|
พจนานุกรมกำเมืองล้านนา
  
เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันอาทิตย์ที่ 09 สิงหาคม 2009 เวลา 04:24
กำเมือง คืออะหยัง และ อะหยังคือกำเมือง หลาย ๆ ท่านอาจจะเกยได้ยินได้ฟังมา แต่ว่า บ่เกยได้ฮู้ว่า กำเมืองนั้นมาจากไหน และกำบางกำตี้ได้ยินมานั้นหมายความว่าจะใด วันนี้ไม้เอกก่อจะนำเสนอสาระน่าฮู้แล้วก่อ กำเมืองบางกำหื้อกับทุกท่านได้ลองอ่านดูน่อครับ
กำเมือง หรือ คำเมือง เป๋นภาษาถิ่นตี้ใจ๊ในภาคเหนือต๋อนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะอู้กั๋นนักใน เจียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เจียงฮาย พะเยา น่าน หละปูน ลำปาง ตาก และ แป้ และยังมีก๋ารอู้และก๋ารผสมภาษากั๋นในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก แล้วก่อเพชรบูรณ์แหมตวย
นอกจากนี้ กำเมืองยังเป๋นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป๋นกลุ่มชนตี้อาศัยอยู่ในภาคเหนือต๋อนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้าน นาในอดีต ปัจจุบันกลุ่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นตี้อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาแหมตวย
กำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษา ไทยกลางแต่ใจ๊คำศัพท์บ่เหมือนกั๋น แต่เดิมได้ใจ๊ กู้กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป๋นตั๋วอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใจ๊อักษรมอญเป๋นต้นแบบ
เอาล่ะ ครับ ทีนี้ลองมาดูตั๋วอย่างกำเมืองกั๋นดูครับ ว่าจะแปลกแล้วก่อแตกต่างกับภาษากล๋างจะใดพ่อง เริ่มต้นด้วยกำเมืองตี้เกี่ยวกับพืช ผัก ผลไม้ กั๋นก่อนละกั๋นเนาะ เพราะเป๋นของตี้อยู่ใกล้ตั๋วดี
มะละกอ = บะก้วยเต้ด
กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้ / ก้วยอ่อง / ก้วยนิอ่อง
มะตูม = บะปีน
ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง เขียวหวาน
แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )
น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้ / น้อยแหน้
บวบงู = ม่ะนอยงู
มะเขือเปราะ = บะเขือผ่อย
มะเขือยาว = บะเขือขะม้า – – ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า / ม่ะเขือหำม้า
มะระขี้นก = บะห่อย,บะลี้
แตงกวา = บะแต๋ง
กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย
พุทรา = หม่ะตัน
ละมุด = หม่ะมุด
กระท้อน = บะตื๋น หมะต้อง
มะปราง = บะผาง หมากปราง
ฝรั่ง = บ่ะก้วย, บ่ะก้วยก๋า, บ่ะหมั้น, บะแก๋ว
ขนุน = หม่ะหนุน,บ่ะหนุน
มะพร้าว = หม่ะป๊าว
ส้มโอ = บะโอ
ฟักทอง = บะฟักแก้ว / บะน้ำแก้ว / น้ำแก้ว
ฟักเขียว = บะฟักหม่น
มะแว้ง = บะแขว้งขม
มะเขือพวง = บะแขว้ง /บ่ะแขว้งกุลา
ลูกยอ = หม่ะต๋าเสือ
มะเขือเทศ = บะเขือส้ม
ตะไคร้ = จั๊กไค
คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)
ผักตำลึง = ผักแคบ
ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเศษ จากผู้ชม
ดำคึลึ หมายถึง คนอ้วนล่ำผิวดำ
ดำผืด หมายถึง ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง
ดำคุมมุม หมายถึง ดำสลัวอยู่ในความมืด
ดำขิกติ้ก หมายถึง ดำซุปเปอร์
ดำคิมมิม หมายถึง คนผอมกระหร่อง ผิวดำ
ดำเหมือนเเหล็กหมก หมายถึง ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ
ดำเหมือนหมิ่นหม้อ หมายถึง ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ
ดำผึด หมายถึง ดำทั่วทั้งแถบ
ดำผึดำผึด หมายถึง ดำมากๆทั่วๆไป
แดงฮ่าม หมายถึง แดงอร่าม
แดงเผ้อเหล้อ หมายถึง แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว
แดงปะหลึ้ง หมายถึง แดงจัดมาก
แดงปะหลิ้ง หมายถึง แดงอมชมพู แดงเป็นจุดเล็กๆ
เหลืองฮ่าม หมายถึง เหลืองอร่าม
เหลืองเอิ่มเสิ่ม หมายถึง เหลืองอมส้ม
เขียวอุ้มฮุ่ม หมายถึง เขียวแก่
เขียวปึ้ด หมายถึง เขียวจัดมาก
มอยอ้อดฮ้อด หมายถึง สีน้ำตาลหม่น
ขาวจั๊วะ หมายถึง ขาวนวล
ขาวโจ๊ะโฟ้ะ หมายถึง ขาวมากๆ
ขาวเผื้อะขาวเผือก หมายถึง มองไปทางไหนก็ขาวไปหมด
เปิดเจ้อะเห้อะ หมายถึง สีขาวซีด
หม่นซ้อกป้อก หมายถึง หม่นมัวหรือเทาอ่อน
หม่นโซ้กโป้ก หมายถึง หม่นสกปรกหรือสีเทาแก่
หมองซ้อกต๊อก หมายถึง ดูเก่า หรือซีด จืดไป
เส้าแก๊ก หมายถึง สีหม่นหมองมาก
เส้าตึ้มตื้อ หมายถึง ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส
ลายขุ่ยหยุ่ย หมายถึง ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง
ใสอ้อดหล้อด หมายถึง สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
ใส่ยงยง หมายถึง สว่างจ้า
ปอด โทะโทะโท้ หมายถึง โอ้โฮมันขนาดนี้เชียวหรือ
บะหลาดจาดเจษ หมายถึง รีบร้อนลุกขึ้นไปอย่างกระทันหัน
เคิ้อว หมายถึง อะไรนี่,โท่,ไม่ถูกใจ, เช่นเคิ้อวอะหยั๋งนี่
ชุ๊กเข้าป่าคุ่ม หมายถึง หกล้มเข้าในป่าหญ้าหรือบริเวนที่มี
หญ้าและ ต้นไม้หลายๆอย่าง
ฮานิบ่าเฮ้ย หมายถึง กูละเบื่อ
ปี้นจะลี้น หมายถึง กลับหัวกับหาง
ขะโละโบะ หมายถึง หล่นลงอย่างแรง
ขี้ปู๋ม หมายถึง สะดือ
ขี้จ่ม หมายถึง คนชอบบ่น
ปิ๊ดจะลิว หมายถึง นกปรอดหัวโขน
กั๊ดต้อง หมายถึง กินอิ่มแล้ว
กั้ง หมายถึง นอนละเมอ รีบร้อนแบบไม่มีเหตุผล
หมดลึ้ง หมายถึง หมดไม่มีเหลือแล้ว
เฮี้ยเบอะเฮี้ยเบิ๋อ หมายถึง ทิ้งไปเรื่อยไม่เป็นที่เป็นทาง
หล่มโม้ง หมายถึง เดินไปแล้วตกหลุม
เยี่ยวใส่เตี่ยว หมายถึง ฉี่ราดกางเกง
ขะหลำ หมายถึง ลูกอันทะ
ตกโต หมายถึง ตุ๊กแก
จั๊กกะเลิอเกลี้ยง หมายถึง จิ้งเหลน |