จีเอ็มโอกับข้าวไทยแก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2012 เวลา 01:44 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพุธที่ 03 สิงหาคม 2011 เวลา 02:05
โดย วันเพ็ญ วิทยา ฉายสุวรรณ รองอธิบดีกรมการข้าว หาคำตอบ…จีเอ็มโอ กับข้าวไทย กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาข้าวให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค แมลง และสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี เพื่อเป็นทางเลือกของชาวนาในการใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อ เพิ่มผลผลิตและรายได้ ในยุคสมัยที่โลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปอย่างไม่ หยุดยั้ง เพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูงมากขึ้น เพียงพอกับความต้องการอุปโภคและบริโภค เทคโนโลยีต่างๆ จึงถูกนำมาใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้สามารถมีผลผลิตที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค การ ตัดแต่งพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ ถือเป็นอีกเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในกว่า 20 ประเทศ ตามความจำเป็น ขณะที่ประเทศไทยนั้นยังไม่มีการอนุญาตให้มีการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอ ในระดับไร่นา รวมถึงการศึกษาวิจัยในศูนย์วิจัยของนักวิจัยก็ยังไม่ได้รับการยอมรับ และถูกต่อต้านจากองค์กรพัฒนาเอกชนอย่างรุนแรง “ข้าว” ถือเป็นพืชที่มีความสำคัญกับประเทศไทย ไม่เพียงเป็นสินค้าส่งออกสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละกว่า 100,000 ล้านบาท แต่ยังเป็นอาหารหลักของคนไทย เป็นพืชที่สร้างอาชีพเก่าแก่ที่สุดของคนไทยอาชีพหนึ่งนั่นคือ “ชาวนา” หรือกระดูกสันหลังของชาติ ดังนั้น การหยิบยกประเด็นการใช้ จีเอ็มโอ เข้ามาศึกษาวิจัยในประเทศนั้น จึงเป็นเรื่องท้าทายการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจอย่างยิ่ง ซึ่งในเรื่องดังกล่าว คุณวิทยา ฉายสุวรรณ รองอธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ว่า “กรมการ ข้าว ยืนยันว่าไม่มีนโยบายและไม่เห็นด้วยกับการนำเทคโนโลยีการตัดแต่งพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ มาใช้กับการผลิตข้าวของประเทศไทย” “เพราะการทดลองข้าว ที่ผ่านของไทย 40-50 ปี นั้นเราใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวผสมกันเอง เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานโรคบางอย่างไปผสมกับข้าวอีกพันธุ์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเรามีพันธุ์ข้าวมากถึง 17,000 พันธุ์ รวมถึงพันธุ์ข้าวจากอีรี่ด้วย ซึ่งขอยืนยันได้ว่าข้าวไทยนั้นไม่มี จีเอ็มโอ อย่างแน่นอน และไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้น และเรื่องข้าวนั้นสามารถตรวจสอบเรื่อง จีเอ็มโอ ได้ง่ายมากเพราะเรามีนักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตรที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่า มีการปลอมปนหรือไม่” รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าว แต่อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมการข้าวได้ให้มุมมองเกี่ยวการทดลองพืช จีเอ็มโอ ว่า “ใน ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น เห็นด้วยหากจะมีการทดลองพืช จีเอ็มโอ ในพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ข้าว เพราะเราต้องยอมรับว่าหลายประเทศนั้นได้มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ก้าวหน้าไป กว่าไทยมาก เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม แต่ก็ต้องตรวจสอบว่ามีผลกระทบอะไรกับพืชชนิดอื่นหรือไม่ แต่เท่าที่มีการนำเข้าพืช จีเอ็มโอ จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ผมก็ว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเพราะมีการนำเข้ามาเป็นสิบปี” ส่วน ประเทศไทยหากจะมีการทดลองจริงก็ต้องมีการออกกฎหมายควบคุมการเล็ดลอดออกมาของ พืช จีเอ็มโอ ให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนจะมีการให้ทดลองพืช จีเอ็มโอ กับพืชชนิดอื่น เพราะหากเราไม่ทำก็เท่ากับว่าเราจะล้าหลังประเทศอื่นๆ เขาได้ดำเนินการไปแล้วก่อนเรา โดยเฉพาะมะละกอหากไม่เร่งทำ ผมมั่นใจว่าอีกไม่เกิน 5-10 ปี เราต้องสั่งซื้อมะละกอเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เพราะขณะนี้โรคจุดวงแหวนนั้นมีการระบาดอย่างมาก จนทำให้ต้นมะละกอไม่สามารถออกดอกออกผลได้ และมะละกอก็เป็นอาหารหลักของคนไทยที่บริโภคกันทั่วไป “หากวันหนึ่งประเทศไทยต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าอายนะ” ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจะต้องเร่งดำเนินการศึกษาวิจัยดังกล่าว เพราะหากไม่เร่งดำเนินการจะประสบปัญหามะละกอขาดตลาด และต้องใช้ยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหาโรคจุดวงแหวน และแน่นอนว่ายาฆ่าแมลงนั้นมีผลกระทบกับสุขภาพของมนุษย์อย่างแน่นอน ขณะที่ผลกระทบจากพืช จีเอ็มโอ ที่มีต่อมนุษย์นั้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่ามีผลกระทบอย่างไร หรือไม่ ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าการปลูกพืช จีเอ็มโอ ในพืชบางชนิดที่มีการต้านทานโรคมาก ผมว่าจะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยมากกว่า เพราะเป็นการลดการใช้ยาฆ่าแมลงไปในตัวด้วย “ที่ผ่านมาประเทศไทยเคย เป็นที่หนึ่ง เวียดนาม อินเดีย มาดูงาน แต่ปัจจุบันประเทศพวกนี้มีการวิจัยเรื่องพืช จีเอ็มโอ ที่ก้าวหน้าไปกว่าไทยมากแล้ว เพราะไทยจะทำอะไรทีก็มีกรอบและถูกต่อต้านอย่างมากจากบางองค์กร ซึ่งผมว่าเกิดจากความไม่เข้าใจกันทั้งนั้น และข้าวไทยไม่มีการทำวิจัยเรื่อง จีเอ็มโอ อย่างแน่นอนเพราะไม่มีความจำเป็น เรามีนักวิชาการที่คิดค้นวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคและเหมาะสมกับการนำไปเพาะปลูกกับสภาพดินชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว” รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าว นอกจากนี้ คุณวิทยายังกล่าวถึงสถานการณ์ข้าวไทยในขณะนี้ว่า ปัจจุบันเราถือว่าได้เปรียบหลายประเทศที่เป็นคู่แข่งส่งออกข้าวกับไทย เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะสมแม้จะมีภัยธรรมชาติน้ำท่วม เกิดขึ้นบ้างแต่ก็ไม่รุนแรงเหมือนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามที่ประสบปัญหามรสุมจนทำให้งดการส่งออกข้าว เหมือนกับจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ที่ประสบกับภัยธรรมชาติเหมือนกัน ดังนั้น ขณะนี้ประเทศไทยจึงถือว่าเป็นประเทศที่ได้เปรียบที่สุดและขึ้นอยู่กับความ สามารถของกระทรวงพาณิชย์ในการระบายข้าวที่มีอยู่ในโกดัง 4 ล้านตัน เพราะถือว่าตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีข้าวในโกดังมากที่สุด ต้องระบายข้าวโดยที่ไม่ให้ราคาข้าวในประเทศตกลงและขายได้ราคาดี และรัฐบาลจะต้องหันมาให้ความสนใจกับการดำเนินนโยบายเรื่องข้าวให้มาก “ในอนาคตนั้นการรับจำนำข้าวจะต้องลดน้อยลงและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคาที่แท้ จริง เพราะที่ผ่านมามีการตั้งราคารับจำนำให้สูงกว่าที่เป็นจริงทำให้พ่อค้าตัว จริงขายข้าวได้ลำบาก และรัฐบาลก็จะดูแลในเรื่องของระบบ และหากยุทธศาสตร์ข้าวเป็นไปตามระบบก็จะทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างราบ รื่น ครบวงจร และไทยจะกลับมาเป็นมหาอำนาจเรื่องข้าวได้อีก และเวียดนามก็ไม่มีโอกาสก้าวทันเรา” “เพราะในยุทธศาสตร์กำหนดให้เห็น ความสำคัญของการศึกษาวิจัย การดึงคนสมัยใหม่เข้าสู่ท้องไร่ท้องนา ทั้งยุวเกษตรกร คนงานที่ถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรม เพราะปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่จะมีอายุมาก เฉลี่ย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งวิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือต้องทำให้ชาวนามีคุณภาพชีวิต และรายได้ที่ดีขึ้น” คุณวิทยา กล่าวในที่สุด |
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |