![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขมุ เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีถิ่นที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย นักภาษาศาสตร์ จำแนกภาษาของชาวขมุอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ – เขมร ชาวขมุเรียกตัวเองว่า “ขมุ” เชื่อกันว่าขมุเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียอาคเนย์ ในปัจจุบัน ชาวขมุกระจายตัวอยู่ทางประเทศลาวตอนเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขวงหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้น ชาวขมุอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในจังหวัดน่าน นอกจากนั้นมีอยู่ในจังหวัดเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัยและอุทัยธานีพบในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน
ชาวขมุส่วนใหญ่หาเลี้ยงชีพโดยการทำไร่บนภูเขา โดยส่วนพืชที่ปลูกในไร่นั้น คือข้าวสำหรับบริโภคและข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชสวนครัว ซึ่งเป็นพืชจำพวกเครื่องเทศ เช่น พริก หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า ขมิ้น เอาไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนอีกด้วย ในส่วนของตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน มีประชากรประกอบไปด้วยชนเผ่าต่างๆ หลายชนเผ่ารวมถึงชนเผ่าขมุด้วย ชาวขมุในพื้นที่แห่งนี้มีการใช้ภาษาขมุในการติดต่อสื่อสา รสื่อความหมาย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับครัวเรือนถึงชุมชน แต่เนื่องจากภาษาขมุเป็นภาษาที่มีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนภาษาขมุจึงมีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการสูญหายถ้าหากชาวขมุรุ่น หลังไม่อนุรักษ์ภาษาของตนเองอย่างแท้จริง ที่มา http://www.langrevival.mahidol.ac.th/Research/website/khm.html |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อีกที่มาหนึ่ง ผลงานภาพถ่ายชนเผ่าลีซูขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น บางทีก็เรียกว่า “ ข่า” ชาวขมุ แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม ตามลักษณะการใช้ภาษาและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คำที่ชาวขมุใช้เรียกพวกกันเองแต่ต่างกลุ่มคือ “ ตม้อย” โดยจะใช้ลักษณะเฉพาะของกลุ่มนั้นๆ ต่อท้าย เช่น ตม้อยปูลวง(ชาวขมุจากหมู่บ้านที่อยู่เดิม) ตม้อยดอย(ชาวขมุจากเขตภูเขา) ตม้อยลื้อ(ชาวขมุที่อยู่ในกลุ่มพวกลื้อ) ฯลฯ ภาษา อยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเซียติค สาขามอญ-เขมร สาขาย่อยขมุอิค ครอบครัว มีขนาดครัวเรือนขนาดเล็ก สมาชิกน้อย ระบบเครือญาติของขมุเป็นระบบที่ซับซ้อน ให้ความสำคัญทั้งพ่อแม่ฝ่ายชายและหญิง กฎการแต่งานในหมู่ญาติ ลูกชายสามารถแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องได้ ส่วนลูกหญิงจะต้องแต่งกับผู้อื่น อาหารการกิน กินข้าวเหนียวเป็นหลัก และกินเนื้อสัตว์และผักทุกชนิด อาหารประจำวันส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกพืชผักต่างๆ ทั้งที่ปลูกไว้ในไร่ และพืชผักสวนครัว บางส่วนได้มาจากจากการล่าสัตว์ หาของป่า อาหารจำพวกหมู ไก่ จะใช้เฉพาะในพิธีกรรม การประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้พริก เกลือ ผงชูรส และมักใส่ผักขี้อ้น (กลู้ช) เพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรส เป็นแกงผักน้ำใส อาหารที่ชาวขมุชอบมาคือ ปลาหมก (ก้ะ กูบ) ชาวขมุ จะหมักเหล้าไว้ใช้เอง เหล้าของชาวขมุ เป็นเหล้าอุเรียกว่า “ ปูจ” ไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือน และในการเซ่นไหว้ผี การแต่งกาย ชาวขมุไม่มีวัฒนธรรมในการทอผ้าเอง มีเฉพาะในกลุ่มขมุลื้อ ชาวขมุบางกลุ่มจะนิยมเสื้อผ้าสีดำ หรือสีคล้ำเข้ม ผู้หญิงจะใช้ซิ่นลายขวางแบบไทลื้อ สวมเสื้อผ้าหนาสีน้ำเงินเข้มตัวสั้น ตกแต่งด้วยผ้าด้ายสีและเหรียญเงิน ใส่กำไลเงินที่คอ และกำไลข้อมือ โพกผ้าสีขาว หรือสีแดง สำหรับผู้ชายปัจจุบันมีการแต่งกายที่ไม่ต่างจากคนเมือง และในบางหมู่บ้านจะไม่พบการแต่งกายประจำเผ่าเลย อาชีพ ทำการเกษตรเป็นหลักแบบยังชีพ ปลูกข้าว เผือกมัน และเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ พืชไร่และไม้ยืนต้นมีเล็กน้อย ส่วนใหญ่ปลูกไว้กิน หากมีเหลือก็จะแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่นหมู ไก่ วัวควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม เครื่องดนตรี มีเครื่องดนตรีหลายชนิดที่ชาวขมุเล่นเพื่อความเพลิดเพลินยามว่าง จะทำจากไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ หลายชนิดทำจากไม้ไผ่สด เล่นแล้วทิ้งไป เช่น “ โท้ร์” หรือตาว ใช้มือตี ตอด ซึงกูร ซูล เป็นต้น บางแห่งมีการเล่นแคน เล่นโร้ง ซึ่งทำจากเหรียญทองแดง ใช้ปากเป่าและมือดีด มีการเป่าขลุ่ย เรียกว่า “ ซู้ล” และตรึเวิล มีการตีฆ้องทองเหลือง ตีกลองซึ่งมีลักษณะคล้ายม้านั่งกลมแต่ขึงด้วยหนังวัวหนังควาย
ความเชื่อและพิธีกรรม ชาวขมุนับถือผี(โร้ย) มีพิธีเซ่นไหว้ด้วย หมู ไก่ ข้าว เหล้า จะเลี้ยงผีในพิธีสำคัญๆต่างๆ มีทั้งผีป่า ผีบ้าน ผีน้ำ ผีหมู่บ้าน ทุกบ้านจะมีผีเรือน (โร้ยกาง) ซึ่งเชื่อว่าประดิษฐานในบริเวณเตาหุงข้าวเวลามีพิธีเลี้ยงผีจะมีการติด “ เฉลว” (ตแล้) ไว้ เป็นเครื่องหมายที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ พิธีกรรมที่สำคัญของชาวขมุจะใช้ในการรักษาความเจ็บป่วย โดยจัดพิธีเลี้ยงผีด้วยไก่และหมู (ซู้ ฮเอี้ยร ซู้ เซื้อง) พิธีการการฆ่าควาย(ซังพ้าน ตร้าก) เพื่อรักษาผู้ป่วยหนัก พีผูกข้อมือ(ตุ๊กติ้) ลักษณะนิสัย และค่านิยม ชาวขมุเป็นผู้ที่รักความสงบ ไม่ชอบทะเลาะวิวาทหรือตีรันฟันแทงหรือกลั่นแกล้งใคร มีนิสัยขยัน อดทน ซื่อสัตย์ และรับคำสั่ง ชอบมีเพื่อฝูง มีการกินข้าวกินเหล้าร่วมกัน ชาวขมุจะให้ความเคารพผู้เฒ่าผู้แก่และญาติผู้ใหญ่ของตนอย่างเคร่งครัด ถ้าปฏิบัติตนไม่เหมาะสมจะถือว่าทำผิดประเพณีและถูกปรับไหม ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๒๕ จังหวัดน่าน http://www.nansdc.go.th/nansdc/Khamu.htm |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาขมุหรือภาษากำมุ(Khmu) เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยขมุ มีผู้พูดทั้งหมด 479,739 คน พบในลาว 389,694 คน (พ.ศ. 2528) กระจายอยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง หัวพัน พงสาลี เวียงจันทน์ สายะบุรี น้ำทา ปากแบง และห้วยทราย สำเนียงในแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน พบในจีน 1,600 คน (พ.ศ. 2533) ในสิบสองปันนา ในประเทศไทย 31,403 คน (พ.ศ. 2543)มีผู้พูดที่ จ.เชียงรายและน่าน พะเยาและกระจายตัวอยู่ในจังหวัดอื่นๆในภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคอีสาน พบในเวียดนาม 56,542 คน (พ.ศ. 2542) และอาจจะมีในพม่า เนื้อหาระบบเสียงมีพยัญชนะ 17 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง สระมี 22 เสียง เป็นสระเดี่ยว 19 เสียง สระประสม 3 เสียง มีความแตกต่างระหว่างสระเสยงสั้นและสระเสียงยาว ไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่มีลักษณะน้ำเสียง 2 แบบ คือ เสียงทุ้มใหญ่กับเสียงเบาแหลม ไวยากรณ์เป็นภาษาที่มีแนวโน้มเป็นภาษาที่มีพยางค์เดียวมากขึ้นเช่นเดียวกับภาษาเวียดนาม คำกริยาไม่ผันตามกาล โดยทั่วไปไม่มการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงเพศหรือพหูพจน์ ยกเว้นคำสรรพนาม มีการลงอุปสรรค(หน้าคำ) และอาคม(กลางคำ) บ้างแต่จัดเป็นระบบไม่ได้ชัดเจนนัก การเรียงประโยคเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม คำสรรพนามแทนบุคคลมีรูปเป็นเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ดังนี้
คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ซึ่งตรงกับคำว่า อันที่ คนที่ ตัวที่ ในภาษาไทย ภาษาขมุจะใช้ว่ากัมหรือนัม มีการใช้คำสันธานน้อย โดยมากใช้ประโยคเรียงต่อกับเฉยๆ คำบุพบทมีไม่กี่คำ ที่ใช้มากคือ ตา หมายถึง ด้าน ที่ จาก ข้างใน และคำว่า ลอง ที่หมายถึง แถว บริเวณ ระบบการเขียนภาษาขมุไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง ในวงวิชาการใช้สัทอักษร ในประเทศไทยมีการนำอักษรไทยไปเขียนภาษาขมุ เขียนด้วยอักษรดัวตาในจีน อ้างอิง
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |