![]() |
|||||||||||||||||||||
ชนชาติพันธุ์ล้านนา ม้งแก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 14:01 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 13:51 ดูภาพและข้อมูลเพิ่มเติมในเฟรชบุ้ค คลิ๊กที่นี่
|
|||||||||||||||||||||
ภาษาม้งอยู่ในตระกูลม้งหรือแม้ว |
|||||||||||||||||||||
อีกที่มาหนึ่งประวัติและความเป็นมา (History of the Hmong people) ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน และอีกประการหนึ่งคือเห็นว่า ม้งเป็นพวกอนารยชนแห่งขุนเขา (คนป่าเถื่อน) จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 – 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318 ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน
เข้าพิพิธภัณฑ์ : เกี่ยวกับโครงการ : กระดานข่าว : สมุดเยี่ยม : ติดต่อเรา : English Version |
ม้ง (แม้ว)Hmong (Meo)
ม้ง (แม้ว) Hmong (Meo) ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน หรือ แม้ว-เย้า (Hmong-Mien or Meo-Yao Language Family) Synonyms : Synonyms : H’moong, Meau, Mong, Miao |
|
|
|||||||
หน้าที่ของภรรยาม้ง ต้องบำเรอความสุขให้สามี ต้องทำงานบ้านทุกประเภท เช่น ทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ตักน้ำ เก็บฟืน ตัดไม้ ถางหญ้า กรีดฝิ่น ปั่นฝ้าย ทอผ้า เลี้ยงเด็ก ส่วน ผู้ชาย จะนั่งจิบน้ำชา ผู้ชายที่มีภรรยาซึ่งไม่สามารถมีบุตรสืบตระกูล สามารถหาภรรยาคนใหม่ได้ และต้องมาช่วยภรรยาคนแรกทำงาน (บุญช่วย 2506, น.599) การสืบมรดกของม้ง ทรัพย์สินส่วนตัว จะแยกจากของครอบครัว เมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ทรัพย์สินของครอบครัว เช่น บ้านของ บิดา และหิ้งผีบรรพบุรุษตกเป็นของหัวหน้าครอบครัวคนใหม่ ได้แก่ลูกชายคนเล็กที่สุดที่แต่งงานแล้ว ส่วนทรัพย์สินส่วนตัวจะแบ่งกันระหว่างทายาท เช่น เงินสด เครื่องประดับ หรือเครื่องเงิน ลูกชายที่อาวุโสที่สุดจะได้ก่อน (ขจัดภัย 2538, น.41-42 และ Lebar and others 1964, p.80) ระบบการปกครองของม้งจะมีหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งจะมีการรวมกลุ่มของผู้ชาย หัวหน้าหมู่บ้านอาจมีมากกว่าหนึ่งคน ตระกูลที่มีสมาชิกจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง อย่าง ไรก็ตาม การเป็นหัวหน้าหมู่บ้านของม้งไม่มีกำหนดวางไว้ เมื่อได้รับตำแหน่งแล้วก็จะดำรงตำแหน่งตลอดไปจนสิ้นสภาพ เมื่อตายหรือลาออกหรือที่ประชุมหมู่บ้านเห็นว่าไม่ เหมาะสมจะมีมติให้ลาออก (ขจัดภัย 2538, น.33) ในการปกครองของพวกม้งจะยึดถือจารีตประเพณี โดยเชื่อว่า ผีฟ้าเป็นผู้บัญญัติจารีตต่างๆ ถ้าใครทำผิดจารีต ผีฟ้าจะลงโทษ นอกจากนั้น ผู้ทำผิดจารีตอาจถูกปรับไหม โดยการเลี้ยงผีฟ้าตอบแทน หากมีกรณี พิพาทระหว่างตระกูล จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นตัดสิน ฝ่ายที่แพ้คดีจะถูกปรับไหม โดยแบ่ง ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งให้หัวหน้าหมู่บ้าน อีกส่วนหนึ่ง แบ่งให้ผู้ชนะคดี (ขจัดภัย 2538, น.35-36) ความเชื่อทางศาสนาของม้ง มีความเชื่อในผีบรรพบุรุษ และวิญญาณ ผีที่ม้งนับถือมี 2 ชนิด คือ ผีฟ้า หมายถึง ผู้สร้างแผ่นดิน มนุษย์และสัตว์ บันดาลให้เกิดและตายได้ ผีเรือน คือ วิญญาณของบรรพบุรุษ ทำหน้าที่ปกปักรักษามิให้เกิดอันตรายอำนวยความสุข ความร่ำรวย และอาจทำให้เจ็บป่วย และยากจนได้เช่นกัน (บุญช่วย 2506, น.594) ผีเรือนของม้งมี 6 ตนเรียงลำดับตามอาวุโส คือ ผีปู่ย่าตาทวด ผีเสากลางบ้าย ผีเตาไฟ ผีเตาข้าวหมู ผีประตู และผีห้องนอน (พอลและอีเลน ลูวิส 2528, .131) ม้งเชื่อว่า มนุษย์ตายไปแล้ว วิญญาณยังคงเวียนว่ายอยู่ระหว่างบ้านของตนกับหลุมฝังศพ ชาวม้งจึงทำแท่น บูชาผีเรือนไว้ทุกบ้านและมีการเซ่นไหว้เป็นประจำ นอกจากนั้น ม้งยังเชื่อในผีร้าย เช่น ผีป่า(นะก่อ) ผีไร ่(นาเต๊) ผีกระสือ(ดั้งจ่อ) เมื่อมีผีป่าเข้าสิงร่างม้งจะมีพิธีขับไล่ พิธีนี้เรียกว่า “ฉะด้า” คือ เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปมนุษย์และสัตว์วางบน แผ่นไม้สานแล้วยกไปทิ้งข้างทางเดิน นอก จากนั้น ยังมีการ เซ่นผีป่าโดยการฆ่าสุนัข เอาโลหิตสุนัขทามีดไม้ เอาศีรษะและ เท้าสุนัข มัดแขวน กับปีกไก ศรีษะไก่ ห้อยไว้ที่ประตูห่างจากหมู่บ้าน ราว 1 กิโลเมตร (ดูเพิ่มเติมใน บุญช่วย 2506, น.595-597) ผู้ประกอบพิธีทางศาสนาของม้ง คือหมอผี เชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีหน้าที่เซ่นสังเวยผีต่าง ๆรักษาผู้ป่วยขับไล่ผีที่มาสิงมนุษย์ อ่านลางและทำนายความฝัน ทำเครื่อง รางของศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในหมู่บ้านหนึ่งอาจมีหมอผีหลายคน หรือหัวหน้าหมู่บ้านบางคนอาจเป็นหมอผีด้วยก็ได้ (ขจัดภัย 2538, น.47) ม้งสองกลุ่มในไทยจะแต่งกายต่างกัน ความแตกต่างในเรื่องนี้ดูได้จากเครื่องแต่งกายของหญิงม้งขาว และม้งน้ำเงิน ม้งน้ำเงิน ผู้หญิงจะสวมกระโปรงจีนพื้นสีน้ำเงิน และมีลวด ลายเป็นสีขาวจาง ๆ ที่ชายกระโปรงปักลวดลายสีต่าง ๆ และมีผ้าปิดข้างหน้าสีดำอยู่ข้างหน้า พวกม้งขาวจะนุ่งกางเกงสีน้ำเงินมีผ้าปิดข้างหน้าสีน้ำเงินและดำทั้งข้างหน้า และข้างหลังบางครั้งจะนุ่งกระโปรงเรียบๆสีขาวไม่มีปักหญิงม้งทั้งสองกลุ่ม นี้จะใส่คอเสื้อปักลวดลายเหมือนกันแต่ของม้งขาวจะใหญ่กว่าม้งน้ำเงิน ผู้หญิงม้งขาวจะใช้ผ้าโพก ผมทุกวัน ม้งน้ำเงินจะเกล้าผมสูงไม่ใช้ผ้าโพกผมนอกจากมีงานฉลอง ผู้ชายม้งขาวจะมีผ้าสีขาวอยู่ปลายแขนเสื้อ สวมกางเกงสั้นกว่าม้งน้ำเงิน สวมเสื้อสั้นเปิดท้องสีน้ำเงิน ส่วนม้งลาย ผู้ชายจะสวมเสื้อยาวไม่เปิดพุง กางเกงสีดำยาวถึงตาตุ่ม (ดูบุญช่วย 2506, น.571 และขจัดภัย 2538, น.28-29) ระบบเศรษฐกิจ ชาวม้งทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ ผัก ฝิ่น ชาวแม้วนิยมการปลูกฝิ่นหมุนเวียนกับ การปลูกข้าวโพด ข้าวโพดจะปลูกราว เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยที่ ฝิ่นจะปลูกใน เดือนกันยายน – พฤศจิกายน ฝิ่นที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกจำหน่ายไปและเก็บไว้บริโภคบางส่วน เงินสดที่ได้มาจะนำไปซื้อข้าว สิ่ง ของ จำเป็น เสื้อผ้า เกลือ น้ำมันก๊าด ไม้ขีดไฟ ถ่ายไฟฉายหรือสินค้าฟุ่มเฟือย ฝิ่นบางส่วนจะใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าจากพ่อค้าเร่ เวลาว่างจากการเพาะปลูก ม้งจะเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ หมู ม้า สุนัข(หมายุย) หรือออกไปล่าสัตว์ ดักสัตว์ เก็บของป่า เช่น หนังสัตว์ กล้วยไม้ น้ำผึ้ง หวาย เป็นต้น (ขจัดภัย 2538, น.42-45) สำหรับผู้หญิงม้งเมื่อมีเวลาว่างจะนิยม ทอผ้าจาก “ปาง” หรือต้นป่านป่า ด้านความเป็นอยู่ในบ้าน เวลาพวกม้งรับประทานอาหาร จะนั่งบนตั่งเตี้ย ๆ มีถาดไม้สานต่อขาสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก ใช้วางถ้วยอาหาร ใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวและหยิบอาหาร อย่างชาวจีน (บุญช่วย 2506, น.592) ที่มา http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/hmong.html |
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | |
1. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 1 | 11. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 11 | |
2. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 2 | 12. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 12 | |
3. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 3 | 13. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 13 | |
4. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 4 | 14. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 14 | |
5. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 5 | 15. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
6. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 6 | 16. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
7. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 7 | 17. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
8. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 8 | 18. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
9. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 9 | 19. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
10. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 10 | 20. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book | |
21. | นิยายรักน้ำเน่า เรื่องล่าสุด | |||||
22. | บันทึกรักน่าอ่าน | |||||
23. | รักเดียวใจเดียว | |||||
ขอบคุณนะครับ ที่ติดตามอ่านบทความของผม นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา | ||||||
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างอ่างเก็บน้ำญวนได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อได้ครับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 1 | 4. | ความเป็นมาของโครงการอ่างเก็บน้ำญวน 1 |
บทนำ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 2 | 5. | ความเป็นมาของโครงการอ่างเก็บน้ำญวน 2 | ตอนที่ 2 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 3 | 6. | เสียงน้อยๆที่คอยติดตามอ่างเก็บน้ำญวน | จากผู้เขียน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขอบคุณนะครับ ที่ติดตามอ่านบทความ ท่านสามารถร่วมเสนอแนวคิดได้ตลอดเวลานะครับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของดอยผาขาม (ดอยผาข่าม) โดยคลิ๊กอ่านที่นี่ได้ครับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 1 | 7. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 2 | 8. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | ตำนาน | 9. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. | ตำนานนกหัสดิลงค์ | ตำนาน | 10. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 4 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. | ยอดวิวดอยผาขาม | ภาพประกอบ | 11. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 5 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. | ถ้ำน้ำดั้น บ้านห้วยปุ้ม | บทความภาพ | 12. | บ้านปางถ้ำ – ถ้ำผาแดง – ถ้ำน้ำลอด | ภาพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขอบคุณนะครับ ที่ติดตามอ่านบทความ ท่านสามารถร่วมเสนอแนวคิดได้ตลอดเวลานะครับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ท่านสามารถคลิ๊กอ่านเรื่องราวต่างๆได้ในแต่ละหัวข้อเลยครับ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||