ประเพณียี่เป็งแก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 25 กรกฏาคม 2009 เวลา 04:20 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 13:37 ในเดือนยี่ ของทางเหนือ ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน ขึ้น 15 ค่ำ ตามตำนาน พงศาวดาร โยนกและจามเทวีได้กล่าวไว้ว่า ได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้น ในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองได้อพยพหนีไปอยู่เมืองหงสาวดี เป็นเวลาประมาณ 6 ปีจึงเดินทางกลับมายังบ้านเมืองเดิม พอถึงวันครบรอบเวลาที่ได้จากบ้านเมืองไป จึงได้ทำเป็นกระถางใส่เครื่องสักการะบูชาธูปเทียนลอยตามน้ำไปเพื่อให้ไปถึง ญาติพี่น้องและบรรพบุรุษที่ล่วงลับในหงสาวดีและเรียกการลอยกระทงนี้ว่า ลอยโขมดหรือลอยไฟ ก่อนจะถึงวันยี่เป็ง 2 – 3 วัน ชาวบ้านจะนำเอาก้านมะพร้าว ต้นกล้วย อ้อย ดอกไม้ มาทำเป็นซุ้มประตู ที่หน้าบ้าน ตามประตูวัด เรียกว่าประตูป่า และทำความสะอาดบ้านเรือน เมื่อถึงตอนเช้าวันยี่เป็ง ก็จะมีการทำบุญ และนำข้าวปลาอาหาร ถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วเรียกว่า ตานขันข้าว ฟังเทศน์ธรรม พอหัวค่ำก็จะนำกระถางเทียน หรือ ขี้ผึ้ง เรียกว่า ผางปะตี้บ มาจุดเรียงไว้หน้าบ้าน หรือตามรั้วบ้าน หรือ จุดโคมแขวน ไว้ตามหน้าบ้าน และจะมีการ จุดโคมลอย การจุดโคมลอย มี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ปล่อยในตอนกลางวัน เรียกว่าว่าว จะเน้นที่ตัวโคมทำด้วยกระดาษหลากสีสัน ให้เห็นได้ชัด จะใช้การรมควัน ในการทำให้โคมลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า การจุดโคมลอยในตอนกลางวัน มักจะนำเงิน หรือสิ่งของ หรือเขียนข้อความ ว่าผู้ใดเก็บโคมนี้ได้ก็นำไปรับของรางวับจากผู้จุด ส่วนโคมลอย ที่ปล่อยในตอนกลางคืน จะเรียกว่า โคมไฟ ตัวโคมจะทำด้วย กระดาษสีขาว เพื่อให้เห็นแสงไฟที่ใช้จุดรมเอาไอร้อน เพื่อให้โคมลอยขึ้น ทำให้เห็นเป็นแสงไฟลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าดูสวยงาม ยิ่งนัก การจุดโคมลอย นี้ตามตำนานกล่าวว่า ทำเพื่อบูชา พระเกษแก้วจุฬามณี และในช่วงค่ำ ๆ ก็จะพากัน นำเอากระทง ที่ได้จัดทำไว้ไปลอย ใน แม่น้ำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.geocities.com/lanna_thai/index.htm |
|
อีกที่มาหนึ่ง
ประเพณียี่เป็ง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา โดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย งานประเพณีจะมีสามวันคือ
ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [1] อ้างอิง |
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |