ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 07:44 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2011 เวลา 11:45
เกริ่นนำ ประวัติความเป็นมา : หาก จะกล่าวถึง ประวัติและความเป็นมา ของหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56110 แล้วนั้น ถึงแม้ว่า จะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นมาใหม่ เมื่อวันเสาร์ ที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ โดยที่มีครอบครัวของ พ่ออุ้ยแก้ว แม่อุ้ยสุ มาสุข และ ครอบครัวของ พ่ออุ้ยเงิน แม่เบ้า รุ่งเรือง เป็นสองครอบครัวที่มาตั้งอยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้เป็นครั้งแรก และ ต่อมาทางราชการได้ตั้งให้เป็นหมู่บ้านอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติการ ปกครองบริหารส่วนท้องถิ่น เมื่อปีพุทธศักราช 2534 ซึ่งถ้านับตามจำนวนปีพุทธศักราชแล้ว หมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ก็เพิ่งมีมาได้ประมาณ 48 ปี (ปัจจุบันปี พ.ศ. 2555) ถ้าเปรียบเทียบกับอายุของมนุษย์เราแล้ว ก็คงเปรียบได้แค่วัยกลางคนเท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว บรรดาผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่บ้านแห่งนี้นั้น มีมาก่อนตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งก็ได้สืบเชื้อสายกันมา และพากันอพยพ พร้อมกับย้ายที่อยู่เพื่อแสวงหาที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์แห่งใหม่อยู่เป็น เนืองๆ ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้พยายามรวบรวมและเรียบเรียง ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ พ่ออุ้ยแม่อุ้ย รวมไปถึงครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์สามเณร พ่อน้อย พ่อหนาน และจากบรรดาปราชญ์ผู้รู้ต่างๆ อีกทั้งได้ค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้ขอความรู้จากหลายๆที่ หลายๆ แห่งนำมาประติดประต่อกัน เพื่อให้มีข้อมูลที่จะเป็นหลักฐานเชื่อมกัน อีกทั้งให้ได้รับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนต่างๆ รอบหมู่บ้านของเรา ซึ่งผู้คนในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชาติพื้นเมืองดั้งเดิม หรือ คนเมืองล้านนานั่นเอง ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันนี้ อำเภอเชียงคำของเรา มีผู้คนอยู่จำนวนไม่น้อย ที่อาศัยอยู่รวมกันถึง 5 ชนชาติพันธุ์ หลักๆ ดังนี้คือ
แต่ตำนานพระเจ้านั่งดิน พญาผู้สร้างเมืองชื่อว่า “พญาคำแดง” และเมืองนั้นชื่อ “พุทธรส” ประชาชนชาวเมืองมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีนามว่า “พระเจ้านั่งดิน” พระพุทธเจ้าทำนายว่า สืบไปภายหน้าเมืองจะเจริญรุ่งเรือง และอุดมไปด้วยสินทรัพย์และจะได้ชื่อว่า “เมืองเชียงคำ” เป็น วัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฏรสร้างฐานรองรับ เพื่ออัญเชิญพระประธารขึ้นประดิษฐานบนฐานรองรับ แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบเนื่องกันต่อมาว่า พระนั่งดิน ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า 2,500 ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ ใช้เวลา 1 เดือน 7 วัน จึงเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีดังพระพุทธรูปอื่นๆทั่วไป Unlike other temples the principal Buddha image here sits on the ground instead of a base. There used to be a public attempt to build a base for the image, but it turned out unsuccessful. The image was ever since called Phra Nang Din, which refers to an image sitting on the ground. Legend has it that the image was built in the time of the Lord Buddha; it was, therefore, believed to be over 2,500 years old. ตาม ตำนานกล่าวว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อนมจตุ จุลศักราช ๑๒๑๓ ปีระกาเดือน 6 แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤระฤาษี ๒ ตน และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนกับเจ็ดวันจึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระ พุทธองค์ ได้เสด็จไปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไว้พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ได้ตรัสเทศนากับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา” พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้น พระรูปเหมือนดังกล่าวคือองค์พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้เอง เป็นที่ น่า สังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชี เหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าแก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่านลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุก วันนี้
เมื่อ ปี พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวง ตำแหน่งเจ้าเมือง ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเหมือนกันทั่วประเทศ จัดตั้งจังหวัดเชียงราย แขวงน้ำลาวถูกยุบและแยกเป็นเมืองเทิง และเมืองเชียงคำ เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอเชียงคำเป็นคนแรก เมื่อวัน ที่ 28 สิงหาคม 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น แบ่งเขตการปกครองจากจังหวัดเชียงราย โดยโอนอำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ รวม 7 อำเภอ จัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงคำเป็น กิ่งอำเภอภูซาง ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลสบบง ตำบลภูซาง ตำบลเชียงแรง ตำบลทุ่งกล้วยและตำบลป่าสัก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539 เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอำเภอภูซาง ขึ้นเป็น อำเภอภูซาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2550 ที่ตั้งและอาณาเขต
การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอเชียงคำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 134 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอเชียงคำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
ต่อมาปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีรับสั่ง ให้เจ้า อนันตวรฤทธิ์เดชฯ เจ้าผู้ครอง นครน่านไปตีเมือง สิบสองปันนา เมืองเชียงรุ้งอีก ปรากฏว่า พอถึงเจ้าเมืองเชียงรุ้ง ยอมสวามิภักดิ์ แต่โดยดี และยังพบชาวไทลื้อ กลุ่มหนึ่ง ตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลของจีนฮ่อ ซึ่งปกครอง ด้วยระบบ ทารุณโหดร้าย จึงได้ทรงช่วยเหลือ ไทลื้อเหล่านั้น ให้พ้นจากอิทธิพล อันเลวร้าย โดยการกวาดต้อน เข้ามาอยู่ที่บ้านเหงา อ.เทิง จ. เชียงราย ครั้นถึง พ.ศ. 2413 พระเจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดชฯ ได้สืบราชสมบัติ แห่งนครน่าน ได้มีเจ้าเมืองสิบสองปันนาชื่อ “พญาโพธิราช ” พาชาวไทลื้อ อพยพหนีภัย สงครามเข้ามาอยู่ในเมืองเทิง ซึ่งบรรดาชาว ไทลื้อต่างเรียงเจ้าเมือง องค์นี้ว่า ” พญานายฮ้อย ” ในปี พ.ศ. 2416 พระเจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดชฯ ทรงวิตก และเกรงว่าชาวไทลื้อเหล่านี้ อาจพากันอพยพกลับไปอยู่ที่เดิมอีก จึงได้อพยพไปอยู่ ที่อำเภอเชียงม่วน จ.น่าน แต่พื้นที่ของ เมืองเชียงม่วน ไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวไทลื้อ จึงเข้าไปขออนุญาต ย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ จากเจ้าเมืองน่าน พระองค์ได้โปรด ให้หัวหน้าเผ่าไทลื้อ ออกไปสำรวจ หาสถานที่ตามแหล่งต่างๆ ในที่สุดก็ไปพบ ที่ราบกว้างใหญ่ พื้นดินอุดมสมบูรณ์ และมีแม่น้ำหย่วน แม่น้ำลาวไหลผ่าน เหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าไทลื้อสืบไปจึงกลับไปถวายรายงานและก็ ได้รับอนุญาตแล้วพากันอพยพเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งใหม่นั่นก็คือท้องที่ อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน ชาวไท ลื้อ ยึดอาชีพ การเกษตรเป็นหลัก มีการปลูกพืช ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์เช่น วัว ควาย หมู เป็ด และไก่ ไว้ใช้งาน หรือประกอบ อาหาร ในครัวเรือน โดยถือคติว่า ” ไม่ซื้อ ไม่ขาย เก็บไว้กิน และ แบ่งปันพี่น้อง ” ชาว ไทลื้อ ต่างนับถือ พุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ จากการสร้างวัด ที่มีศิลปะแบบ ของไทลื้อล้วนๆ และแบบศิลปะ ไทลื้อผสมพม่า ซึ่งในท้องที่ อ. เชียงคำ มีอยู่หลายวัด เช่น วัดหย่วน วัดมาง และวัดนันตาราม ความเชื่อถือ ของบรรพบุรุษก็คือ นับถือเทพยดา อารักษ์ ผีสาง จะเห็นได้ จากการที่มีการใหว้ผี ประจำปีของ แต่ละหมู่บ้าน ซึ่งจะมีขึ้น เป็นประจำ ผี ที่ชาวไทลื้อ นับถือมี 3 จำพวก ได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ผีบ้าน และพระ (ผี) เสื้อเมือง เพราะชาวไทลื้อ เชื่อว่า เหตุการณ์ภายใน อาคารบ้านเรือน เป็นหน้าที่ ของผีบ้านผีเรือน ที่ต้องดูแล คุ้มครอง ส่วนการนับถือ ผีบรรพบุรุษ อย่างมั่นคง จะช่วยให้เกิด สวัสดิมงคล อยู่ดีมีสุข ทำมาค้าขึ้น สำหรับพระ (ผี) เสื้อเมือง จะคอยรักษา เหตุการณ์บ้านเมือง ให้อยู่ในความสงบ โดยปราศจาก เหตุร้ายต่างๆ ชาว ไทลื้อ ถือคติว่า ในโลกนี้ ไม่มีใคร ช่วยเขาได้ นอกจาก ดวงวิญญาณ ของผีปู่ย่า ตายายของเขา เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ทุกบ้านจึงมี หิ้งบูชาบรรพบุรุษ ที่จัดไว้ ในห้องเป็นพิเศษ ส่วนการนับถือ ผีบ้านผีเรือน และพระ (ผี) เสื้อเมือง ชาวไทลื้อ จะมีความเชื่อมั่น อย่างจริงจัง เวลาเคราะห์หามยามร้ายอะไรขึ้น มาก็มักกล่าวหาว่า ผีบ้าน ทำเอาบ้าง พระ(ผี) เสื้อเมือง ลงโทษเอาบ้าง สุดแต่จะยก เหตุผลมาอ้าง ไปต่างๆ นานา เช่น หากออกไป นอกบ้านกลับมา มีอาการผิดปกติ หนาวจับไข้ขึ้นก็หาว่า ผีตายโหง ทำเอาโทษบ้าง พระ(ผี)เสื้อเมือง ทำอันตรายเอาบ้าง แม้แพทย์แผน ปัจจุบันรักษาไม่หาย ยังมีอาการ แบบสามวันดี สี่วันไข้เจ้าของบ้าน จะทำพิธี “สะเดาะเคราะห์” หรือที่เรียกตามภาษา พื้นบ้านว่า “กรรมเฮือน” สำหรับ พิธีกรรม เลี้ยงพระ (ผี) เสื้อเมือง จะร่วมใจกัน จัดเป็นงานใหญ่ โดยจัดกัน เป็น 3 ปี ต่อหนึ่งครั้ง คือ เริ่มต้นในฤดู เก็บเกี่ยวในปีแรก จนครบ 3 ปี ตามปฏิทิน หรือฤดูกาล ทำนาครั้งที่ 4 ชาวไทลื้อ เรียกพิธีนี้ว่า 3 ปี 4 งวง (รวง) ข้าว เวลาทำพิธี เลี้ยงพระเสื้อเมือง เขาห้ามคนใน ออกไปที่อื่น คนนอกเข้ามา ในหมู่บ้าน มีการแสดง เขตกำหนด บริเวณหมู่บ้าน โดยการทำเฉลว (ตาเหลว) ที่สานด้วยไม้ไผ่ ไปผูกติดไว้ ที่ประตูชั่วคราว ตรงปากทาง เป็นเครื่องหมาย พร้อมกับมี หนังสือกำชับ หรือมีคนคอยป่าว ประกาศห้าม พอคนต่างถิ่น มาเห็นเข้าก็ต้อง เดินอ้อมไปอีกทางหนึ่ง เพราะถ้าขืนล่วงล้ำเข้าไป ในหมู่บ้าน ในขณะที่ชาวบ้าน กำลังกระทำพิธี เลี้ยงผีประจำหมู่บ้าน บุคคลนั้น จะถูกปรับไหม แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งชาวไทลื้อ ทุกคนยินดีที่จะ ปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะถูกประณาม อย่างเสียหาย พิธีกรรมเลี้ยงผี เริ่มทำกันตั้งแต่ ตอนเช้าตรู่เป็นต้นไป ซึ่งเป็นที่รู้จัก กันว่า ถ้ามีการเลี้ยงผี กำนันผู้ใหญ่ และชาวบ้าน ทุกหลังคาเรือน จะต้องนำไก่มีชีวิต มารวมกันที่บ้าน ของหมอผีประจำหมู่บ้าน โดยหมอผีเป็นผู้กระทำพิธีทางไสยศาสตร์ไปด้วย เรื่องการนำไก่ มีชีวิตไปรวมกัน ถือเป็นข้อปฏิบัติ ที่ทุกบ้านจะขาด เสียมิได้ ถ้าเวลานั้น เจ้าของบ้าน ที่เป็นผู้ชายไม่อยู่ อาจมีกิจธุระ ต้องออกไป ทำงานนอกบ้าน ผู้เป็นภรรยา จะต้องให้คนนำ ไก่ไปที่บ้านหมอผี แต่ตัวของนางจะไม่ไป เองเด็ดขาด เหตุผลก็คือ ผู้หญิงเป็นเพศ ที่ขวัญอ่อน มักตื่นตระหนกใจง่าย เวลาที่เห็นการฆ่าสัตว์ หรือบางทีผู้หญิง หน้าตาสวย เข้าไปในงานพิธี พระ (ผี) เสื้อเมือง อาจถูกใจ เอาไปเป็นเมีย ที่เมืองผีก็ได้ ดังนั้นในงานพิธี เลยมีเฉพาะ ผู้ชายเท่านั้น เมื่อเจ้าของ บ้านที่เป็นผู้ชาย ทุกคนอุ้มไก่ คนละตัวไป บ้านหมอผี จนได้ไก่ครบตาม จำนวนครอบครัว ขั้นตอนการ ปฏิบัติต่อมา เขาจะเชิญ หมอผีประจำหมู่บ้าน มาทำพิธี ใครที่เอาไก่ ไปก็ลงมือ เชือดคอไก่ ด้วยตนเอง แบบของใครของมัน ส่วนอีกพวกหนึ่ง ก็จุดไฟต้มน้ำร้อน ไว้ลวกไก่ หลังจากถอนขน เสร็จก็เอาใส่รวมกัน ในกระทะใบใหญ่ ต้มให้สุก จากนั้นเอาไก่ เพียงตัวเดียว ใส่พานไม้ พร้อมกับข้าว เหนียวนึ่ง 1 จาน เทียนสีผึ้ง และสุรา 1 จอก (ประมาณ 100 ซีซี.) โดยหมอผี ประจำหมู่บ้าน จะถือไปด้วยตนเอง เพื่อเปิกการเจรจา กับพระเสื้อเมือง หรือเทพารักษ์ ประจำหมู่บ้าน หลังจากที่ทุกอย่างพร้อมแล้ว บรรดาผู้ชาย ต่างพากัน นั่งยองๆ ด้วยอาการ สงบนิ่ง อยู่ในบริเวณนั้น โดยหมอผี ประจำหมู่บ้าน จะเปล่งเสียง สาธยายมนต์ ตามตำราอย่างชัดเจนว่า ” ปีนี้ก็ควบไคว่ เติงเวลาแล้ว หมู่จุมจาวบ้าน ตังหลายตังมวล ได้ร่ำเปิงหา ปู่เจ้าเสื้อบ้าน จึงมาร่ำรี้ร่ำไร สูมาคารวะปู่เจ้า เสื้อบ้าน ขออาราธนา ปู่เจ้าได้รับของกิน ของทาน ดังนี้แล้วขอปู่เจ้า เสื้อบ้านจุงได้โผด กรุณาให้ ลูกให้หลาน เหลนหลีกลี้ ได้อยู่ดีมีสุข ผู้ทุกคนฮอด ไปเติงหมู หมา เป็ด ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย หื้ออย่าได้มี ภัยพยาธิ์มา เติงโดยแล ” ต่อจากนั้น ก็ยกไก่ และสุรา ไว้บนหอ ให้เวลาประมาณ 15 นาที คาดคะเนว่า ปู่เสื้อบ้าน ได้รับของเช่นสังเวย เรียบร้อยแล้ว ก็จะเอาไก่ต้ม ตัวดังกล่าว ลงจากหอปู่เสื้อบ้าน ไปรวมกับไก่ต้ม ตัวอื่นๆ ก่อนที่จะลงมือ ฉีกเนื้อไก่จิ้ม น้ำปลากินกัน อย่างเอร็ดอร่อย พร้อมแกล้มกับสุรา ที่เตรียมเอามา ล่วงหน้า บรรดาอาหารต่างๆ ห้ามนำเอากลับบ้าน เหลืออะไร ก็ให้เอาไว้ที่ใต้ ต้นไม้ฮุง (ต้นไทร) ใหญ่หน้าศาล ปู่เสื้อบ้าน ทั้งหมด ดังคำกล่าวที่ว่า กราบพระได้บุญ เลี้ยงผีคนได้กินอิ่มท้อง ในวันนั้น เป็นวันหยุดงานทุกชนิด คนในหมู่บ้าน ทั้งหมดจะห้าม ออกนอกบ้านไป ทางหนึ่งทางใด เด็ดขาด ต้องอยู่ในหมู่บ้าน ตลอดเวลา ถ้าใครที่เดินทาง ออกไปจากบ้าน ชาวบ้านจะถือว่า ละเมิดประเพณี แสดงว่าเป็นตัว “อุบาทว์” หรือ “ขึด” ประจำหมู่บ้าน ไม่มีผู้ใด อยากคบหา สมาคมด้วย พิธีกรรม เมืองหรือ การบูชา เทพาอารักษ์ ของแต่ละเมือง มีขนบธรรมเนียม ที่แตกต่างกันไป คนละแบบไม่ เหมือนกัน ตลอดจน การจัดพิธีกรรม ก็ไม่ตรงกัน เพราะบางเมือง จะมีพระเสื้อ เมืองไม่เท่ากัน บางเมืองมีเพียง 3 – 4 คน แต่บางเมือง มีมากถึง 20 – 30 คน ทำให้ต้องเลี้ยง กันนานถึง 3 วันติดต่อกัน และจะจัดเพียง 3 ปีต่อครั้ง เรียกว่า ” 3ปี 4 งวง (รวง ) ข้าว ” ในพิธี 3 ปี 4 รวงข้าวนั้น มีการสนุกรื่นเริง เฮฮาตามประสา ชาวชนบท มีการละเล่น และเสียง มโหรีปี่ซอ บรรเลงกันเต็มที่ ตลอดจนมี อาหารการกิน ทุกอย่างเลี้ยงกันเต็มที่ สัมผัสวิถีชีวิตไทลื้อ อ.เชียง คำ จ.พะเยา ชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายส่วนใหญ่จะตั้ง บ้านเรือนเป็นกลุ่มอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านไทลื้อคือจะมีบ่อน้ำไว้ประจำแต่ละบ้านนอกจากนั้น ก็ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่ในบริเวณบ้านด้วย โดยปกติแล้วชาวไทลื้อจะประกอบอาชีพทำไร่นา หลังจากหมดสิ้นฤดูทำนาแล้วผู้หญิงไทลื้อก็จะพากันจับกลุ่มทอผ้าซึ่งผ้าทอไท ลื้อนั้นถือว่ามีเอกลักษณ์โดดเด่นสวยงามไม่แพ้ผ้าทอจากที่อื่น หมู่ บ้านชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ มีอยู่ 26 หมู่บ้าน เมื่อกล่าวถึงเชื้อสายบรรพบุรุษของไทลื้อเฉพาะในอำเภอเชียงคำ สันนิฐานว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มเมืองพง เมืองมาง เมืองหย่วน เมืองบาน เมืองแพด และเมืองล้า ในแค้วนสิบสองพันนา โดยดูได้จากชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นตามชื่อเมืองเดิม พะเยาเป็น จังหวัดหนึ่งที่มีชุมชนไทลื้อตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่นใน อ.เชียงคำ และที่ ต.ฝายกวาง ต.น้ำแวน ต.เชียงบาน ต.ภูซาง ต.เวียงชุม เป็นต้น ทางอำเภอเชียงคำได้จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปะวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทลื้อ ใกล้ ๆ กับศูนย์ทอผ้าไทลื้อจะเป็นศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำของไทลื้อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อไทลื้อเก่าอายุนับร้อยปี อุปกรณ์เครื่องมือในการจับสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการจำลองห้องต่าง ๆ ของชาวไทลื้อ เช่นห้องนอน ห้องครัว เป็นต้น
ด้วย ความสมบูรณ์ของชีวิตและความผูกพันต่อสายน้ำและป่าไม้ ชุมชนบ้านคุ้ม ได้รวมตัวกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงผีขุนน้ำและบวชป่าสืบชะตาต้นไม้ประจำทุกปี และที่โดดเด่นคือ การฟังเทศน์กลางแม่น้ำ หรือพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมัจฉาพระยาปลาช่อน ซึ่งริเริ่มโดยพระครูขันติวชิรธรรม เจ้าคณะตำบลร่มเย็น (ปัจจุบันเป็นรองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ) อันเป็นธรรมเทศนาขอฟ้าฝนตามคติโบราณที่ถือว่าใช้เทศน์ให้เกิดฝนตกต้องตามฤดู กาล อดีตกาลผ่านมากว่า 700 ปี เมืองเชียงคำ หรือเมืองชะราว หรือเมืองพุทธรส มีผู้ปกครองเมืองนับตั้งแต่พญาคำแดงเป็นต้นมา เล่าสืบกันว่าเมืองแห่งนี้ คือ ชุมชนบ้านคุ้ม บ้านสบสา บ้านหนอง บ้านร้อง บ้านโจ้โก้ (ความเห็นจากผู้เรียบเรียง จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน พ่ออุ้ยแม่อุ้ย ที่ได้อยู่ทันเห็นเหตุการณ์และเคยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้นแล้วได้พากันอพยพ ถิ่นฐานบ้านเรือน จากหมู่บ้านต่างๆเหล่านั้น ได้เล่าให้ฟังถึงว่า ในอดีตนั้น ยังมีหมู่บ้านอีกหลายหมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงในเขตตำบลร่มเย็น เช่น บ้านแขม บ้านก๊อด บ้านดงโค้ง บ้านทุ่งเก้าพร้าว บ้านหัวนาเต๊อะ บ้านบน บ้านร่องดินแดง บ้านปางงัว เป็นต้น ซึ่งหลายๆหมู่บ้านดังกล่าวในปัจจุบันไม่หลงเหลือให้เห็นเป็นสภาพหมู่บ้าน แล้ว เนื่องจากได้กลายเป็นทุ่งท้องนาไปเสียหมดสิ้น คงเหลือไว้ให้เห็นแต่สภาพอิฐดินเผาเก่าๆ บ้างที่ฝังอยู่ใต้ดิน เวลาชาวบ้านทำไร่ทำนา ก็ขุดพบเจอเป็นจำนวนมาก บางทีก็ขุดค้นพบข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกฝังไว้เป็นจำนวนหลายชิ้นด้วยกัน) ในเขตตำบลร่มเย็น ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาในปัจจุบันนี้เอง ในตำนานที่อ้างถึงเมืองพุทธรสแห่งนี้ ตำนานพระธาตุดอยคำ ตำนานวัดพระนั่งดิน ตำนานสิงหนวัตร และตำนานพระธาตุสบแวน ได้ลำดับเรื่องราวของการสร้างบ้านแปงเมือง โดยผู้ปกครองเมือง ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสืบทอดกันมายาวนาน และแม้บางช่วงบางเหตุการณ์เช่นกัน ที่มีผู้ปกครองเมืองใจชั่วหยาบช้ากดขี่ประชาราษฎร จึงถูกฟ้าดินลงโทษทัณฑ์ แต่เมืองเชียงคำก็สงบสุขร่มเย็นและผ่านพ้นวิกฤตการณ์อันเลวร้ายเหล่านั้นมา ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
จากผู้เรียบเรียง “ตาม ตำนานเรื่องเล่า การพบแร่ทองคำระหว่างลำห้วย พ่ออุ้ยแม่อุ้ยได้เล่าเรื่องปรัมปรา ให้ฟังว่า ตะก่อนเคยมีแร่ทองคำไหลออกจากลำห้วย แล้วมีแม่หม้ายยากจนเป็นคนไปพบสายแร่ทองทองนี้เป็นคนแรก นางก็ได้เก็บเรื่องราวนี้ไว้เป็นความลับอยู่นาน เพราะนางถึงแม้จะเป็นคนยากจน แต่นางเป็นคนมีจิตใจที่มีคุณธรรมไม่โลภมาก บ้างก็เล่าว่า เพราะเทวดาสงสารนาง เลยเนรมิตให้นางพบกับแร่ทองคำนี้ เมื่อนางพบทองเป็นลักษณะนี้ นางก็ได้ใช้มีดทำการขูดเอาวันละเล็กละน้อยพอหลายวันเข้าก็ได้เยอะขึ้นแล้วนำ ไปขาย ทำให้ครอบครัวของนางมีฐานะดีขึ้น ชาวบ้านก็พากันแปลกใจ ไปถามนาง นางคนนี้ก็ไม่ตอบอะไร จนมีคอยแอบสังเกตและแอบตามนางไปที่นางไปหาของป่า จนไปเจอเข้ากับแร่ทองเหมือนกับทองแท่งที่ขวางเหมือนสะพานข้ามลำห้วย ก็พากันแตกตื่นไปทั่วเมือง เรื่องเลยไปถึงพระกรรณของผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ทำให้มีแต่ผู้คนมีความโลภ และผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ก็ได้สั่งให้คนรับใช้และทหาร จะพากันไปตัดทองนั้น เพื่อที่จะได้เยอะ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลื่อย ขวาน มีด จอบ เมื่อมีความโลภ จิตไม่มีคุณธรรมดังนั้น อาจจะเพราะสิ่งศักดิ์หรือเทวดาที่คอยปกปักรักษาทองคำนี้ไว้ เมื่อมีคนใช้ขวานและเลื่อยตัดให้ขาด ปรากฎว่า ทองคำก็ขาดออกจากกันและได้ไหลเข้าไปในภูเขาเสียทั้งหมด ทำให้ไม่มีใครได้ทองคำนั้นอีกเลย พยามขุดหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดอยแห่งนี้ก็เลยได้ชื่อว่าดอยคำ ซึ่งมีตำนานเรื่องเล่ามากมาย เช่น ตำนานการสร้างพระธาตุ ที่มีการขนทองคำบรรทุกบนหลังม้ามาเพื่อที่จะสร้างเจดีย์ เป็นต้น หากมีเวลาผู้เขียนจะได้นำไปลงไว้ที่เว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org นะครับ ท.ทิวเทือกเขา” ใน ปัจจุบันแม้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และร่องรอยของตำนานที่เล่าขานสืบกันมาจะทรุดพังและถูกทำลายลงตามเหตุแห่ง สมัย แต่สิ่งที่ปรากฏเป็นความสง่างามเหนือชุมชนแห่งนี้ คงยังมีให้ลูกหลานมองเห็นอยู่บ้าง อาทิ พระธาตุดอยคำ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวเชียงคำทุกคน อย่าง ไรก็ตามจากคำบอกเล่าของพ่ออุ้ยแม่อุ้ยและพระสงฆ์ในชุมชนแห่งนี้ หลายท่านระบุว่า ก่อนที่จะมาเป็นชุมชนบ้านคุ้ม-บ้านสบสานั้น ชุมชนดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณป่าเหนือหมู่บ้านขึ้นไปอีกราว 2-3 กิโลเมตร ที่เรียกว่า “ป่าห้วยน้ำสา” โดยบริเวณดังกล่าวพบซากอิฐเก่าของวัดร้างและเศษพระพุทธรูปจำนวนมาก เท่าที่ปรากฏให้เห็น ได้แก่ วัดพระธาตุทุ่งสา อยู่บริเวณป่าห้วยน้ำสา จากปากคำของพ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าว่า ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา จะมีแสงคล้ายดวงแก้วลอยขึ้นมาในบริเวณพระธาตุนั้น แล้วค่อย ๆ เคลื่อนมาวนเวียนที่พระธาตุดอยคำ จากนั้นก็ลอยมาที่วัดคุ้ม ลอยต่อไปยังวัดพระนั่งดิน และกลับมาเช่นเดิม เป็นอย่างนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว นอกจากนี้ในบริเวณนั้น ชาวบ้านมักจะได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงฆ้อง เสียงกลองตีดังสนุกสนานเหมือนงานวัดอยู่บ่อย ๆ เช่นกัน วัดโป่งหนองขอน อยู่บริเวณไม่ห่างไกลจากวัดพระธาตุทุ่งสานัก ตามคำบอกเล่าได้ระบุว่ามี “บ่อจืน” (บ่อตะกั่ว) ในบริเวณนั้นด้วย ที่แห่งนั้นจะเป็นที่ถลุงเงิน ถลุงทองคำในอดีต ซึ่งตำนานได้กล่าวถึงสายแร่ทองคำในเขตนี้ด้วย ต่อมาชาวบ้านได้ถมบ่อนี้เพราะวัวควายมักจะตกลงไป วัด ห้วยถ้ำอยู่บริเวณห้วยถ้ำหรือ “ดอยโปด” (ภูเขาถล่ม) ที่แห่งนี้เล่าว่า มีถ้ำที่เก็บพระพุทธรูปและวัตถุโบราณหลายอย่างในช่วงสงครามพม่า (ประมาณ พ.ศ. 2101) แต่ต่อมาน้ำได้เซาะดินเกิดถล่มปิดถ้ำไว้ หลายปีต่อมามีชาวบ้านรุ่นหลังไปขุดค้นและขโมยพระพุทธรูปออกมาได้จำนวนไม่ นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระพุทธรูปออกมาได้จำนวนไม่น้อย บางส่วนก็เก็บรักษาบูชาที่วัดคุ้ม นอก จากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระพุทธรูปและข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณได้ที่ บริเวณ “วังกว๊าน” ปัจจุบันเป็นที่สวนและไร่นาของชาวบ้านไปแล้ว เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน “พ่ออุ๊ยหม่องคำ” ได้พบพระพุทธรูปทองจำนวนมากในบริเวณนี้โดยบังเอิญ ชาวบ้านแห่ไปขุด แต่ปรากฏว่ามีแต่ผงขี้เถ้า
พระครูขันติวชิรธรรม ปราชญ์พระสงฆ์ เจ้าคณะตำบลร่มเย็น เล่าให้ฟังว่า นอกจากพุทธสถานต่าง ๆ แล้ว บริเวณนี้ยังปรากฏร่องรอยของการทำการเกษตรของชุมชนดั้งเดิมด้วย คาดว่าจะเป็นการทำนา เพราะปรากฏมีคันนาบางแห่งซึ่งขณะนี้ได้ฟื้นเป็นป่าไปหมดแล้ว พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยหลายคนเล่าว่า บริเวณป่าห้วยสา ยังมีบริเวณที่เรียนกว่า “ทุ่งทัพ” อันเป็นที่พักของกองทัพที่มาตั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยปรากฏมีร่องน้ำหนึ่งชื่อ “ร่องขี้ม้า” แสดงว่าอาจจะมีกองทหารม้ามาตั้งอยู่ที่นี่ด้วย นอกจากนั้นยังมีทุ่งเลี้ยงสัตว์ และแหล่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า “กอดสองห้อง” และ”กอดป่าครั่ง” พ่อ อุ้ยแม่อุ้ยหลายท่านช่วยกันวิเคราะห์ว่า การโยกย้ายวัดและชุมชนจากป่าห้วยสา ลงมาสู่บ้านคุ้มนั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการถูกรบกวนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อาจจะเป็นไชยภูมิในการรบหนึ่ง เนื่องจากบริเวณบ้านคุ้มมีสาขาน้ำยวนและร่องลำห้วยมากมาย เหมาะจะเป็นคูป้องกันข้าศึกได้ หรืออาจจะเป็นเพราะสมัยก่อนมีสิงสาราสัตว์มากชอบออกมารบกวนสัตว์เลี้ยงของ ชาวบ้านหนึ่ง หรืออาจจะเพราะมีพื้นราบมาก มีพื้นที่ชุ่มน้ำ “หนอง” ได้รับน้ำจากหลายสาย ฯลฯ หลัง จากนั้นหนองและร่องน้ำบางสายก็ตื้นเขิน จึงมีการขยายชุมชนและมีราษฎรจากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากจังหวัดน่านอพยพมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติมอีก ชุมชนบ้านคุ้มและบ้านสบสาก็ขยายเป็นบ้านหนอง บ้านร้อง บ้านโจ้โก้ ฯลฯ ใน ส่วนชุมชนเก่าแก่ที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่านั้น ก็กลับฟื้นเป็นป่าที่สมบูรณ์ กลายเป็นป่าใช้สอยหรือป่าชุมชนของชาวบ้าน แต่ในช่วงปี 2505 รัฐบาลกลับเปิดให้เอกชนสัมปทานป่าบริเวณนี้ ทำให้ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ตะเคียนถูกโค่นล้มลงไปจำนวนมาก นายทุนได้ใช้ช้างลากติดต่อกันหลายปี จนมีชื่อบริเวณหนึ่งว่า “ปางช้าง” อย่าง ไรก็ตามประมาณช่วงปี พ.ศ. 2512 พ่อหลวงหวัน จอมนาสวน ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านคุ้ม จึงประกาศให้ป่าห้วยสาเป็นเขตอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ห้ามมีการตัดไม้ทำลายป่าจากบุคคลภายนอกอย่างเด็ดขาด อนุญาตให้แต่เพียงคนในชุมชนที่ต้องการสร้างบ้านเท่านั้น แต่ก็ถูกท้าทายจากภายนอกบ้าง สืบ ต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยที่นายเจริญ แจ้งสว่าง ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านประมาณปี 2533 ได้มีการตั้งกฎระเบียบป่าห้วยสาอย่างเข้มงวดอีกครั้ง มีการตั้งคณะกรรมการและลงโทษอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานราชการป่าไม้เข้าร่วมดำเนินงานด้วย จนทำให้ป่าผืนนี้สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอเชียงคำด้านตะวันออก สำหรับ ป่าต้นน้ำห้วยสานี้ประกอบด้วยลำห้วยกว่า 10 สาขา ได้แก่ ห้วยถ้ำ ห้วยหวายฝาด ห้วยต้นหล้อง ห้วยแคแดง ห้วยครูบา ห้วยคาวตอง ห้วยน้ำบง ฯลฯ ไหลรวมกันเป็นห้วยน้ำสายาวประมาณ 30 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่การเกษตรกว่าหมื่นไร่ ในสองตำบลได้แก่ ตำบลร่มเย็นและตำบลเจดีย์ อันเป็นพื้นที่ผลิตข้าว ข้าวโพด หอมแดง สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชน ทั้งนี้น้ำสานั้นมีไหลตลอดทั้งปีทำให้ทำการเพราะปลูกพืชได้ทุกฤดู ด้วย ความสมบูรณ์ของชีวิต และความผูกพันต่อสายน้ำและป่าไม้ ชุมชนบ้านคุ้มได้รวมตัวกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงผีขุนน้ำและบวชป่าสืบชะตาต้นไม้ประจำทุกปี และที่โดดเด่นคือการฟังเทศน์กลางแม่น้ำ หรือพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมัจฉาพระยาปลาช่อน ซึ่งริเริ่มโดยพระครูขันติวชิรธรรม เจ้าคณะตำบลร่มเย็น อันเป็นธรรมเทศนาขอฟ้าฝนตามคติโบราณที่ถือว่าใช้เทศน์ให้เกิดฝนตกต้องตามฤดู กาล เรื่อง พระยาปลาช่อนนี้ มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ณ ดินแดนแห่งหนึ่งได้เกิดความแห้งแล้งทุกข์เข็ญยิ่งนัก แม่น้ำแห้งขอดจนกาและแร้งสามารถบินลงมาจิกกินกุ้ง หอย ปู ปลาในหนองได้ นอกจากนี้ข้าวกล้าไร่นาผู้คนก็แห้งตายไม่มีเหลือ พระยาปลาช่อนผู้มีใจกุศล อันก็คือพระโพธิสัตว์ ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์บังเกิดให้มีฝนฟ้าตกลงมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงการสั่งสอนให้มนุษย์มีใจรักในหมู่ญาติพี่น้องของตน เมื่อญาติพี่น้องมีทุกข์ตนเองก็จะต้องช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ธรรม เทศนาปลาช่อนบทนี้อาจจะสอนใจคนในยุคสมัยปัจจุบันได้ดี หากทุกคนช่วยกันรักษาป่า รักษาแม่น้ำลำธาร ไม่ตัดไม้ทำลายแม่น้ำเพียงเพราะความเห็นแก่ตัวคนเดียว ซึ่งถ้ารักษาป่าก็หมายถึงการเกื้อกูลญาติพี่น้องนั่นเอง ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ เมืองของเราก็มั่นคงถาวร ปรากฏการณ์เล็ก ๆ ที่เมืองเชียงคำน่าจะพิสูจน์ให้เราประจักษ์ได้ไม่มากก็น้อย
ประวัติความเป็นมา บ้านเกษตรสมบูรณ์ สำหรับ ประวัติความเป็นมา ก่อนที่จะกลายมาเป็นบ้านเกษตรสมบูรณ์ ในปัจจุบันนี้ ก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รู้ พ่ออุ้ยแม่อุ้ย พ่อหน้อย พ่อหนาน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้เล่าให้ฟังถึง เรื่องราวความเป็นมาในอดีตของผู้คนชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ซึ่งมีที่ไปที่มาต่างที่ต่างทางกัน เพราะในสมัยอดีตนั้น มีการอพยพย้ายที่ทำกินกันไปตามที่ต่างๆ ที่อุดมสมบูรณ์ มีที่ทำกิน โดยเฉพาะบริเวณไหนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ก็มักจะมีหมู่บ้านไปรวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณจุดนั้น การเดินทางในสมัยอดีตนั้น ใช้วิธีการเดินทางโดยล้อเกวียน การเดินทางไปเป็นครอบครัวเดี่ยว หรือไปเป็นกลุ่มเป็นคณะบ้าง โดยได้เดินทางมาจากทางตำบลเจดีย์คำ เช่น บ้านร่องค้อม บ้านอัมพร บ้านปัว บ้านปีน บ้านกว๊าน บ้านปุ๊ บ้านบุญยืน บ้านดอนลาว เป็นต้น ที่มาจากตำบลเวียง ก็มีเช่น บ้านปี้ บ้านทราย บ้านกอม บ้านดอนแก้ว เป็นต้น และก็มาจากตำบลอื่นๆ เช่น ตำบลแม่ลาว ตำบลหย่วน ตำบลเชียงบาน ตำบลทุ่งกล้วย ก็มีอยู่บ้าง ฯลฯ เป็นต้น แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเขยหรือเป็นสะใภ้เสียมากกว่า เพราะราษฎรส่วนใหญ่แล้ว จะสืบเชื้อสายมาจากทางตำบลร่มเย็นมากกว่ามากกว่าการสืบเชื้อสายมาจากตำบล อื่น โดยบางครอบครัวก็ได้อพยพย้ายมาจาก บ้านร้องเก่า บ้านร้องใหม่ บ้านใหม่เจริญสุข บ้านห้วยสา บ้านคุ้ม บ้านสบสา บ้านหนองร่มเย็น บ้านโจ้โก้ บ้านปางถ้ำ ฯลฯ เป็นต้น
ชุมชน เหล่านี้ สันนิษฐานว่า ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2361 โดยราษฎรกลุ่มแรกนั้น เป็นคนพี้นเมืองในท้องถิ่นดั้งเดิมอยู่แล้ว และประมาณ ปี พ.ศ. 2441 ได้มีราษฎรจากจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาอยู่เพิ่มเติมมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ดั้งเดิมนั้นสืบเชื้อสายมาจากผู้คนพื้นเมือง ได้อาศัยกันอยู่ที่่บ้านก๊อด บ้านบน บ้านแขม บ้านร่องดินแดง บ้านโจ้โก้ “ปัจจุบันหมู่บ้านเหล่านี้ ไม่ปรากฎรูปร่างหรือสภาพหมู่บ้านให้เห็นเป็นหมู่บ้านแล้ว เพราะพื้นที่บางส่วนกลายเป็นทุ่งนา ที่ไร่ที่สวน เป็นที่ทำการเกษตรของหมู่บ้านไปหมดแล้ว มีเพียงแต่บ้านโจ้โก้เท่านั้น ที่ยังคงสภาพให้เห็นหมู่บ้านอยู่อยู่มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ต่อ มา เมื่อวันเสาร์ ที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ได้มี ครอบครัวของนายแก้ว มาสุข และ ครอบครัวของ นายเงิน รุ่งเรือง ได้พากันย้ายจากบ้านก๊อดและบ้านทุ่งบน มาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ โดยได้ปลูกบ้านอยู่ใกล้กันที่ 4 แยก ทางไปบ้านโจ้โก้ในปัจจุบัน และต่อมาก็เริ่มมีชาวบ้านครอบครัวอื่นๆ ได้ทยอยกันย้ายตามมาจนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ ในครั้งตอนที่ย้ายครอบครัวกันมาครั้งแรกนั้น บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้ ยังคงใช้ชื่อหมู่บ้านตามหมู่บ้านเดิมอยู่ มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง 1 คน ในสมัยนั้นคือ นายเป็ง ฐานะราช ชื่อหมู่บ้านคือ บ้านโจ้โก้ มีวัดแห่งหนึ่งชื่อวัดดอนมูลหรือวัดโจ้โก้เก่า และเรียกหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ว่าบ้านโจ้โก้ใหม่ หมู่ที่ 15 ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมา นายเป็ง ฐานะราช ได้เสียชีวิตลง ทางราชการได้เลือกและแต่งตั้งให้ นายทอง หายทุกข์ เป็นผู้ใหญ่บ้านสืบต่อมาอีก 10 กว่าปี และเมื่อ นายทอง หายทุกข์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทางราชการได้เลือกและแต่งตั้งให้ นายมานพ ฐานะราช สืบต่อมา จากนั้นไม่นาน ทางราชการได้แบ่งการปกครองใหม่ คือ ได้แยกตำบลเจดีย์คำ ออกเป็น ตำบลร่มเย็น จากหมู่ที่ 15 ให้เป็นหมู่ที่ 4 และเปลี่ยนการปกครองจากจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520
สำหรับ หมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ทางองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการวางเสาไฟ และปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ชาวบ้านใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีพุทธศักราช 2527 เมื่อมีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆก็เริ่มเข้ามาสู่หมู่บ้านของเรา และมีผู้คนพากันอพยพครอบครัวมาอยู่ยังหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้เพิ่มมาก ขึ้น และประชากรก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทางชาวบ้าน จึงมีการประชุมตกลงกัน เพื่อที่จะขออนุญาตทางการ ที่จะทำให้ชุมชนของตนเองตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ โดยที่จะเลือกผู้นำขึ้นมาเพื่อปกครองหมู่บ้านของตนเอง เมื่อทางมติที่ประชุมได้เห็นสมควรแล้ว จึงได้แจ้งให้ทางราชการทราบ และตั้งชื่อชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเองว่า บ้านเกษตรสมบูรณ์ เนื่องจากเห็นว่าสภาพของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านข้าวปลาอาหาร ที่ทำกิน มีแม่น้ำและลำเหมืองไหลผ่าน สามารถที่จะทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
เมื่อ นายเหลา รุ่งเรือง ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ สมัยที่ 2 ท่านก็ไม่ได้สมัครต่อในสมัยที่ 3 แต่ท่านได้ไปทำงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็นแทน โดยท่านได้ดำรงตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น และได้เปิดโอกาสให้แก่น้องชายของตนเอง เข้ามาเพื่อสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ แทนตำแหนงที่ว่างลง ทางราชการก็ได้ทำการเปิดรับสมัครผู้ที่จะมาดำรงเป็นผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ คนใหม่ ก็ได้มีชาวบ้านมาสมัครกันหลายคน แต่เมื่อชาวบ้านได้ทำการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้ง ปรากฎว่า นายเหลี่ยม รุ่งเรือง ก็ชนะผลการเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ และทางราชการก็ได้แต่งตั้งท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้ปกครองหมู่บ้านจนครบวาระสมัยที่ 1 เมื่อหมดวาระในสมัยแรก ก็ไม่มีใครสมัครอีก เนืองจากชาวบ้านมีมติ เห็นว่าท่านได้ทำงานช่วยเหลือหมู่บ้านอย่างจริงจัง และนำพาหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ให้มีความเจริญก้าวหน้า จนกลายเป็นหมู่บ้านนำร่อง หมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ชนะเลิศได้ที่ 1 ในการประกวดหมู่บ้านประจำอำเภอถึง 2 สมัยซ้อน เนื่องจากท่านเป็นผู้นำหนุ่มไฟแรง และรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน เป็นประชาธิปไตย ไม่มีอคติลำเอียง ไม่เลือกญาติพี่น้อง ทำงานอย่างจริงจัง ทำให้ได้รับความไว้วางใจ เป็นที่รักและเคารพของชาวบ้าน แม้ในสมัยที่สอง ท่านจะไม่อยากจะรับตำแหน่ง แต่ชาวบ้านก็ยังให้การสนับสนุน เนื่องจากในสมัยที่ 2 ท่านมีสิทธิ์ที่จะชิงตำแหน่งกำนันตำบลร่มเย็น ที่หมดวาระลง แต่เมื่อท่านสมัครเข้าชิงปรากฎว่า การเลือกตั้งกำนันตำบลร่มเย็นในครั้งนี้ ไม่ได้เหมือนครั้งก่อนๆ คือ ในสมัยนี้ (พ.ศ. 2552) การรับสมัครและการเลือกตั้ง ให้เลือกกันที่ประชุมของอำเภอ และผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่ใช่ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลอีกต่อไปแล้ว แต่ให้อำนาจผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมุ่บ้านเป็นคนเลือกกันเอง เพราะฉะนั้นผู้นำหมู่บ้านทั้งตำบลร่มเย็น ที่มีเพียง 21 หมู่บ้านก็ได้ใช้ดุลพินิจและความคิดเห็นของลูกบ้านของตนเอง เลือกกำนันคนใหม่ ปรากฏว่า ท่านกำนันคนเก่า คือ นายเจริญ ก็สมัครเข้าชิงตำแหน่งในสมัยที่ 2 เหมือนกัน ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งกำนันเจริญ ชนะไปด้วยคะแนนเสียง 11 ต่อ 8 คะแนน ท่านเพ้ไปเพียง 3 คะแนน ทำให้ท่านไม่ได้เป็นกำนันตำบลร่มเย็น เนื่องจากชาวบ้านคาดว่า หากท่านได้ดำรงตำแหน่ง คงจะทำให้หมู่บ้านและตำบลร่มเย็น พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเห็นผลงานของท่านที่ทำไว้กับหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา อย่างไรก็แล้วตาม ท่านก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยได้แต่งตั้งให้ นายธงชัย มาสุข และนายกวด แจ้งสว่าง เป็นผู้ช่วย ในสมัยแรก และในสมัยที่สอง พ.ศ. 2552 ได้ตั้งนาย ธงชัย มาสุข และ นายติด วงศ์แก้ว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยกันทำงานและพัฒนาหมู่บ้าเกษตรสมบูรณ์ของเราสืบไป
พื้นที่ โดยทั่วไปของหมู่บ้าน เป็นที่ราบพื้นที่ใกล้เชิงเขา เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้ภูเขา และติดทุ่งนา ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถทำเทือกสวน ไร่นา ได้ตลอดปี ทุ่งนา ไม่เคยว่างจากการทำการเกษตร ทั้งการปลูกหอมแดง กระเทียม ข้าวโพด ถั่วลิสง ยาสูบ ทำสวนลำไย ลิ้นจี่ สวนขิง สวนยางพารา เป็นต้น
บ้าน เกษตรสมบูรณ์ เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง ไม่ใหญ่และเล็กเกินไป มีชัยภูมิที่ดี และมีอาณาเขตติดต่อ ทั้งภูเขา ทุ่งนา แม่น้ำ และพื้นที่ทางการเกษตร อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี จึงได้ชื่อว่า บ้านเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
บ้าน เกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีประชากรอยู่ทั้งหมด 138 ครัวเรือน จำนวนประชากร 489 คน เป็นเพศชาย 244 คน เป็นเพศหญิง 245 (พ.ศ. 2551) ปัจจุบัน พ.ศ. 2552 บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง มีประชากรอยู่ทั้งหมด 138 ครัวเรือน จำนวนประชากร 489 คน เป็นเพศชาย 244 คน เป็นเพศหญิง 245 มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครอง นับตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านมาเมื่อปีพุทธศักราช 2533 มีผู้ใหญ่บ้านปกครองมาแล้วจำนวน 3 คน ดังนี้
คณะกรรมการกลุ่มพัฒนาสตรี
คณะกรรมการกลุ่มผู้สูงอายุ
คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีล้านนา
หาก ท่านมีเวลาว่าง ท่านก็สามารถอ่านบทความของเว็ปมาสเตอร์ได้ที่นี่ครับ มีหลายเรื่องหลายตอนให้ท่านได้เลือกอ่าน ก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้างก็อย่าได้ว่ากันนะครับ ไม่มีเจตนาใดใดแอบแฝง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ หรืออยากพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ มีสาระสร้างสรรค์ ก็ขอเชิญท่านแอดผมไปเป็นเพื่อนได้หลายช่องทางครับ ติดต่อผมได้ โดยคลิ๊กที่ชื่อที่ใช้ได้เลยครับ
วัน เวลาเปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ขอร้องคนบ้านเฮาใส่ใจ๋ ช่วยกั๋นดูแลฮักษาไว้ หื้อลูกหื้อหลาน ได้สืบสานตำนานฮีตฮอยบะเก่ามะเกื้อ (ใครมีข้อมูลที่ดีกว่านี้ ช่วยส่งเมล์ ไปบอกกันหน่อยนะครับ ที่ kasetsomboon999@hotmail.com หรือที่ songkran999@hotmail.com ยินดีตอบ และให้คำปรึกษาครับ ….ท.ทิวเทือกเขา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |