|
วันดีวันเสีย ตำราดูเสาเรือน ตำราโบราณล้านนา
  
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2012 เวลา 14:25 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันเสาร์ที่ 08 สิงหาคม 2009 เวลา 15:15
ตำราพื้นเมืองโบราณ
ที่ถามหากั๋นมาหลายคนครับ วันนี้พี่หนานแดน นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา จัดหื้อเต็มสูตร เลยหล่ะครับ….ตำราโบราณเกี่ยวกับ วันดี-วันเสีย ในการทำการมงคล เพื่อให้เป็นแนวทางในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ก็อย่าลืมว่าศาสนาพุทธของเฮาไม่ได้สอนให้ยึดติดในเรื่องฤกษ์ยามเท่าใด เอาเป็นว่าถ้าตรงกับกฤษ์สะดวกและความพร้อมของ เราและคนเฒ่าคนแก่ที่มาร่วมงานไม่ทักท้วงสบายใจกับทุกฝ่าย ก็น่าจะลงตัว ครับ
ฤกษ์ยามดีล้านนาบ้านเฮา
ตามประเพณีและความเชื่อของคนล้านนา หากจะทำการมงคลใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นงาน ขุดน้ำบ่อ ก่อศาลา ละเมียเก่า เอาเมียใหม่ คนต้องมาถามถึงมื้อจั๋นวันดีจากพี่หนาน วันนี้เลยนำเรื่องการหาฤกษ์งามยามดี แบบกว้างๆ เป็นวันเสียประจำแต่ละเดือน หากเดือนไหนตรงกับวันเสียก็ให้เว้น
วันดีวันเสีย เพราะเป็นคำที่คุ้นหูมากกว่า เป็นวันที่คนล้านนาเชื่อว่า เป็นวันที่ควรหรือไม่ควรสำหรับทำพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ วันดีวันเสีย เป็นการนับวันตามคติความเชื่อแบบท้องถิ่น การยึดถือเช่นนี้ ยังไม่พบที่มาของความคิด หรือวิธีการจัดระบบความคิดได้ชัดเจน แม้จะเป็นเพียงความเชื่อตามคตินิยมก็ตาม แต่ก็ได้รับการยอมรับในหมู่ประชาชนทั่วไปเสมอมา “วันดีวันเสีย” ที่ปรากฏในเอกสารและที่คนล้านนาเชื่อถือมีอยู่มากมาย
มื้อ จันวันดีหรือที่ออกเสียงตามสำเนียงชาวเหนือว่า “มื้อจั๋นวันดี” นั้น เป็นการหาฤกษ์ยาม ตามเดือนพื้นเมือง ก่อนที่จะกระทำพิธีอันเป็นมงคลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ การเดินทางไปค้าขาย หรือการบวช ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
เดือน
|
วันจ๋ม (วันไม่ดี)
|
วันฟู (วันดี)
|
เดือนเกี๋ยง (ตุลาคม)
|
วันจันทร์ อ่านว่า วันจั๋น
|
วันศุกร์ อ่านว่า วันสุก
|
เดือนยี่ (พฤศจิกายน)
|
วันอังคาร อ่านว่า วันกาน
|
วันอาทิตย์ อ่านว่า วันติ๊ด
|
เดือนสาม (ธันวาคม)
|
วันพุธ อ่านว่า วันปุ๊ด
|
วันอาทิตย์ อ่านว่า วันติ๊ด
|
เดือนสี่ (มกราคม)
|
วันพฤหัสบดี อ่านว่า วันผัด
|
วันจันทร์ อ่านว่า วันจั๋น
|
เดือนห้า (กุมภาพันธ์)
|
วันศุกร์ อ่านว่า วันสุก
|
วันเสาร์ อ่านว่า วันเสา
|
เดือนหก (มีนาคม)
|
วันเสาร์ อ่านว่า วันเสา
|
วันพุธ อ่านว่า วันปุ๊ด
|
เดือนเจ็ด (เมษายน)
|
วันอาทิตย์ อ่านว่า วันติ๊ด
|
วันพฤหัสบดี อ่านว่า วันผัด
|
เดือนแปด (พฤษภาคม)
|
วันพุธ อ่านว่า วันปุ๊ด
|
วันอาทิตย์ อ่านว่า วันติ๊ด
|
เดือนเก้า (มิถุนายน)
|
วันพฤหัสบดี อ่านว่า วันผัด
|
วันจันทร์ อ่านว่า วันจั๋น
|
เดือนสิบ (กรกฎาคม)
|
วันศุกร์ อ่านว่า วันสุก
|
วันอังคาร อ่านว่า วันกาน
|
เดือนสิบเอ็ด (สิงหาคม)
|
วันเสาร์ อ่านว่า วันเสา
|
วันพุธ อ่านว่า วันปุ๊ด
|
เดือนสิบสอง (กันยายน)
|
วันอาทิตย์ อ่านว่า วันติ๊ด
|
วันพฤหัสบดี อ่านว่า วันผัด
|
อนึ่ง การนับเดือนของภาคเหนือจะนับเร็วกว่าภาคกลางไป 2 เดือน เช่น เดือน 5 ของภาคกลาง ภาคเหนือจะนับเป็น 7 เป็นต้น โดยมีหลักการไล่วันเสียประจำแต่ละเดือนอย่างนี้
วันเสียประจำเดือนของล้านนาบ้านเฮา |
เดือน |
เดือน |
เดือน |
เดือน |
วันเสีย |
เดือน เกี๋ยง (1) |
ห้า (5) |
เก้า (9) |
ระวิ–จั๋นตัง |
เสียอาทิตย์กับจันทร์ |
เดือน ยี่ (2) |
หก (6) |
สิบ (10) |
อังการัง |
เสียอังคารวันเดียว |
เดือน สาม (3) |
เจ็ด (7) |
สิบเอ็ด (11) |
โสริกุรุ |
เสียเสาร์กับพฤหัสบดี |
เดือน สี่ (4) |
แปด (8) |
สิบสอง (12) |
สุโขพุทธา |
เสียศุกร์กับพุธ |
|
|
|
|
|
เมื่อทราบวันดีแล้ว ก็ควรจะทราบยามหรือเวลาอันเป็นมงคลของแต่ละวันด้วย ดังนี้ |
วัน |
ยามดี / ยามไม่ดี |
|
|
วันอาทิตย์ |
ยามเช้า ไม่ดี ยามสายและยามใกล้เที่ยง ดีมาก ยามบ่ายและยามเย็น ไม่ดี ยามใกล้ค่ำ ดีมาก |
วันจันทร์
|
ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้ที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามเย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี |
วันอังคาร |
ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยง ยามเที่ยง และยามบ่าย ไม่ดี ยาม เย็นและยามใกล้ค่ำ ดีมาก ยามค่ำ ไม่ดี |
วันพุธ |
ยามเช้า ยามสาย และยามใกล้เที่ยง ไม่ดี ยามเที่ยงและยามบ่าย ดีมาก ยามบ่าย- เย็น ยามใกล้ค่ำ และยามค่ำ ไม่ดี |
วันพฤหัสบดี |
ยามเช้าและยามสาย ไม่ดี ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ดีมาก ยามบ่าย-เย็นและใกล้ค่ำ ไม่ดี ยามค่ำ ดีมาก |
วันศุกร์ |
ยามเช้าไม่ดี ยามสายดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยงไม่ดี ยามบ่ายและยามเย็นไม่ดี ยามใกล้ค่ำและยามค่ำดีมาก |
วันเสาร์ |
ยามเช้าและยามสาย ดีมาก ยามใกล้เที่ยงและยามเที่ยง ไม่ดี ยามบ่าย-เย็น ดีมากยามใกล้ค่ำและยามค่ำ ไม่ดี |
พูด ถึงหลักการให้ฤกษ์สำหรับออกรถ ออกเดินทาง ขึ้นบ้านใหม่ โบราณท่านมักจะใช้ดิถีฤกษ์ไชยหรือดิถีฤกษ์ชัยเป็นหลักใหญ่สำหรับการคำนวณหา ฤกษ์ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูดิถีอื่นๆประกอบอีกมากมายหลายอย่าง เช่น นักษัตร หรือฤกษ์บน-ล่างตามนักษัตรที่ดาวจันทร์ทั้งดวงชาตาเดิมและดวงจร กับฤกษ์ล่างที่คำนวณจากดิถีของวัน เช่นวันทินกาล วันบอด วันภาณฤกษ์ วันฟู วันจม วันพิลา ฯลฯ และดูกาลโยคประจำปีอีก เช่น วันอธิบดี วันโลกาวินาศ ฯลฯ และวาร เช่น วันอังคาร วันเสาร์งดเว้นเด็ดขาดสำหรับการออกเดินทาง ออกรถใหม่ เข้าบ้านใหม่, ฯลฯ อีกทั้งก็ต้องดูดาวจรในวันที่จะทำการนั้นๆว่ามีทรรศนะสัมพันธ์ องศา โยคเกณฑ์ดีร้ายต่อกันอย่างไร แล้วก็ต้องดูว่าเป็นวันจันทร์ดับ อมาวสี ดาวเคราะห์เป็นอัสตะ (ดับ)พักร์ มนฑ์ เสริด เกิดคราส แพ้เคราะห์ยุทธ อาทิตย์-จันทร์ทรงกลด นี่ก็ต้องห้ามในการให้ฤกษ์ออกรถ ขึ้นบ้านทั้งนั้น สำหรับดิถีฤกษ์ไชยแต่โบราณนั้นผมได้จัดทำเป็นตารางให้ดูง่ายๆ ดังนี้ครับ
ขึ้น/แรม
|
ชื่อดิถี
|
ความหมาย
|
1 ค่ำ
|
ขี่จ๊างแก้วขึ้นสู่โรงธรรม
|
เดินทางก็จะปลอดภัยประสบผลสำเร็จ หากต้องการลาภก็จะได้ผลตามปรารถนา วันนี้ต้องการทำการอย่างใดก็ได้ทั้งสิ้น
|
2 ค่ำ
|
ฟังธรรมกล๋างป่าจ๊า
|
วันนี้ ท่าว่าเป็นวันที่ไม่ดี และไม่ดีผสมกัน หากต้องการความสำเร็จก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคอย่างมากมาย การเดินทางปลอดภัยแต่โดดเดี่ยวและมีอุปสรรค เป็นวันที่โดดเดี่ยวขาดผู้อุปถัมภ์
|
3 ค่ำ
|
ล้างมือถ้าคอยกิ๋น
|
วันนี้เป็นวันดีทำอะไรก็จะสำเร็จผลทุกๆประการ
|
4 ค่ำ
|
นอนปล๋ายติ๋นตากแดด
|
ท่านว่าวันนี้ไม่ดีไม่ควรริเริ่มทำการเดินทาง ขึ้นบ้าน หาลาภผล เพราะชื่อก็บอกเอาไว้ว่า ห้ามเดินทาง
|
5 ค่ำ
|
ผีแวดล้อมปองเอา
|
ท่านว่าวันนี้มีอิทธิพลจากสิ่งที่มองไม่เห็นเช่นภูตผี ปิศาจมารังควาญดังนั้นจึงห้ามออกเดินทาง ทำการมงคลใดใด
|
6 ค่ำ
|
ลงสะเปาไปก๊า
|
ท่านว่าวันนี้เป็นวันดี เหมาะแก่การแสวงหาลาภผล การเดินทางเจรจาติดต่อการค้าขาย
|
7 ค่ำ
|
เคราะห์อยู่หน้าต๋าจ๋น
|
ท่านห้ามกระทำการมงคลใดใด หรือการเดินทางเพราะจะเผชิยกับอุปสรรค หนักเข้าอาจจะเลือดตกยางออก
|
8 ค่ำ
|
สาละวนบ่เมี้ยน
|
ท่านว่าวันนี้ไม่ดี ห้ามลงทุนค้าขาย ห้ามเดินทาง เปิดร้าน
|
9 ค่ำ
|
ถูกเสี้ยนพระราม
|
ท่านว่าทำการวันนี้จะเป็นโทษเหมือนดังยักษ์ต้องศรนารายณ์ ผู้ใหญ่จะให้โทษ
|
10 ค่ำ
|
หาความงามบ่ได้
|
ท่านว่าวันนี้เป็นวันดี ปลอดโปร่งไม่มีเพศภัยอันใด เหมาะแก่การเปิดร้านค้า เดินทาง ขึ้นบ้านใหม่
|
11 ค่ำ
|
ขี้ฮ้ายกล๋ายเป๋นดี
|
ท่านว่าวันนี้เป็นวันดีเหมาะแก่การเดินทาง เปิดร้าน ย้ายบ้านจะอยู่เย็นเป็นสุข
|
12 ค่ำ
|
บ่มีดีสักอย่าง
|
ท่านว่าวันนี้เป็นวันที่หาความเจริญไม่ได้ ห้ามทำการมงคล ออกเดินทางเพราะไม่ดีตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ฯลฯ
|
13 ค่ำ
|
จัยยะปราบจมปู
|
วันนี้เป็นวันดี ควรแก่การมงคลทุกชนิด จะชนะอุปสรรคทั้งปวง
|
14 ค่ำ
|
สัตถูปองฆ่า
|
วันนี้ไม่ดีเลย ห้ามทำการมงคล ออกเดินทาง จะพบศัตรูคู่อาฆาต หากขึ้นบ้านใหม่จะทะเลาะเบาะแว้ง ออกรถใหม่ก็ไม่ดี
|
15 ค่ำ
|
ถูกแม่ผีหลวง วายชีวาบ่คืน
|
ห้ามพิเศษโดยเฉพาะวันดับ อมาวสีหรือแรม 15 ค่ำ ห้ามประการมงคลทั้งปวง
|
สรุป 1 3 6 11 13 ค่ำ เป็นวันดี
ที่ |
กิจที่ทำ |
วันที่ควรทำกิจนั้นๆ |
1. |
นุ่งผ้าใหม่
|
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์ |
2. |
สระผม |
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์
|
3. |
ตัดผม |
อาทิตย์ จันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ |
4. |
ตัดเล็บ |
จันทร์ พุธ ศุกร์ |
|
|
|
วันขึ้นบ้านใหม่ ถ้าเดือนนั้นได้ฤกษ์ตรงวันใดโบราณเปิ้นว่าหื้อทำดังนี้ |
วัน |
กิจที่ควรทำ |
วันอาทิตย์ |
ให้กินข้าว3คำแล้วขึ้นก่อน ดี |
วันจันทร์
|
เอาของหอมขึ้นก่อน ดีนัก |
วันอังคาร |
เอาน้ำใส่หม้อใส่ใหขึ้นก่อนดีนัก |
วันพุธ |
เอาข้าวเปลือกขึ้นก่อนดี |
วันพฤหัสบดี |
เอาดอกไม้ของหอมใส่ขันขึ้นก่อนดี |
วันศุกร์ |
เอาดอกไม้สีขาวใส่ขันขันขึ้นก่อนดี |
วันเสาร์ |
ทำเป็นโกธแค้นให้ลูกเมียก่อนแล้วขึ้นดี แต่ห้ามใช้วาจาด่าคำหยาบคาย |
ที่ |
เดือน |
ตรงกับ |
ตรงกับ |
ชื่อว่า |
กิจที่ทำแล้วดี |
1. |
เดือนใดก็ดี ที่ |
ขึ้น / แรม ๑, ๖, ๑๑ ค่ำ |
วันศุกร์ |
วันนันทาดิถี |
ปลูกบ้านใหม่ ปลูกข้าว ทำขวัญ ตัดเย็บเสื้อผ้านุ่ง ดีนัก |
2. |
เดือนใดก็ดี ที่ |
ขึ้น / แรม ๒, ๗, ๑๒ ค่ำ |
วันพุธ |
วันภัทราดิถี |
ไปติดต่อเข้าหาผู้ใหญ่
เจรจาความขึ้นศาล ตั้งชื่อลูกหลาน และทำการวิวาห์ ดีนัก |
3. |
เดือนใดก็ดี ที่ |
ขึ้น / แรม ๓, ๘, ๑๓ ค่ำ |
วันอังคาร |
วันไชยยาดิถี |
ควรทำเครื่องมือศาสตราอาวุธทุกชนิด ประกาศสงครามต่อสู้คดีความ ดีนัก |
4. |
เดือนใดก็ดี ที่ |
ขึ้น / แรม ๔, ๙, ๑๔ ค่ำ |
วันเสาร์ |
วันริทธาดิถี |
ควรทำความสะอาดที่พักอยู่อาศัย อาบน้ำสระผม ทำเครื่องประดับเงินทอง ทำโรงช้างโรงม้า |
5. |
เดือนใดก็ดี ที่ |
ขึ้น / แรม ๕, ๑๐, ๑๕ ค่ำ |
วันพฤหัสบดี |
วันปุณณาดิถี |
เรียนหนังสือเรียนธรรม บรรพชา อุปสมบท ภิกษุ สามเณร ตั้งชื่อท้าวพระยา ทำแก้วแหวน ดีนัก |
ก๋ารแต่งตั๋วของจาวล้านนาก่อนออกจากบ้าน เพื่อหื้อเป๋นมงคล |
วัน |
มงคล |
วันอาทิตย์ |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีชมพู ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีเขียว มนตรี (ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีดำ น้ำเงินเข้ม , น้ำตาล กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีฟ้า น้ำเงินสด |
วันจันทร์
|
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีเขียว ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีม่วง มนตรี (ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีฟ้า น้ำเงินสด กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีแดง |
วันอังคาร |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีม่วง ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีส้ม มนตรี
(ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีแดง กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีเหลือง , สีขาว |
วันพุธ |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีส้ม , สีแสด ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีดำ ,น้ำตาลแก่ , เทาแก่มนตรี (ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีดำ , น้ำเงินเข้ม , น้ำตาล กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีฟ้า , น้ำเงินสด |
วันพฤหัสบดี |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีฟ้า , น้ำเงิน ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีแดง
มนตรี (ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีเขียว กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีม่วง |
วันศุกร์ |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีเหลือง , สีขาว ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีชมพู มนตรี
(ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีส้มแสด กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีดำ , น้ำเงินเข้ม , เทาแก่ |
วันเสาร์ |
เดช (อำนาจ ,ฤทธิ์ เดช) สีดำ , น้ำเงินเข้ม , น้ำตาล ศรี (สิริมงคล , โชคลาภเงินทอง) สีน้ำเงินสด , ฟ้า มนตรี (ผู้อุปถัมภ์ , ช่วยเหลือ) สีชมพู กาลกิณี (อับโชค ไม่ดี) สีเขียว |
อีกตำราหนึ่งกล่าวถึงการนุ่งผ้าใหม่ในรอบสัปดาห์ว่า |
วัน |
นุ่งแล้วจะเกิดอะไร |
วันอาทิตย์ |
ชนะศัตรู |
วันจันทร์
|
จะมีคนรักชอบพอมาก |
วันอังคาร |
จะมีความสุขมาก |
วันพุธ |
จะมีความสุขมาก |
วันพฤหัสบดี |
เป็นมงคลดีมาก |
วันศุกร์ |
จะมีทรัพย์ จะได้เมีย |
วันเสาร์ |
จะโศกเศร้า จะมีโรค |
|
|
วันดี – วันเสีย เกี่ยวกับการ ตัดผม สระผม และตัดเล็บ ชาวล้านนาท่านยึดถือกันมากและสั่งสอนลูกหลานดังนี้ |
วัน |
ตัดแล้วจะเกิดอะไร |
วันอาทิตย์ |
ดี |
วันจันทร์
|
ไม่ดี จะมีโทษ |
วันอังคาร |
ดีจะชนะศัตรู และจะมีลาภ |
วันพุธ |
ไม่ดี จะเกิดคดีความ |
วันพฤหัสบดี |
ดี จะมีลาภ |
วันศุกร์ |
ดี จะได้กินอาหารอันประณีต |
วันเสาร์ |
ดี จะกระทำการสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ |
|
|
วัน |
สระผมแล้วจะเกิดอะไร |
วันอาทิตย์ |
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ดี จะชนะข้าศึกศัตรูและจะได้ลาภ |
วันจันทร์
|
หันหน้าไปทางทิศใต้ ดีจะได้ลาภ |
วันอังคาร |
หันหน้าไปทางทิศใต้ ดี จะได้ลูกผู้หญิง |
วันพุธ |
หันหน้าไปทางทิศใตี ดี จะได้ลาภ |
วันพฤหัสบดี |
หันหน้าไปทางทิศเหนือ ดี จะได้ลาภกับผู้หญิง(ผู้หญิงนำลาภมาให้) |
วันศุกร์ |
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ดี จะได้เมียกับขุมทรัพย์ |
วันเสาร์ |
หันหน้าไปทางทิศใต้ ดี จะได้ลาภและหายจากเคราะห์ทั้งปวง |
วัน |
สระผมแล้วจะเกิดอะไร |
วันอาทิตย์ |
ไม่ดี จะเป็นศัตรูแก่เจ้านาย |
วันจันทร์
|
ดี มีเสน่ห์ |
วันอังคาร |
ดีจะได้เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ |
วันพุธ |
ไม่ดี จะเสียรู้แก่ผู้อื่น และจะเสียข้าวของเงินทอง |
วันพฤหัสบดี |
ดี จะมีลาภมากมายแต่ก็จะเสียรู้แก่ผู้อื่นและอับจนปัญญายิ่งนัก
|
วันศุกร์ |
ดี จะมีลาภ |
วันเสาร์ |
จะมีทุกข์มาก |
อีกตำราหนึ่ง วันสระผม ตัดเล็บ
|
วัน |
สระผมแล้วจะเกิดอะไร |
วันอาทิตย์ |
สระผมตอนใกล้เที่ยง ผินหน้าไปทิศตะวันออก ตัดผมดี ตัดเล็บไม่ดี
|
วันจันทร์
|
สระผมไม่ดี มักเสียของรัก ตัดผมไม่ดี ตัดเล็บดีมีศรีแลฯ
|
วันอังคาร |
สระผมตอนเย็น ผินหน้าไปทิศใต้ ตัดผมดี ตัดเล็บไม่ดี |
วันพุธ |
สระผมไม่ดี เสียฤทธิ์เดช ตัดผมก็ไม่ดี ตัดเล็บดี
|
วันพฤหัสบดี |
สระผมยามเที่ยงดี ผินหน้าไปหนเหนือได้ลาภ ตัดผมดี ตัดเล็บไม่ดี
|
วันศุกร์ |
สระผมยามเย็นดี ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ได้ลาภ ตัดผมดี ตัดเล็บดี
|
วันเสาร์ |
สระผมยามบ่าย ผินหน้าไปทิศใต้ จักได้ลาภ ตัดผมดีนัก ตัดเล็บไม่ดีแลฯ |
วัน |
สีที่ควรนุ่ง |
วันอาทิตย์ |
สีแดง นุ่งผ้าใหม่ ชนะมาร
|
วันจันทร์
|
สีแสด นุ่งผ้าใหม่ เป็นมหาเสน่ห์
|
วันอังคาร |
สีชมพู นุ่งผ้าใหม่ จะได้รับทุกข์โศก
|
วันพุธ |
สีเขียวใบไม้ นุ่งผ้าใหม่ จะได้รับความสุขสมบูรณ์
|
วันพฤหัสบดี |
สีม่วง นุ่งผ้าใหม่ จะไพบูลย์พูนสุข
|
วันศุกร์ |
สีเหลือง นุ่งผ้าใหม่ จะได้สมบัติทรัพย์สิน
|
วันเสาร์ |
สีดำ นุ่งผ้าใหม่ จะบังเกิดภัยพิบัติ |
ปีเมือง |
ปีไทย |
สิ่งที่ควรสร้างถวาย |
คนเกิดปีเส็ด |
ปีจอ |
สร้าง ธรรมาสน์ เป๋นตาน |
คนเกิดปีไก๊ |
ปีกุน |
ห้องน้ำ เป๋นตาน
|
คนเกิดปีไจ้ |
ปีชวด |
สร้าง ศาลาและบ่อน้ำ เป๋นตาน
|
คนเกิดปีเป้า |
ปีฉลู |
สร้าง โรงสีไฟ เป๋นตาน |
คนเกิดปียี |
ปีขาล |
สร้าง ศาลาบาตร เป๋นตาน |
คนเกิดปีเหม้า |
ปีเถาะ |
สร้าง ปราสาท เป๋นตาน
|
คนเกิดปีสี |
ปีมะโรง |
สร้าง เจดีย์ เป๋นตาน
|
คนเกิดปีไส้ |
ปีมะเส็ง |
สร้าง ดอกไม้คำ เป๋นตาน |
คนเกิดปีสะง้า |
ปีมะเมีย |
สร้าง แท่นสังฆ์ เป๋นตาน
|
คนเกิดปีเม็ด |
ปีมะแม |
ร่มฉัตร เป๋นตาน
|
คนเกิดปีสัน |
ปีวอก |
สร้าง กำแพง เป๋นตาน
|
คนเกิดปีเล้า |
ปีระกา |
สร้าง เว็จจกุฎี (ห้องสุขา เป๋นตาน |
ที่ |
สิ่งที่ควรทำ |
1. |
ก่อนนอนให้ล้างเท้า |
2. |
ตื่นตอนเช้าให้ล้างหน้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
3. |
ผู้หญิงให้นอนข้างซ้าย ผู้ชายให้นอนข้างขวา ( |
4. |
เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า ให้เปลี่ยนทุกวัน ใช้กลางวันชุดหนึ่ง กลางคืนชุดหนึ่ง
|
5. |
เวลารับประทานอาหาร ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นศิริมงคล |
6. |
เวลาถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก |
7. |
เวลากลางวัน เที่ยงวัน ราศีอยู่ที่อก ให้เอาน้ำอบน้ำหอมหรือแป้งประพรมหรือเจิมหน้าอก |
8. |
ถึงวันเกิดของตน (วันทางจันทรคติ ขึ้นแรมกี่ค่ำ) วันสงกรานต์ วันที่มีจันทรุปราคา หรือสุริยคราส (วันจั๋นตะคาดตือกั๋น |
|
|
วันเข้าพรรษาวันออกพรรษา วันขึ้น-แรม ๗-๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ ห้ามเสพเมถุน หากปฏิบัติได้ดังนี้ได้ เทวดารักษา เป็นศิริมงคลยิ่งแลฯ
|
ตำราสร้างบ้านแป๋งเฮือนแบบล้านนา
ถ้าเฮาจะปลูกบ้านแป๋งเฮือน ตลอดจ๋นย้ายไปอยู่ตี้ใหม่ เช่น หอพัก เป๋นต้น เปิ้นแต้มไว้ในปั๊บดั่งนี้
|
วันขึ้น ๑ ค่ำ |
ต้นกล้วยออกเป๋นคำ ดีนักแล |
|
วันขึ้น ๒ ค่ |
มูลหลวง ดี |
|
วันขึ้น ๓ ค่ำ |
นอนกิ๋นน้ำข้าว บ่ดี |
|
วันขึ้น ๔ ค่ำ |
บันไดแก้ว ดีนัก |
|
วันขึ้น ๕ ค่ำ |
หอคำ ดีนัก |
|
วันขึ้น ๖ ค่ำ |
เตียวลงดิน บ่ดี |
|
วันขึ้น ๗ ค่ำ |
เรือนห่าง บ่ดี |
|
วันขึ้น ๘ ค่ำ |
ไม่คานหามผี บ่ดี |
|
วันขึ้น ๙ ค่ำ |
ต้นกล้วยคำ ดี |
|
วันขึ้น ๑๐ ค่ำ |
เรือนมูลทอง ดี |
|
|
|
ในตำราการสร้างเฮือน(เรือน)ในล้านนา มีข้อความบ่งบอกไว้ว่า “เฮือน(เรือน)หลายหลังมาแป๋ง(สร้าง)เฮือนหลังเดียวย่อมขึดนักหนา…เพราะ เรียกกันว่า เฮือนแก๋งแค อันว่าบ้านเรือนบางคนได้มาอย่างง่ายดาย..แต่ผู้คนส่วนมากกว่าจะได้ เฮือน(เรือน)มาแต่ละหลังมันแทบน้ำตาตก หรือบางคนน้ำตาตกไปหลายครั้ง ต้องเป็นหนี้สิน กู้ยืมเงินมาสร้างบ้านเพียงเพื่อว่า “บ้านคือวิมานของเรา”โดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า หาเช้ากินเช้านั่นแหละ อย่าว่าหาเช้ากินค่ำเลย…แม้ว่าจะมีที่ดินของบรรพบุรุษอยู่บ้างแต่จะเอาไม้ มาสร้างบ้านหรือจ้างสะหล่า(ช่าง)มาสร้างบ้านก็ต้องไปยืมเงินมาจ้าง กว่าจะใช้หนี้เสร็จพอดีก็บ้านเก่าชำรุด ต้องซ่อมต้องเสียเงินกันอีก …โอ๊ย…ทุกข์แท้หนอ..ทุกร้อยแปดว่าอั้น….เอาไม้เก่าเรือนหลายหลัง มาสร้างแป๋งเรือนเป๋นหลังเดียว เรียกกันว่า ” เฮือนแก๋งแค”ย่อมขึดนักหนา
ตำราจัดเสาเรือน ความหมายของเสาเฮือนแต่ละต้น
|
ที่
|
จำนวนเสาเรือน
|
ความหมายของเสาเรือนแต่ละต้น
|
|
1. |
เสา 1 ต้น |
น้ำบ่อแก้วกิ๋นเย็น ดี |
|
2. |
เสา 2 ต้น |
ผีเข็นเข้าป่าช้า บ่ดี |
|
3. |
เสา 3 ต้น |
นั่งอยู่ถ้ากองดาย ปานกลาง |
|
4. |
เสา 4 ต้น |
หยิบถุงลายใส่เงินย่อย ปานกลาง |
|
5. |
เสา 5 ต้น |
จ่อมอ่อยเสียผี บ่ดี |
|
6. |
เสา 6 ต้น |
เศรษฐีขายลูก บ่ดี |
|
7. |
เสา 7 ต้น |
ผูกไว้แทนเมือง ดี |
|
8. |
เสา 8 ต้น |
บุญเรืองก้ำฟ้า ดี |
|
9. |
เสา 9 ต้น |
แสนโศกถ้ามาฮอม บ่ดี |
|
10. |
เสา 10 ต้น |
ฮิฮอมได้ก่ตึงยาก บ่ดี |
|
11. |
เสา 11 ต้น |
มีโชคมากท่านลือชา ดี |
|
12. |
เสา 12 ต้น |
ศัตรูถ้าคอยโจร บ่ดี |
* หากมีมีเสาเฮือน เกินต้นที่ 12 ไปให้นับต้นที่ 13 เป็นต้นที่ 1 ใหม่ หมายถึง ต้นที่ 13 คือ ต้นที่ 1 นั่นเอง
|