หมู่ที่ 1 บ้านธาตุสบแวนแก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2013 เวลา 21:34 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2013 เวลา 21:04 |
|
![]() |
|
ในปี พ.ศ.2331พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้มีรับสั่งให้เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ไปตีเมืองเชียงตุง และได้เข้าไปกวาดต้อนชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน ประเทศพม่ากับ ชาวไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน อันประกอบด้วยเมืองพง เมืองมาง เมืองหย่วน เมืองแมน เมืองล้า และเมืองอู แต่ละเมืองก็มีเจ้าผู้ครองนครปกครองอยู่ บรรดาผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาให้ไปอยู่เมืองเชียงม่วน (อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) โดยมีเจ้าผู้ครองนครที่ทรงพระนามว่าพญาคำและ พญาธนะรวมอยู่ด้วย และมีความเห็นว่า อันเมืองเชียงม่วนนี้ จะทำอาชีพใดหรือการเกษตรก็ไม่ค่อยที่จะได้ผลดีนัก จึงขออนุญาตเจ้าเมืองน่านอพยพผู้คนเข้ามาอยู่เมืองเชียงคำ (อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านมาง” โดยได้เอาชื่อเมืองมางที่เคยอยู่ในอดีตมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน พญาทั้งสองได้นำชาวไทยลื้อทั้งหลายมาตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัย พร้อมกับประกอบอาชีพตามที่ถนัด และได้พากันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่ง โดยตั้งชื่อวัดว่า “วัดมาง” | |
![]() |
|
ต่อมาปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีรับสั่งให้เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านไปตีเมืองสิบสองปันมา เมืองเชียงรุ้งอีก ปรากฏว่าพอถึงเจ้าเมืองเชียงรุ้งยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังพบชาวไทลื้อกลุ่มหนึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนฮ่อ ซึ่งปกครองด้วยระบบทารุณโหดร้าย จึงได้ทรงช่วยเหลือไทลื้อเหล่านั้นให้พ้นจากอิทธิพลอันเลวร้าย โดยการกวาดต้อนเข้ามาอยู่ที่บ้านหงาว อำเภอเทิง จังหวัดน่าน (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน) | |
![]() |
|
ครั้นถึง พ.ศ. 2413 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สืบราชสมบัติแห่งนครน่าน ได้มีเจ้าเมืองสิบสองปันนา ชื่อ “พญาโพธิราช” พาชาวไทลื้ออพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในเมืองเทิงซึ่งบรรดาชาวไทลื้อต่าง เรียกเจ้าเมืององค์นี้ว่า “พญานายฮ้อย” | |
![]() |
|
ฝ่ายพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงวิตกและเกรงว่าชาวไทลื้อเหล่านี้ อาจพากันอพยพกลับไปอยู่ที่เดิมอีกจึงได้อพยพไปอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดน่าน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2416 แต่พื้นที่ของเมืองเชียงม่วน ไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวไทลื้อ จึงเข้าไปขออนุญาตย้ายที่อยู่อาศัยใหม่จากเจ้าเมืองน่าน พระองค์ได้โปรดให้หัวหน้าไทลื้อออกไปสำรวจหาสถานที่ตามแหล่งต่าง ๆ ในที่สุดก็ไปพบที่ราบกว้างใหญ่ พื้นดินอุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำยวน แม่น้ำแวน แม่น้ำลาวไหลผ่าน เป็นที่อยู่อาศัยของไทลื้อสืบไป จึงกลับไปถวายรายงานและ ก็ได้รับอนุญาต แล้วพากันอพยพเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ นั่นก็คือท้องที่อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน โดยมีหมู่บ้านหย่วน บ้านมาง บ้านแมน บ้านล้า บ้านหนองลื้อ ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำลาว บ้านทุ่งมอก บ้านเชียงบาน บ้านปางวัว บ้านเชียงคาน บ้านแพด บ้านน้ำแวน อยู่บริเวณแม่น้ำแวน และบ้านแดนเมือง อยู่บริเวณแม่น้ำยวน | |
![]() |
|
ต่อมาปี พ.ศ. 2447 พวกไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านขึ้นอีกแห่งหนึ่งชื่อ “บ้านธาตุสบแวน” ซึ่งแยกมาจากหมู่บ้านหย่วนพร้อมกับได้พากันแยกย้ายหรือขยายหมู่บ้านออกไป ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมือง เชียงคำอีกเป็นจำนวนหลายหมู่บ้าน ชาวไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่งมาจนทุกวันนี้ ขอบคุณ ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลกลาง ทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติชาวไทลื้อ คลิ๊กตรงนี้เลยครับ ไท ลื้อคือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในแคว้นสิบสอง-ปันนาทางตอนใต้ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเราคุ้นเคยในกับเมืองสิบสองปันนาประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ รวม 44 เมืองโดยมีเมืองสำคัญ 28 เมือง ได้แก่ เมืองเชียงรุ่ง เมืองลวง เมืองแจ้ เมืองฮาย เมืองสูง เชียงเจิง เมืองฮุน เมืองปาน เชียงลอ เมืองวัง เมืองงาด เมืองออง เมืองยาง เมืองฮิง เมืองลา เมืองฮำ เชียงตอง เมืองขอน เมืองนุน เมืองแวน เมืองเฮม เมืองล้า(เมืองล่า) เมืองบ่อแฮ่ เมืองพง เมืองหย่วน เมืองอูเหนือ และเมืองอูใต้ โดยมีเมืองเชียงรุ่ง เป็นเมืองหลวง เดิมดินแดนสิบสองปันนาจัดการปกครองเป็นระบบ ปันนา โดยการแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บส่วยและผลประโยชน์ของรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 12 ปันนา ดังนี้1. เชียงรุ่ง/เมืองฮำ ขึ้นตรงต่อเจ้าแสนหวีฟ้า 2. เมืองแจ้ / เมืองลู /เมืองออง 3. เมืองลวง 4. เมืองหุน / เมืองปาน 5. เชียงเจิง /เมืองฮาย/เมืองงาด 6. เชียงลอ /เมืองอาง/เมืองมาง/ลำเหนือ / เมืองขาง 7. เมืองล่า / เมืองบาน 8. เมืองฮิง / เมืองบ่าง 9. เมืองลา / เมืองวัง 10. เมือพง /เมืองหย่วน/เมืองมาง(มีเมืองมาง 2 เมืองตั้งอยู่คนละฟากน้ำโขง) 11. เมืองอูเหนือ /เมืองอูใต้ 12. เมืองอูเชียงทอง /อีปัง/อีงู ในแคว้นสิบสองปันนา มีพระเจ้าแผ่นดินปกครอง เรียกว่า เจ้าแสนหวีฟ้า ปกครองดินแดนนี้สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระยาเจิง จนถึงเจ้าหม่อมคำลือ รวมทั้งสิ้น 44 พระองค์ พ.ศ. 1723 – พ.ศ.2494 นอกจากไทลื้อที่ประเทศจีนแล้ว ยังมีไทลื้อในประเทศพม่าบริเวณภาพตะวันออกของรัฐฉาน เช่น เมืองยอง บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ได้แก่ ลุ่มน้ำทา น้ำสิงห์ แขวงหลวงน้ำทา ลุ่มน้ำงาว แขวงบ่อแก้ว เขตน้ำงู ในแขวงพงสาลี และหลวงพระบาง ลุ่มน้ำก่อ น้ำแบง แขวงอุดมไซ และอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขาในเขตเชียงฮ่อนและหงสา แขวงไชยบุรี ส่วนในเวียดนาม ไทลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ที่เมืองบินลูห์ และบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำตามพรมแดนที่ต่อต่อกับจีน ไทลื้อสิบสองปันนาสู่เชียงคำตั้งแต่อดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา ชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคเหนือของไทย ปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน ต่างทะยอยเข้ามาหลายระลอก ต่างกรรมต่างเวลากัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บอกถึงการเข้ามาของไทลื้อครั้งสำคัญ ในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ เนื่องจากช่วงเป็นช่วงการฟื้นฟูบ้านเมืองของหัวเมืองต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา หลังจากการเข้าสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพ ฯ และขับไล่พม่าออกไปพ้นจากล้านนาแล้ว ดังมีคำเรียกขานว่าเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าเข้าเมือง เช่นในสมัยพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่ ได้ให้เจ้าอุปราชยกทัพไปตีหัวเมืองทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นหัวเมืองไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ เพื่อการกวาดต้อนผู้คนเข้ามาเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ใช้เป็นแรงงานสำคัญในการฟื้นฟูบ้านเมืองใน พ.ศ. 2347 นอกจากจะใช้กำลังกวาดต้อน แล้วยังใช้วิธีการเกลี้ยกล่อมให้ยินยอมอพยพมาแต่โดยดี เช่น กรณีไทลื้อเมืองยอง (คนยอง) ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองลำพูน ในปี พ.ศ. 2348 การไปกวาดต้อนอพยพผู้คนจากทางตอนเหนือยังดำเนินต่อมาอีกหลายครั้ง และไม่เฉพาะแต่เมืองเชียงใหม่เท่านั้น หัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ทำเช่นกัน เช่น เมืองน่าน พ.ศ.2348 เจ้าเมืองน่านยกทัพไปตีสิบสองปันนานำเจ้านาย ขุนนาง และเครื่องบรรณาการของไทลื้อไปกรุงเทพ ฯ พ.ศ. 2355 กวาดต้อนคนจากเมืองล้า เมืองพง เมืองแขวง เมืองหลวงภูคา เมืองสิงห์ เมืองมาง พ.ศ. 2399 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครน่านยกทัพไปตีหัวเมืองสิบสองปันนากวาดต้อนเทครัวไทลื้อกลุ่มหนึ่งมา ไว้ที่เมืองเชียงม่วนใกล้ลำน้ำปี้ และต่อมาในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครน่านองค์ต่อมาได้ยกทัพไปตีหัวเมืองลื้อ เช่น เมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองล้า กวาดต้อนเทครัวมาไว้ที่ท่าวังผ่า และที่เมืองเชียงม่วน ปัจจุบันปรากฏว่ามีแหล่งชุมชนไทลื้อในประเทศไทยกระจายอยู่หลาย ๆ จังหวัดทางภาคเหนือ เช่น ชุมชนไทลื้อจังหวัดพะเยา อำเภอเชียงคำ ตำบลหย่วน มีหลายหมู่บ้าน คือ บ้านหย่วน บ้านธาตุสบแวน บ้านแดนเมือง บ้านมาง บ้านดอนไชย บ้านแช่แห้ง บ้านใหม่ การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ นั้นมีหลายรูปแบบ และต่างเวลาหลายระลอกด้วยกัน ชาวไทลื้อบ้านหย่วนอพยพมาจากเมืองหย่วน ปันนาเมืองพงษ์ แคว้นสิบสองปันนา จากประวัติวัดหย่วน ได้บันทึกไว้ว่าการเข้ามาของไทลื้อบ้านหย่วนแต่แรกนั้น ได้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมือง เมื่อพิจารณาแล้วคะเนว่า ไทลื้อบ้านหย่วนน่าจะเข้ามายังพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน ในสมัยที่พม่ายังคงมีอำนาจเหนือบริเวณแถบนี้อยู่ ดังปรากฏในช่วงระหว่าง จ.ศ. 1027 – จ.ศ.1049 (พ.ศ. 2208 – พ.ศ. 2230 ) พระยายอดใจได้กินเมืองน่านโดยการแต่งตั้งจากกษัตริย์พม่า ซึ่งขณะนั้นเมืองเชียงคำอยู่ในเขตการปกครองของเมืองน่านจากการอพยพเข้ามา หลายครั้งของชาวไทลื้อ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยภายในหรือภายนอกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในบริเวณต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่ตำบลหย่วน ซึ่งเป็นตำบลที่มีชนเผ่าไทลื้อได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในจังหวัดพะเยา ได้มีการถ่ายโอนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ อันเคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ดังเช่นวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับภพ ภูมิโลกหน้าซึ่งก่อให้เกิดประเพณีการตานหรืออุทิศปราสาท มณฑก สิ่งของเครื่องใช้ อาหารไปไว้ภายภาคหน้าทั้งเพื่อตนเองและผู้ล่วงลับ งานช่างศิลป หัตถกรรมและภูมิปัญญาแขนงต่างต่าง ๆ รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เครื่องแต่งกายภาษาเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชาติพันธ์ของชาวไทลื้อที่สั่งสมสืบทอด กันมาหลายศตวรรษ ไทลื้อจังหวัดพะเยา 1. ไทลื้อเชียงคำ อยู่ที่อำเภอเชียงคำ อพยพมาจากเมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองยั้ง เมืองเงิน เมืองเชียงคาน โดยตั้งหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน ๆ ใช้ชื่อเมืองที่อยู่เดิมตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เช่นบ้านหยวน บ้านมาง บ้านเชียงคาน บ้านล้า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีประเพณีในการนับถือเทวดาเมืององค์เดียวกันคือ เจ้าหลวงเมืองล้า ในบ้านน้ำแวน หมู่ 1 ตำบลน้ำแวน บ้านแวน หมู่ 2 ตำบลน้ำแวน บ้านแวนพัฒนาหมู่ 5 ตำบลเชียงบาน บ้านล้า ตำบลเวียง ( อิสรา ญาณตาล .พ.ศ. 2534 ) กลุ่มไทลื้อเชียงคำ จะอพยพมาจากเมืองปัวซึ่งเป็นกลุ่มที่นับถือเจ้าหลวงเมืองล้า มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงคำ โดยเลือกเอาบริเวณที่ห้วยแม่ต๋ำไหลบรรจบกันกับแม่น้ำแวน (ปัจจุบันคือบ้านหมู่ที่ 1) หลังจากนั้นก็มีการขยายชุมชนออกไปตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของห้วยแม่ต๋ำ (ปัจจุบันคือหมู่บ้านแวนหมู่ที่ 2) และการขยายตัวครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 ไปตั้งอยู่อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำแวน ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านแวนพัฒนา หมู่ 5 ตำบลเชียงบาน ซึ่งไทลื้อกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเดียวกับที่ถูกกวาดต้อนมาจากสิบสองปันนาใน สมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน
2. ไทลื้อเชียงม่วน มีนิทานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า “พระยานุ่น” แห่งเมืองน่าน เป็นผู้สร้างเมืองเชียงม่วน โดยเสด็จออกล่า ช้างป่า และทราบว่า ช้างป่าตัวนั้นเป็นช้างเผือกคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ออกหากินในป่าระหว่างแดนเมืองน่าน และเมืองพะเยา พระยานุ่นได้ติดตามช้างเผือก เข้าไปถึงเขตแดนเมืองปง ซึ่งเป็นหัวเมือง ขึ้นต่อจังหวัดน่าน และจับช้างเผือกเชือกนั้นได้
1. เมืองเทิง คือ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
คำว่า “ทุ่งล้า – ทุ่งลอ” ที่พ่อเฒ่าแสนมังคละนำชาวไทลื้อ มาจั้งหลักแหล่งเป็นกลุ่ม ตามบันทึกของพ่อเฒ่าอุทัย อุ่นตาล น่าจะเป็นบริเวณที่ราบตั้งแต่ดอยหลวง ดอยแก้ว ดอยกลุ่ม จนถึงฝั่งยม บริเวณบ้านทุ่งหนอง สถานที่ตั้งโบราณสถานคูเมือง ซึ่งน่าจะเชื่อได้ว่าเป็นที่ตั้งเมืองเชียงม่วนเก่า บริเวณทุ่งที่ว่านี้ มีลำน้ำแม่ปี้ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยมนี้เรียกว่า “สบปี้” ยื่นเป็นแหลม(triangle) มีร่องรอยของชุมชนโบราณ ชาวบ้านเคยขุดพบถ้วยชามดินเผาในบริเวณกว้าง บ้านน้ำล้อมน่าจะตั้งอยู่บริเวณนี้ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ่อยเนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งยม ฝั่งปี้ จึงย้ายหนีในที่สุด ทุ่งล้า – ทุ่งลอ ถูกลำน้ำและเทือกเขาขนาบไว้ การขยายพื้นที่ไป ทำได้ยาก ชุมชนในยุคแรกขาดอุปกรณ์การเกษตรที่มีสมรรถภาพสูง การขยายและปรับปรุงพื้นที่ก็มีปัญหาจึงต้องทำนาทำไร่ริมฝั่งน้ำเป็นหลัก ถ้าปีใดน้ำท่วมสูง พืชผักเสียหาย บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยจึงกระทบกระเทือนไปด้วย หมู่บ้านต้นซางจึงย้ายไปอยู่หมู่บ้านไชยสถาน ซึ่งสมัยหนึ่งเคยเรียกว่า บ้านสันกุหลาบ ประชาชนไทลื้อเชียงม่วน คงขยายอย่างรวดเร็ว ด้วยสาเหตุจากการขยายเผ่าพันธุ์ภายในของประชาชนนอกพื้นที่อพยพมาสมทบ เช่น จากเขตอำเภอเทิงและจากเมืองน่าน หลักฐานทางสถาปัตยกรรม เช่น วิหารวัดทุ่งมอกหลังเก่า วัดบ้านมาง วัดบ้านหลวง แสดงให้เห็นว่าชาวไทลื้อต้องมีจำนวนมากและเข้มแข็งพอที่จะสร้างศาสนสถานเช่น นี้ได้ เมื่อประชากรไทลื้อเพิ่มมากขึ้น ที่ทำกินมีจำกัดและประสบอุทกภัยบ่อยครั้ง ความเป็นอยู่ไม่สมบูรณ์ตามเดิม จนมีคำพูดเชิงประชดประชันว่า “เมืองเซี้ยงม่วน” แทนคำว่า “เชียงม่วน” เซี้ยงภาษาเมืองเหนือ หมายความว่า หมดสิ้นแล้ว ประกอบกับขณะนั้น มีชาวไทลื้อจำนวนหนึ่งในสิบสองปันนา โยกย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในเขตเมืองเชียงคำ เช่น กลุ่มพญาโพธิสัตว์(พญานายฮ้อย) จากเมืองหย่วน มาสร้างบ้านหย่วน (สันติภาพ ฟูเจริญ อ้างแล้ว) กลุ่มเจ้านางมะทรุดจากเมืองโลง เพราะได้ข่าวว่า “เมิงไท ดิ๋นด๋ำ น้ำจุ่ม” (โรงพยาบาลเชียงคำ : เอกสารแผ่นปลิว) พญาคำและ พญาธนะ ได้นำไทลื้อจำนวนหนึ่ง ไปอยู่เมืองเชียงคำ สร้างหมู่บ้านใหม่ชื่อ “บ้านมาง” ตามชื่อบ้านมาง แห่งเมืองเชียงม่วนแล้ว เพราะ”วัดทุ่งมอก” ในบัดนี้ตามประวัติบอกเล่า (มุขะปาฐะ) ยืนยันว่า “พญาคำเป็นผู้สร้างวัดทุ่งมอก”
พ่อเฒ่าอุทัย อุ่นตาล แห่งบ้านทุ่งหนอง เมืองเชียงม่วน ได้ทำบัญชีหมู่บ้านไทลื้อที่อพยพไปอยู่ที่เมืองเทิง(อำเภอเทอง จังหวัดเชียงราย) และเมืองเชียงคำ ต่อมา พื้นที่อำเภอเชียงม่วนไม่สมบูรณ์ การประกอบอาชีพฝืดเคือง ชาวไทลื้อจึงขออนุญาตย้ายถิ่น ประมาณปี พ.ศ.2431 ชาวไทลื้อส่วนหนึ่ง ได้อพยพจากอำเภอเชียงม่วนที่อยู่นาน 15 ปี ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำ ได้แก่ บ้านหย่วน บ้านธาตุสบแวน บ้านมาง บ้านทุ่งมอก บ้านแพด บ้านเชียงบาน บ้านแวน บ้านแดนเมือง บ้านดอนไชย บ้านหนองลื้อ บ้านทราย บ้านห้วยไฟ บ้านหนองเลา บ้านหล้าไชยพรม บ้านกิ่วชมพู บ้านปางวัว บ้านเชียงคาน บ้านแฮะ บ้านฮวก และบ้านสบบง เป็นต้น จากการศึกษาของ อุทิศ ปฐมของ และรวงทอง สมัคร เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทลื้อ สิบสองปันนา กับไทลื้อ เมืองน่าน ในปี พ.ศ.2443 ได้มีการยุบเมืองปง เมืองควน ซึ่งมีพ่อเมืองปกครอง ขึ้นต่อนครน่าน และมีศูนย์รวมการปกครองที่เมืองเชียงคำ เรียกว่า เขตน่านเหนือ และในปี พ.ศ.2459 เปลี่ยนชื่ออำเภอปง เป็นอำเภอบ้านม่วง และในปี พ.ศ.2486 ได้โอนอำเภอปง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ซึ่งมี 8 ตำบล คือ วันที่ 18 มิถุนายน 2512 ได้มีประกาศยกฐานะพื้นที่เขตตำบลเชียงม่วน ตำบลบ้านมาง ตำบลสระ ขึ้นมาเป็น “กิ่งอำเภอเชียงม่วน” และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอ เชียงม่วน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2517
|
|
อีกทีมาหนึ่ง
ชนชาติพันธุ์ไทลื้อแก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2009 เวลา 06:39 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 13:40 ที่มา: เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ “ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน”
ชนชาติพันธุ์ ไทลื้อ |
|
![]() ![]() |
|
![]() |
|
ลื้อ หรือ ลือ เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท คือ “ ไทลื้อ ” หรือ “ ไตลื้อ ” มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองพันนา ชาวไทลื้อนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า “ น้ำของ ” ส่วนจีนเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง และเรียกคนไทลื้อว่า “ หลี่ ” หรือ “ สุ่ยไปอี่ ” ชาวลื้อหรือไทลื้อมีวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อตลอดจนวิถีชีวิตที่คล้าย คลึงกับคนไทยล้านนาและคนลาวในล้านช้าง ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักและนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกัน
สำหรับประเทศไทย ไทลื้อได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตอนบน ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ตั้งแต่อดีตซึ่งได้กวาดต้อนไทลื้อจากสิบสองพันนามาจำนวนมาก บางส่วนได้อพยพเข้ามาเพิ่มเติมภายหลังเพื่อค้าขาย ติดตามญาติพี่น้อง แต่งงานและแสวงหาที่ทำกินที่เหมาะสมหรือหนีภัยสงคราม รวมทั้งอพยพเข้ามาด้วยเหตุผลทางศาสนาและการจาริกแสวงบุญ ในเวียดนาม มีชุมชนไทลื้ออาศัยอยู่ที่เมืองบินลูห์ และบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำตามแนวพรมแดนที่ติดต่อกับจีน ในเขตประเทศลาว ไทลื้อตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือแถบเมืองสิง เมืองลองในแขวงหลวงน้ำทา เมืองอูเหนือ อูใต้ งายเหนือ งายใต้ บุนเหนือ บุนใต้ในแขวงพงสาลี เมืองไซ เมืองแบง เมืองฮุก เมืองหงสาในแขวงอุดมไซ เมืองเงิน เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหงสาในแขวงไชยะบุรี นอกจากนี้ยังตั้งชุมชนอยู่รอบ ๆ เมืองหลวงพระบางและกระจายกันอยู่แถบลุ่มน้ำอูและแม่น้ำโขง ในแขวงหลวงพระบางและแขวงบ่อแก้วอีกหลายหมู่บ้าน อาณาจักรสิบสองพันนาในอดีตจัดแบ่งการ ปกครองออกเป็นระบบ พันนา (อ่าน ว่า “ ปันนา ” ) ซึ่งเป็นการควบคุมพื้นที่นาโดยใช้ระบบเหมืองฝาย ประกอบด้วยพันนาเมืองหลวง พันนาเมืองแช่ พันนาเมืองฮุน พันนาเมืองฮิง พันนาเชียงลอ พันนาเชียงเจิง พันนาเมืองพง พันนาเมืองลา พันนาเชียงทอง พันนาเมืองอู พันนาเมืองล่า และพันนาเชียงรุ่ง โดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมุขเรียกว่า เจ้าแสนหวีฟ้า ประทับ อยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งจีนเรียกว่าเมืองเชอหลี่ นอกจากนี้ไทลื้อยังตั้งฐานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉานในพม่าที่ เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองป่าแลว เมืองวะ เมืองนำ เมืองฐาน เมืองขัน เมืองพะยาก เมืองยอง เมืองยุ เมืองหลวย เป็นต้น อาชีพหลักของไทลื้อ คือ การกสิกรรมเป็นพื้นฐาน ได้แก่ การทำนาและปลูกพืชผักต่าง ๆ ส่วนการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง ได้แก่ วัว ควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งานและขายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว ส่วนหมู เป็ด ไก่ เลี้ยงไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นอาหารในคราวออกแรงงานร่วมกัน ไทลื้อเป็นคนขยันทำมาหากิน ดังนั้นจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจอีกว่าชนเผ่าอื่น ๆ ในปัจจุบัน ชาวไทลื้อบางส่วนได้หันมาประกอบการค้าขาย เช่น ที่เมืองสิงจะสังเกตเห็นว่าเด็กผู้หญิงอายุ 12 – 13 ปี ก็จะเริ่มค้าขายเล็กน้อย ๆ ในท้องถิ่น ส่วนผู้ใหญ่บางคนจะไปค้าขายต่างเมือง เช่น ซื้อสินค้าจากจีนไปขายหลวงน้ำทา อุดมไซ หลวงพระบาง หรือซื้อสินค้าไทยไปขายในท้องถิ่น และบางส่วนเข้าไปในจีนแถบเมืองมางและเมืองล่า สินค้าท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม หอม ยาสูบ ถั่วโอ (ถั่วหมักคล้ายเต้าเจี้ยว) และพืชผักต่าง ๆ จารีตครรลองประเพณีที่สำคัญ การเกิด ภายหลังคลอดจะต้อง อยู่กำ (อยู่ไฟ) มีกำหนด 30 วัน ภายใน 3 วันแรก จะรับประทานอาหารได้แต่ข้าวกับเกลือเท่านั้นเรียกว่า อยู่กำน้อย เมื่อครบ 3 วัน แล้วก็ทำพิธี ออกกำน้อย โดย นำเอาเกลือมาสู่ขวัญผูกข้อมือให้แก่แม่และเด็กน้อย ผู้เป็นสามารถออกไปนอกห้อง หรือซักเสื้อผ้าได้ อาหารของแม่ระหว่างอยู่กำ รับประทานได้แต่น้ำพริกข่าจิ้มผักต้มและไก่ที่มีขนสีดำ ห้ามอาหารประเภทไข่ เนื้อสัตว์ประเภทวัวควาย นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามเพิ่มเติมสำหรับคลอดบุตรคนแรก ซึ่งเรียกว่า ท้องหัวสาว มี ข้อห้ามต่อไปอีก 1 ปี คือห้ามรับประทานเนื้อความเผือก หมูแม่ต้อง (หมูที่มีลูกแล้ว) เนื้อเสือ เก้ง กวาง ปลาร้า ปลาไม่มีเกล็ด ปลาบก ปลาไน เป็นต้น เมื่อครบ 30 วัน จะไปเชิญหมอพรมาสู่ขวัญ ซึ่งต้องฆ่าไก่ 1 ตัว ทำพิธีสู่ขวัญแม่และเด็กน้อย โดยถือว่าวันออกกำเป็นวันเกิดของเด็กน้อยอีกด้วย หมอพรจะนำเด็กไปวางที่หัวบันไดบ้านเพื่อบอกผีสางนางร้ายมาดูพร้อมทำเสียงนำ เค้าแมวแล้วพูดว่า “ แก็ก ๆ กู้… หื้อมาเอิ้นมาเรียกเอาหลานสูคืนเมือถ้าปิ๋นลูกสูหลานสู หื้อมาเรียกเอาป้อกไปเหเดี่ยวบ่ต้องหื้อ เหลือจากวันนี้ก๋ายมื่อนี้วันนี้บ่หื้อมาเกี่ยวข้อง ปิ๋นลูกกูหลานกู ” แล้วกระทืบเท้าให้เด็กน้อยตื่นและพูดต่อไปว่า “ ถ้าตายก็หื้อตายเห หื้อใจขาด คันใจบ่ขาด ก๋ายสามบาทปิ๋นลูกกูหลานกู สูเอาบ่ได้แล้ว ” หมายถึง ให้ผีร้ายมาเรียกเอาลูกหลานกลับคืนในวันนั้น หลังจากนั้นเป็นลูกคน ถัดจากนั้นก็กระทืบเท้าให้เด็กสะดุ้งตื่นแล้วพูดในทำนองว่า ถ้าจะตายก็ขอให้ขาดใจตายทันที ถ้าไม่ตายหลังจากนั้นก็จะเป็นลูกคน หลังจากนั้นหมอพรจะทำ พิธีสวดมนต์ตัดขาดจากผี แล้วนำเด็กน้อยมาทำพิธีสู่ขวัญให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่และญาติพี่น้องผูกข้อมือเพื่อให้เป็นลูกเป็นหลานต่อไป การเลือกคู่ครอง ชาวไทลื้อเมื่ออายุย่าง เข้าสู่วัยหนุ่มสาว จะมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง ชีวิตคู่ระเริ่มจากประเพณีแอ่วสาว กล่าวคือ พอถึงยามค่ำคืนบรรดาชายหนุ่มจะไปปลุกสาวที่ตนชอบพอถึงหัวนอน หากสาวพอใจก็จะออกมาพูดคุยกันที่ชานบ้าน ถ้าเป็นยามฤดูหนาวบรรดาสาว ๆ จะนัดเพื่อนสาวละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงมาลงข่วงปั่นฝ้ายรอบ ๆ กองไฟบริเวณลานบ้าน หนุ่มลื้อก็จะชวนกันมาแอ่วสาวปั่นฝ้ายกลุ่ม ๆ ในระหว่างเดินทางหรือขณะพูดคุยกับสาว ๆ ก็จะขับลำนำเคล้าเสียงปี่ในเชิงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบกันไปเรียกว่า “ ขับลื้อ ” พอถึงยากดึกต่างก็แยกกันกลับบ้าน โดยมีชายหนุ่มที่รักใคร่ชอบพอช่วยถือฝ้ายไปส่งถึงเรือน แล้วผู้สาวก็จะเชิญชวยหนุ่มขึ้นไปคุยกันต่อบนเรือน จนกระทั่งเลยสองยามอาจถึงสามนาฬิกาของวันใหม่จึงร่ำลากลับ เมื่อต่างฝ่ายรักใคร่จริงใจต่อกันแล้วก็จะบอกให้พ่อแม่ทราบ เพื่อขอความเห็นชอบและนัดเจรจาสู่ขอ ตามธรรมเนียมของชาวไทลื้อนั้น ก่อนการสู่ขอ พ่อแม่จะไปหาผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้านช่วยพิจารณาชะตาของหนุ่มสาวเรียกว่า ทำ พิธีไขว่ หมาย ถึงการสืบสวนถึงประวัติการสืบสายโลหิตของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากเป็นญาติใกล้ชิดชะตาจะขวางกัน แต่งงานกันไม่ได้ หากฝ่าฝืนจะเกิดภัยพิบัติแก่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย อาจเป็นอัมพาตหรือมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านั้น ถือว่าเป็นข้อห้ามสำคัญซึ่งเป็นจารีตของสังคมไทลื้อ เมื่อฝ่ายชายได้รับความ ยินยอมจากพ่อแม่แล้ว ก็จะมอบหน้าที่ให้ “ พ่อใช้ ” ซึ่งโดยปกติจะเป็นญาติหรือนายบ้านพร้อมญาติผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งไปเจรจาสู่ขอ พิธีสู่ขอใช้ขันห้า คือ พาน มีดอกไม้และธูป 5 คู่ หมากพลู ในการเจรจาสู่ขอจะกล่าวเป็นคำกลอนที่คล้องจองกัน ฝ่ายหญิงอาจตอบตกลงหรือเจรจาถามความสมัครใจของลูกสาวก่อน โดยจะให้พ่อใช้ฝ่ายหญิงไปแจ้งข่าวภายหลัง กินดองน้อย เมื่อ ทั้งสองฝ่ายตกลงเป็นเอกภาพกันดีแล้วก็จะนัดวันหมั้น ซึ่งเรียกว่า กินดองน้อย ในวันกินดองน้อย ฝ่ายหญิงจะฆ่าหมู 1 ตัว และไก่อีกจำนวนหนึ่ง จัดสำรับอาหารเลี้ยงต้อนรับญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายชายจะมอบกำไลเรียกว่า ปลอกแขนขวัญ น้ำหนักเงิน 2 หมัน 5 บี้ ให้แก่คู่หมั้น ถ้าหากคู่หมั้นมีพี่ชายหรือพี่สาวที่ยังเป็นโสดจะต้องเตรียมอีก 2 หมัน 5 บี้ ใส่พานไปมอบให้เพื่อ “ ข่มขวัญอ้ายเอื้อย ” ภายหลังพิธีหมั้นแล้วฝ่ายชายจะอยู่ในฐานะเป็น เขยพราง คือ อยู่ไปพลางก่อน หลังจากนั้นก็ทำพิธีเซ่นไหว้บอกเทวดาเรือน (ผีเรือน) เขยพรางจะอยู่ในฐานะเป็น คนสองเรือน สามารถไปมาหาสู่นอนค้างคืนได้เพื่อช่วยการงานที่บ้านฝ่ายหญิง แต่ยังไม่มีสิทธ์หลับนอนด้วยกัน ในระหว่างนั้นชายจะไม่ไปเกี้ยวพาราสีหญิงอื่น ส่วนหญิงก็จะไม่ไปลงข่วงปั่นเหมือนแต่ก่อน ทั้งจะตั้งใจเก็บหอมรอมริบเพื่อสร้างฐานะครอบครัวเตรียมกายเตรียมใจที่จะ เข้าสู่พิธีแต่งดองเรียกว่า สู่ขวัญโอม ซึ่งเขยพรางจะ เปลี่ยนสถานภาพเป็นเขยสู่ เพื่ออยู่กินกันฉันสามีภรรยาต่อไปตามปกติ ระยะเวลาจากเขยพรางไปหาเขยสู่จะกินเวลา 3 เดือน ถึง 1 ปี กินแขกแต่งดอง เป็นพิธีแต่งงานของเผ่า ลื้อ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา คือ เดือนเกี๋ยง หรือเดือนยี่ คือราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นต้นไป นิยมทำในเดือนคู่ โดยให้พระสงฆ์หรือผู้รู้ในหมู่บ้านเลือกหามื้อใสวันดีให้เพื่อเป็นสิริมงคล แก่คู่บ่าวสาว พิธีกินดองของเผ่าลื้อจะที่บ้านของฝ่ายหญิง โดยให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกัน ส่วนที่นอนหมอนมุ้งฝ่ายหญิงจะจัดหาหรือทำเองเตรียมไว้เมื่ออยู่ในวัยสาว โดยปกติงานวันที่ฝ่ายหญิงจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้และอาหารบางอย่างไว้ ล่วงหน้าเพื่อเลี้งแขกในวันรุ่งขึ้น วันที่สองเป็นวัน “ กินดอง ” จะมีแขกซึ่งเป็นญาติของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรวมทั้งชาวบ้านมาร่วมจำนวนมาก พิธีกินดองเริ่มจากพิธีแห่เขยไปสู่เรือน เจ้าสาว เมื่อถึงหัวบันไดจะมีหญิงผู้หนึ่งที่เป็นกุลสตรีของหมู่บ้านเรียกว่า แม่คนดี รีบ เอาถุงเงิน ง้าว (ดาบ) และมีดอุ่ม (มีดเหน็บ) จากเจ้าบ่าว นำไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่ของเจ้าสาว แล้วเข้าพิธีบายศรีเรียกว่า “ สู่ขวัญโอม ” ในพิธีสู่ขวัญโอมจะมีญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายมาผูกข้อมืออวยพรให้แก่คู่ สมรส หลังจากนั้นก็จะแห่สะใภ้มายังเรือนฝ่ายชาย ทำพิธีเซ่นไหว้เทวดาเรือนเพื่อขอรับเอาเขยไปอยู่เรือนของตน ในขณะเดียวกันญาติของฝ่ายชายก็จะทำพิธีสู่ขวัญรับสะใภ้ใหม่เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่เจ้าสาว ตามครรลองประเพณีของลื้อที่เคยปฏิบัติสืบ ต่อกันมา เขยสู่ จะ อาศัยอยู่กับพ่อตาแม่ยาย 3 ปี แล้วจึงแต่งดองกลับคืนไปอยู่เรือนพ่อแม่สามีอีก 3 ปี เรียกว่า “ สามปีไป สามปีป้อก ” ในพิธีแต่งดองกลับคืน จะมีการฆ่าหมู 1 ตัว ไก่อีกจำนวนหนึ่งทำพิธีสู่ขวัญและเงินสินสอดอีก 15 หมัน ก่อนจะลงจากเรือน ก็ทำพิธีบอกกล่าวเทวดาเรือนเพื่อไปอยู่กับพ่อแม่ของสามีจนครบ 3 ปี จึงจะปลูกเรือนหลังใหม่ได้เพื่อแยกสร้างครอบครัว |
|
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |