึน และไทยสยาม[12] ศาสนาประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.80 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.60 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาฮินดูและสิกข์ร้อยละ 0.02 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.14[8] ศาสนสถานดูบทความหลักที่: รายชื่อวัดในจังหวัดเชียงใหม่ และ รายชื่อมัสยิดในจังหวัดเชียงใหม่
การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดม ศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 893 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 140 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 12 แห่ง มีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 138,288 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 75,804 คน[8] สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
และมีวิทยาเขตของสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด ได้แก่
สำหรับรายชื่อโรงเรียนดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ บริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 48 แห่ง 6,045 เตียง[8] มีบุคลากรแพทย์ 1,065 คน (สัดส่วนต่อประชากรเป็น 1: 1,540) พยาบาล 4,812 คน (1: 341) และทันตแพทย์ 359 คน (1: 13,445) อัตราการเกิด 10.98 ต่อ 1,000 คน อัตราการตาย 8.16 ต่อ 1,000 คน และอัตราการเพิ่มตามธรรมชาติ 2.52 ต่อ 1,000 คน[8] โรงพยาบาลของรัฐที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลสวนปรุง ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียงเจ้านายฝ่ายเหนือ
การเมือง
ข้าราชการ
สื่อมวลชน
ศิลปิน
บันเทิง
กีฬา
ประเพณีและวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
การคมนาคม![]() รถสองแถวที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก ทางรถยนต์การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางในตัวจังหวัดการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอสันทราย 11 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 23 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากอำเภอใกล้ที่สุด ไปถึงไกลที่สุด[13] ดังนี้
อนึ่ง หากจะเดินทางไปยัง พื้นที่ซึ่งเสนอจัดตั้งเป็น อำเภอนันทบุรี เฉลิมพระเกียรติฯ จะมีระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ทั้งสิ้น 280 กิโลเมตร สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ใน บริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 และ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 (สถานีขนส่งอาเขต) ทางรถไฟการคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์-เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่ ขบวนรถที่เข้า-ออกเชียงใหม่ มีดังนี้
ทางอากาศการคมนาคมทางอากาศ จังหวัดเชียงใหม่มีท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับ4ของประเทศรองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ตามลำดับ โดยมีเที่ยวบินไป-กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลีใต้ ลาว เมียนมาร์ ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเก๊า เป็นต้น ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษสำหรับระบบรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (Chiangmai Transit System หรือ CTS) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานขนส่งจังหวัด (สนข.) การสาธารณูปโภค
กีฬาจังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 และซีเกมส์ 1995 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง การแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดในปี พ.ศ. 2552[15] และล่าสุดคือ กีฬายุวชนอาเซียน เชียงใหม่มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ในเดือนตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ “บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่” [16]
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไปอำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภออื่น ๆ
เมืองพี่น้อง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
พิกัดภูมิศาสตร์: 18.8°N 98.98°E
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |