ประปาภูเขาหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ชุดที่ 4
ความเป็นมาโครงการอ่างเก็บน้ำญวนแก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2012 เวลา 01:47 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2012 เวลา 23:01
1. ความเป็นมาของโครงการ จังหวัด พะเยาและจังหวัดเชียงราย มีลำน้ำอิงที่เป็นลำน้ำสาขาสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขงไหลผ่าน ลำน้ำมีความยาวประมาณ 240 กิโลเมตร โดยพื้นที่ในลุ่มน้ำอิงประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำอยู่เป็นประจำ ถึงแม้ว่ากรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ทั้งประเภทโครงการขนาดกลาง โครงการขนาดเล็กและโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมประมาณ 466 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ชลประทาน/รับประโยชน์ ทั้งหมดรวม 768,479 ไร่ แต่ก็สามารถเก็บกักน้ำต้นทุนได้เพียง 226 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 5 ของประมาณน้ำท่านในลุ่มน้ำทั้งปี จากสภาพปัญหาด้านแหล่งน้ำดังกล่าว ราษฏรจึงมีการร้องขอโครงการพัฒนาแหล่งน้ำด้วยการเสนอให้มีการก่อสร้างฝายใน ลำน้ำอิงตอนกลางและตอนล่างเป็นระยะๆ เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำให้แก่โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่มีอยู่จำนวนมากริม ลำน้ำอิง ก่อนที่น้ำท่าจะไหลทิ้งลงแม่น้ำโขง กรม ชลประทาน จึงได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อันประกอบด้วย บริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท วายพี คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอลซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลำน้ำอิง จังหวัดพะเยา – จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการจัดการทำแผนหลักการพัฒนาลุ่มน้ำอิง ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน ชะลอการไหลหลากของน้ำในฤดูฝน การบริหารจัดการน้ำและป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชัน อีกทั้งยังช่วยให้การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และระบบนิเวศน์ที่ดีขึ้น รวมทั้งดำเนินงานประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมใน โครงการด้วย
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา – จัดทำแผนหลักการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำอิง ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย การ ศึกษาและจัดทำแผนหลักการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำอิง ได้ดำเนินการจัดทำแผนหลักการพัฒนาลุ่มน้ำอิงเบื้องต้นเสร็จแล้ว และได้คัดเลือกโครงการมาศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 โครงการ โดยโครงการอ่างเก็บน้ำญวน เป็น 1 ใน 4 โครงการที่ได้รับคัดเลือกมาดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและผลกระทบสิ่ง แวดล้อม (EIA) โดยมีวัตถุประสงค์ ของการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 มีดังนี้ – เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลของโครงการเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดของโครงการ 3. ระยะเวลาดำเนินงาน โครงการการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลำน้ำอิง จังหวัดพะเยา – จังหวัดเชียงราย มีระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาโครงการทั้งสิ้น 540 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 11 มกราคม 2556 แบ่งกิจกรรมการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : แผนหลักการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำอิง ระยะเวลาดำเนินการ 240 วัน ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2555 4. กิจกรรมหลักในการดำเนินงาน กิจกรรมหลักในการดำเนินงานประกอบด้วยกิจกรรมหลักๆ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1. การจัดทำแผนหลักการบรรเทาปัญการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยลุ่มน้ำอิง ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลระดับลุ่มน้ำ การศึกษาและวิเคราะห์คัดเลือกทางเลือก การกำหนดกลยุทธ์/มาตรการ/แผนงาน/โครงการในการแก้ไขปัญหา การจัดลำดับความสำคัญของโครงการและการจัดทำแผนงาน/งบประมาณ
5.รายละเอียดโครงการอ่างเก็บน้ำญวน 5.1 ลำดับขั้นการดำเนินงานโครงการ ลำดับขั้นการดำเนินงานโครงการอ่างเก็บน้ำญวน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ดังนี้ – เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่บ้านร่องส้าน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้มีพระราชดำริให้พิจารณางานอ่างเก็บน้ำในลำน้ำญวน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ ตั้งแต่บ้านบ้านใหม่ร่มเย็นจนถึงบ้านร่องส้าน 5.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ – เพื่อส่งน้ำสนับสนุนช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอเชียงคำ ให้สามารถเพาะปลูกในฤดูฝนได้อย่างเต็มพื้นที่ประมาณ 20,000ไร่ และในฤดูแล้ง 8,000 ไร่ หัว งานเขื่อนน้ำญวนและอาคารประกอบ ตั้งอยู่ที่บ้านสบสา (บ้านใหม่ปางวัว) หมู่ที่ 18 ตรงข้ามกับหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พิกัด 47 QPB 468578 แผนที่มาตราส่วน 1 :50,000 ระวาง 5048 II ลำดับชุด L7018 พื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำญวน รวมพื้นที่ถนนทดแทนและแหล่งหิน มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูซาง ซ้อนทับป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย น้ำหย่วนและน้ำลาว อยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A และ 1B อ่างเก็บน้ำญวนมีพื้นที่รับน้ำฝน 150 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าไหลลงอ่างเฉลี่ย 52.16 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนดินแบบแล่งส่วน สูง 49 เมตร ความยาวสันเขื่อน 526 เมตร อาคารระบายน้ำล้น ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของเขื่อนดิน (บริเวณป่าชุมชนของหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ) สันฝายยาว 90 เมตร ระบายน้ำหลากได้สูงสุด 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที อ่างเก็บน้ำมีระดับน้ำกักเก็บที่ + 469.50 ม.รทก. เก็บกักน้ำได้ทั้งหมด 36 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุอ่างใช้การ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร อาคารท่อส่งน้ำฝั่งซ้ายเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 8 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที อาคารท่อส่งน้ำฝั่งขวา เป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.60 เมตร ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 1.012 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ระบบชลประทานเป็นการก่อสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่ดาดคอนกรีต ฝั่งซ้ายความยาว 8.3 กิโลเมตร ฝั่งขวาความยาว 5.0 กิโลเมตร เพื่อต่อเชื่อมกับระบบเหมืองฝายเดิมในลำน้ำญวนและลำน้ำแม่ลาวซึ่งยาวประมาณ 25 และ 21 กิโลเมตร ตามลำดับ พื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 20,000ไร่ และพื้นที่ชลประทานในฤดูแล้ง 8,000 ไร่ ราคาค่าก่อสร้างโครงการ 870 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี 5.4 สภาพภูมิประเทศ พื้นที่ อำเภอเชียงคำ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง ระดับความสูงด+ 500 ถึง + 1,600 ม.รทก. บริเวณพื้นที่ราบ มีระดับความสูง +390 ถึง +420 ม.รทก. สภาพภูมิประเทศของบริเวณพื้นที่หัวงาน ฝั่งซ้ายเป็นภูเขาสูงชัน ฝั่งขวาเป็นภูเขาและเนินเขา ความสูงประมาณ +600 ถึง +900 ม.รทก. พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ เป็นภูเขาสูงและหุบเขา มีที่ราบแคบๆ ริมลำน้ำ ซึ่งประชาชนใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกและสร้างบ้านเรือน ส่วนบริเวณพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ เป็นภูเขาสูงซัน มีป่าไม้หนาทึบ 5.5 สภาพอุทกวิทยาและแหล่งน้ำ ลำ น้ำญวน เป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่ลาว พื้นที่ลุ่มน้ำญวนเป็นลุ่มน้ำสาขาหนึ่งของลุ่มน้ำแม่ลาว ลุ่มน้ำอิง และลุ่มน้ำโขงส่วนที่ 1 (ลุ่มน้ำโขงเหนือ) ลำน้ำญวนมีต้นน้ำอยู่ที่ภูเขาสูงบ แนวเขตแดนไทย-สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ในเขตตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ไหลผ่านตำบลร่มเย็น ตำบลเจดีย์คำ และตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ เป็นลำน้ำขนาดกลางไหลลงสู่ลำน้ำแม่ลาวที่อำเภอเชียงคำ และลำน้ำแม่ลาวไหลลงสู่ลำน้ำอิงและไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ลุ่มน้ำแม่ลาวมีพื้นที่รับน้ำฝน 1,346.94 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 461.62 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ลุ่มลำน้ำญวน มีพื้นที่รับน้ำฝน 235.00 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 78.62 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยบริเวณที่ตั้งเขื่อนเท่ากับ 52.16 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดในเดือนกันยายน เท่ากับ 28.83 ล้านลูกบาศก์เมตร และต่ำสุดในเดือนเมษายน เท่ากับ 0.08 ล้านลูกบาศก์เมตร 5.6 ดินและคุณภาพดิน ใน พื้นที่ชลประทานของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 7 ชุดดิน มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีความเหมาะสมสำหรับสำหรับปลูกพืชไร่และไม้ผล ร้อละ 20.9 มีความเหมาะสมน้อยสำหรับปลูกพืช ร้อยละ 0.2 และพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช ร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ 5.7 เกษตรกรรมและปศุสัตว์ ใน บริเวณพื้นที่โครงการมีการปลูกพืชเกษตรได้แก่ ข้าว พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข.15 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ข้าวโพดลูกผสม หอมแดง พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ศรีษะเกษ กระเทียม ลำไยที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์อีดอ และไม้ยืนต้นในปัจจุบันมีการส่งเสริมการปลูกยางพารา สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ กระบือ สุกร และไก่พื้นเมืองทั่วไป เป็นการเลี้ยงครอบครัวละไม่มาก ส่วนการประมงมีการเลี้ยงปลากินพืช ประมาณ 950 ไร่ 5.8 ระบบชลประทาน ใน ปัจจุบันระบบชลประทาน ในพื้นที่โครงการมีการใช้น้ำจากลำเหมือง โดยมีฝายทดน้ำเป็นระยะๆ โดยพบปัญหาในฤดูแล้ง มีน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ ระบบเหมืองฝายใช้งานมานานและชำรุด และมีปัญหาน้ำท่วมในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ทั้งนี้ ความต้องการชลประทานในลุ่มน้ำญวนในปัจจุบัน ฤดูฝน (10,000 ไร่) และฤดูแล้ง (700 ไร่) เท่ากับ 7.28 และ 2.11 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนความต้องการน้ำในลุ่มน้ำแม่ลาวในปัจจุบัน ฤดูฝน (4,500 ไร่) และฤดูแล้ง (350 ไร่) เท่ากับ 3.64 และ 14.60 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อมีโครงการอ่างเก็บน้ำญวน ความต้องการน้ำจะเพิ่มเป็นในฤดูฝน (20,000 ไร่) 16.23 ล้านลูกบาศก์เมตร และในฤดูแล้ง (8,000 ไร่) 9.03 ล้านลูกบาศก์เมตร 6.การดำเนินงานในขั้นต่อไป การดำเนินงานในขันต่อไป ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 : แผนหลัก เป็นการปรับปรุงผลการจัดทำแผนหลักให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของราษฎร 7. สามารถส่งข้อเสนอแนะและสอบถามได้ที่ บริษัท มหานคร คอนซัลแตนท์ จำกัด 20/13 หมู่ที่ 6 ซอยชินเขต 1/20 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0-2955-5440-3 โทรสาร. 0-2954-1856 Email: eng.mcon@yahoo.com ผู้ประสานงาน นายรังสรรค์ ทองภูสวรรค์ เว็ปไซต์โครงการ http://kromchol.rid.go.th/ffd/project2554/naming/index.html
หรือ หากท่านมีเวลาว่าง ท่านก็สามารถอ่านบทความของเว็ปมาสเตอร์ได้ที่นี่ครับ มีหลายเรื่องหลายตอนให้ท่านได้เลือกอ่าน ก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้างก็อย่าได้ว่ากันนะครับ ไม่มีเจตนาใดใดแอบแฝง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ หรืออยากพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ มีสาระสร้างสรรค์ ก็ขอเชิญท่านแอดผมไปเป็นเพื่อนได้หลายช่องทางครับติดต่อผมได้ โดยคลิ๊กที่ชื่อที่ใช้ได้เลยครับ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |