ศิลปวัฒนธรรมประเพณี | สำนึกรักบ้านเกิด | ความรู้ | คติธรรมคำคม | ศาสนา | ทั่วไป |
คลิ๊กอ่านบทความต่างๆ ได้ในแต่ละหัวข้อเลยนะครับ |
พญาคำฟู ยุคการวางฐานอำนาจของอาณาจักรล้านนา
เมื่อ พ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง โอรสคือ ขุนดำแดงสืบราชสมบัติแทนเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๑๖ พ่อขุนดำแดงมีโอรสชื่อ ขุนคำลือซึ่งครองราชสมบัติแทนต่อมา ในสมัยนั้นพระยาคำฟูผู้ครองนครชัยบุรีศรีเชียงแสน ชวนพระยากาวเมืองน่านยกทัพตีเมืองพะเยาแต่พระยาคำฟูตีได้ก่อนเกิดขัดใจกัน สู้รบกันขึ้นพระยาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระยากาวเมืองน่านติดตามไปยกทัพเลยไปตีถึงเมืองฝางได้ แต่ถูกทัพของพระยาคำฟูตีถอยล่นกลับเมืองน่าน เมืองพะเยาในสมัยนั้นอ่อนแอมากจึงได้รวมอยู่กับอาณาจักรลานนา พุทธศักราช ๑๙๔๙ พระเจ้าไสลือไทยยกกองทัพหมายตีเมืองเชียงใหม่และผ่านเขตเมืองพะเยา หมายตีเอาเมืองพะเยาด้วย แต่ไม่สำเร็จ
พญาคำฟูหรือที่เรียกกันว่า เจ้าคำฟู หรือท้าวคำฟู เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์เม็งราย แห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1877 – 1879 รวมระยะเวลาการครองราชย์ 2 ปี จากการแย่งชิงราชสมบัติจากพญาแสนภู การกระทำนี้สร้างความพิโรธให้พญาไชยสงคราม ซึ่งทรงปกครองเชียงรายอยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้ว เมื่อพญาคำฟูครองราชย์ พระองค์ก็จึงได้ทรงย้ายราชธานีจากนครเชียงใหม่ กลับไปยังอยู่ยังเมืองเชียงแสนอีกครั้ง แต่ในที่สุด พระองค์ก็ถูกพญาไชยสงครามปราบ แล้วถูกจองจำอยู่ที่ในป้อมปราการด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ (แจ่งกู่เฮือง)
![]() |
อ่านบทความศิลปวัฒนธรรมและเรื่องราวเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ล้านนา คลิ๊กที่ภาพได้เลยครับ |
พระญาคำฟู (พ.ศ.๑๘๗๗-๑๘๗๙) รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์มังราย เมื่อพระญาแสนภูสิ้นพระชนม์ พระญาคำฟูได้ขึ้นครองราชย์ พระญาคำฟูทรงมอบให้ พระญาผายูราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสน อาณาจักรล้านนาในสมัยนี้ มีความเข้มแข็ง เห็นได้จากนโยบายขยายอาณาเขตไปทางตะวันออก โดยเริ่มทำสงครามกับพะเยาในปี พ.ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งมีผู้ปกครองคือ ขุนคำลือ โดยพระญาคำฟูทรงชักชวนพระญากาวแห่งเมืองน่านยกทัพตีเมืองพะเยา แต่พระญาคำฟูเข้าเมืองพะเยาจึงเอาทรัพย์สินในเมืองทั้งไปทั้งหมด พระญากาวน่านจึงยกทัพมาตีพระญาคำฟู พระญาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระญากาวเมืองน่านติดตามไปยกทัพเลยไปตีถึงเมืองฝางได้ แต่ถูกทัพของพระญาคำฟูที่ยกทัพใหญ่มาตีถอยล่นกลับเมืองน่าน เมืองพะเยาในสมัยนั้นอ่อนแอมากจึงได้ถูกยึดเมืองผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักล้านนานับแต่นั้นมา หลังจากยึดพะเยาได้แล้วพ.ศ.๑๘๘๓ พระญาคำฟูขยายอำนาจไปยังเมืองแพร่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงถอยทัพกลับมาทางเมืองลำปางมาประทับทีเมืองเชียงใหม่ (แสดงให้เห็นว่าการรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ทางตะวันออก ของล้านนา ไม่ใช่กระทำได้ง่าย ๆ และการย้ายที่ประทับของกษัตริย์มายังแคว้นตอนบนถึง ๓ รัชกาลติดต่อกัน ก็เป็นเหตุผลด้านยุทธศาสตร์ พระ ญาคำฟูสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงคำ) พ. ศ. ๑๘๘๗ เสด็จไปเยี่ยมพระสหายเป็นเศรษฐีใหญ่ชื่องัวหงส์อยู่เมืองเชียงคำ อันตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำคำ
พระญาคำฟูกับเศรษฐีงัวหงส์ คนนี้รักใคร่กันมากจนถือน้ำสาบานต่อกันว่าจะไม่คิดร้ายต่อกัน หากผู้ใดผู้หนึ่งคิดร้ายขอให้มีอันเป็นไปถึงชีวิต เศรษฐีงัวหงส์เป็นคนค่อนข้างขี้ริ้วขี้เหร่อยู่ แต่น้ำใจงดงามทั้งยังมีภรรยาสาวสวยชื่อ นางเรือนแก้ว เมื่อพระญาคำฟูเสด็จถึงบ้านเศรษฐีนางเรือนแก้วก็ต้อนรับขับสู้ด้วยความสนิท สนม เอาน้ำมาล้างพระบาทให้เมื่อวันเวลาผ่านมาผ่านไปด้วยความสนิทชิดใกล้ประกอบ กับนางเรือนแก้วก็เป็นคนสวย ทั้งสองก็มีความพึงพอใจต่อกัน พระญาคำฟูและนางเรือนแก้วจึงลักลอบสมัครสังวาสกัน ด้วยเหตุที่พระองค์เสียสัตย์สาบานต่อมหามิตร ครั้นอยู่มาได้ ๗ วัน พระญาคำฟูลงไปสรงน้ำดำเศียรเกล้าที่ * แม่น้ำคำ ก็มีเงือกผีพรายน้ำใหญ่ตัวหนึ่ง(จระเข้) ออกมาจากเงื้อมผาตรงเข้าขบกัดเอาร่างพระญาคำฟูหายลงไปในน้ำผ่านไปถึง ๗ วันร่างนั้นจึงลอยขึ้นมา สวรรคตเมื่อพระชนม์ ๔๗ พรรษา เสนาอำมาตย์จึงเชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน แล้วจึงทูลเชิญเสด็จท้าวผายูมาจัดการพระบรมศพถวายพระเพลิงพระญาคำฟู แล้วอัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระองค์บรรจุลงในผอบทองคำชั้นหนึ่ง ผอบเงินชั้นหนึ่ง ผอบทองแดงอีกชั้นหนึ่งไปยังนครเชียงใหม่ แล้วก่อพระสถูปเจดีย์องค์เล็กบรรจุไว้ ณ ริมตลาดลีเชียง แล้วโปรดให้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่ง ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ ตั้งชื่อว่าวัดลีเชียง(ปัจจุบันคือวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) ต่อมาได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ มีทองคำจารึกลายพระนามพระมหา เถรในยุคนั้นหนังถึง ๓๖๐ บาท ส่วนนางเรือนแก้วมีความเสียใจมากจึงผูกคอตาย เศรษฐีงัวหงส์ก้เสียใจต่อเหตุการณ์จึงถือศีลภาวนาตลอดชีวิต
เมื่อ พระญาคำฟูสิ้นพระชนม์ ท้าวผายูได้สืบราชสมบัติแทน แต่ไม่ได้เสด็จไปประทับอยู่เมืองเชียงแสน คงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ดังนั้น เมืองเชียงใหม่จึงได้มีความสำคัญกลายเป็นศูนย์กลาง ของราชอาณาจักรอีกครั้งและนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็น ราชธานี ของอาณาจักรล้านนาอย่างแท้จริง และกษัตริย์ล้านนาในลำดับต่อๆมา จะประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่แทบทุกพระองค์
แผ่นจารึกมหาเจดีย์และกู่บรรจุอัฐิพระญาคำฟู
ใน สมัยของพระญาไชยสงคราม-สมัยพระญาคำฟู นับว่าเป็นสมัยของการสร้างราชอาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นรากฐานของความรุ่งเรือง และมหาอำนาจในกาลต่อมา ตั้งแต่สมัยพระญาไชยสงครามจนถึงสมัยพระญาคำฟู ได้มีการย้ายที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขึ้นไปยังเชียงรายและเชียงแสนตาม ลำดับ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า อาณาจักรล้านนาช่วงรัชสมัยพระญาไชยสงครามถึงพระญาคำฟู มีศูนย์กลาง ๒ แห่ง คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก มีศูนย์กลางที่เชียงรายกับเชียงแสนตามลำดับและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงมี ศูนย์กลางที่เชียงใหม่ สันนิษฐานว่าการย้ายที่ประทับขึ้นไปอยู่แคว้นโยนน่าจะมาจากปัจจัยสำคัญ ๒ ประการดังนี้
๑.การรวมภูกามยาวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา แม้ว่าพระญามังรายมหาราชจะประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา โดยรวบรวมเมืองต่างๆ ในเขตแคว้นโยนและเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ได้แล้วก็ตาม แต่เข้าใจว่าในเขตแคว้นโยน อาณาจักรล้านนายังมิได้มีอำนาจเหนือเมืองต่าง ๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จโดยเฉพาะภูกามยาวที่ยังมิได้รวมเข้ากับล้านนาอย่างแท้จริง มีฐานะเป็นเพียงพันธมิตรและในสมัยพระญาไชยสงคราม มีฐานะเป็นเครือญาติ โดยการแต่งงานระหว่างพระญาคำแดง เจ้าเมืองภูกามยาวกับนางแก้วพอตา พระธิดาของพระญาไชยสงคราม สมัยพระญาคำฟูพระองค์สร้างพันธมิตรกับเมืองน่านร่วมมือกันยกทัพเข้าไปโจมตี ภูกามยาว และหลังจากนั้นเป็นต้นมาผู้ปกครองที่ ขึ้นครองเมืองพะเยาจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์ที่เชียงใหม่ (หอวชิรญาณ บัญชีหนังสือจ้างแปล แฟ้มที่ ๑๔ เลขที่ ๔๓ พงศาวดารเมืองพะเยา: ๕๖) และมักจะถูกส่งมาจากเชียงใหม่เสมอ (ประชุมจารึกเมืองพะเยา ๒๕๓๘: ๕๘-๖๗)
๒.การขยายเขตแดนของอาณาจักรไปจดแม่น้ำโขง ด้วยการตั้งเมืองเชียงแสนออกไปประชิดแม่น้ำโขงและใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมือง ธรรมชาติ ฉะนั้นบทบาทสำคัญของเชียงแสนคือ เป็นเมืองหน้าด่านในการรับศึกตอนบน และเป็นศูนย์กลางตอนบนในการรับสินค้าจากทางตอนเหนือของพม่า และทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นแหล่งสินค้าสำคัญ เช่น อัญมณี ทองเหลือง และชะมดเช็ด เป็นต้น การสร้างอำนาจประชิดแม่น้ำโขงอีกวิธีการหนึ่งคือ การสร้างพันธมิตรกับเมืองเชียงของด้วยการแต่งงานระหว่างพระญาผายู โอรส ของพระญาคำฟูกับพระนางจิตราเทวีพระธิดาเจ้าเมืองเชียงของซึ่งมีพระโอรสคือ พระญากือนา ผู้ปกครองอาณาจักรล้านนาลำดับที่ ๖ และพระญากือนาเองก็แต่งงานกับหลานของเจ้าเมืองเชียงของเช่นกัน ความสำคัญของเชียงของคือเป็นเมืองหน้าด่านรับสินค้าทางฝั่งหลวงพระบาง ซึ่งสินค้าที่ทำรายได้ที่มาจากหลวงพระบางเช่นครั่ง และกำยาน เป็นต้นในสมัยรัชกาลพระญาผายูโอรสของพระญาคำฟู ได้ทรงย้ายที่ประทับกลับลงมาที่เชียงใหม่ตามเดิม ผู้ปกครองเชียงใหม่พระองค์ต่อมาได้ดำเนินนโยบายในการสร้างเชียงใหม่ให้เป็น ศูนย์กลางที่เข้มแข็ง และเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในทุกๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และศูนย์กลางของแนวความคิด เป็นต้น
![]() |
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องด้วย ประวัติการสร้างเมืองพะเยา คลิ๊กที่ภาพได้เลยครับ หรือ อยากอ่านบทความศิลปวัฒนธรรมประเพณี คลิ๊กตรงนี้ครับ |
กู่บรรจุอัฐิพระญาคำฟู วัดพระสิงห์วรวิหาร จ.เชียงใหม่ กู่ อัฐิของ พญาคำฟู เป็นกู่เล็กๆ ลักษณะเป็นทรงกลมเส้นรอบวงประมาณเมตรครึ่งด้านบนเป็นแผ่นศิลาทรงกลมปิดไว้ อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถทางทิศเหนือเยื้องขวาไปประมาณ ๑๐ เมตร คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าพระธาตุหลวงเป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู ซึ่งสมัยของครูบาศรีวิชัย มาแผ้วถางบูรณะวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ได้พบกู่อัฐิค้นพบข้างในมีผอบบรรจุอัฐิซ้อนกัน ๓ ใบ ชั้นนอกทำด้วยทองเหลืองหนัก ๒๕๔ บาท ๓ สลึง สูง ๒๓ นิ้ว ชั้นกลางทำด้วยเงินหนัก ๑๘๕ บาท ๒ สลึง สูง ๑๘ นิ้ว ชั้นในสุด ทำด้วยทองคำหนัก ๑๒๒ บาท ๒ สลึง สูง ๑๔ นิ้ว และยังพบแผ่นทองจารึกเรื่องราวต่าง ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอัฐิของพญาคำฟูผู้สร้างวัด ทางราชการได้นำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ชั่วคราว ซึ่งตั้งอยู่ที่ข่วงสิงห์ และขณะนั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ผอบทั้ง ๓ ใบ และจารึกตลอดถึงเครื่องราชูปโภคเหล่านั้นได้สูญหายไปในขณะเกิดสงครามซึ่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔
![]() |
อ่านประวัติและเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธาตุดอยคำ โดยคลิ๊กที่ภาพครับ |
(หมายเหตุ อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของ อาจารย์ผดุง ประวัง “เรื่อง หนึ่งหรือยังเป็นปริศนาอยู่จนถึงทุกวันนี้ ตามตำนานยุคการวางฐานอำนาจของอาณาจักรล้านนา ( เชียงใหม่ ) มาทางฝากตะวันออกของล้านนาสมัยพญาคำฟู ก็คือเรื่องที่พญาคำฟูได้มาสิ้นพระชนต์ ณ เมืองเชียงคำ เมื่อปีพ.ศ.1887 ก็ประมาณ 669 ปีผ่านมาแล้ว โดยพระองค์ได้เสด็จมาเยี่ยมพระสหายเป็นเศรษฐีใหญ่ชื่องัวหงส์อยู่เมืองเชียง คำ อันตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำคำ ตรงนี้แหละครับว่า จะเป็นเมืองเชียงคำที่ตั้งอยู่ที่บ้านคุ้มหรือตั้งอยู่ที่ บ้านเวียง แต่ท่านพระครูพิศาลนพกิจเจ้าคณะตำบลเวียงท่านได้รับการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้ แก่ว่าแม่น้ำคำมีอยู่จริงบริเวณบ้านเวียงนี้แหละ แต่แม่น้ำคำได้ไหลเปลี่ยนทิศเหมือนเวียงลอนั่นแหละจึงทำให้แม่น้ำคำหายไป ส่วนแม่น้ำลาวที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นแม่น้ำที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากแม่น้ำ คำไหลเปลี่ยนทิศแล้วและศาลเจ้าที่ที่ตั้งอยู่บริเวณป่าสุสานบ้านเวียงนั้น ชาวบ้านบอกว่าเป็นเจ้าเมืองมาจากเชียงใหม่ และตามตำนานบอกว่าเงือกผีพรายน้ำใหญ่ตัวหนึ่งได้งับเอาพญาคำฟูจมน้ำหายไปถึง 7 วันศพถึงโผล่ขึ้นมาแล้วเสนาอำมาตย์จึงเชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน จะเป็นไปได้ไหมว่าศพพญาคำฟูจมน้ำไปถึง 7 วันศพย่อมเน่าเปื่อยและส่งกลิ่นเหม็นน่าจะมีการเผาศพพญาคำฟูที่ริมฝั่งแม่ น้ำคำที่อยู่บริเวณป่าสุสานบ้านเวียงนี้แล้วนำกระดูกกลับไปทำวิธีใส่ผอบแล้ว ส่งต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ ส่วนกระดูกและส่วนอื่นๆที่เหลือของพระศพคงจะฝั่งไว้ที่ป่าสุสานบ้านเวียง ซึ่งก็คือศาลเจ้าที่ที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้ ซึ่งชาวบ้านก็บอกว่าเป็นเจ้าเมืองมาจากเชียงใหม่ครับ “
จากตรงนี้ ผู้เรียบเรียง ท.ทิวเทือกเขา อยากจะขอสันนิษฐานหรือตั้งสมติฐานอีกแนวหนึ่งไว้เพื่อรอการพิสูจน์หรือขุด ค้นในอนาคต ซึ่งข้อมูลตรงนี้ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ยังรอการขุดค้นจากนักโบราณคดี คำว่า แม่น้ำคำ ซึ่งตามความหมายของคนล้านนาหรือภาคเหนือเรา ก็คือแม่น้ำทอง หรือ อาจจะเป็นแม่น้ำที่มีแร่ทองปะปนอยู่ด้วย ซึ่งจากข้อสันนิษฐานของผู้เรียบเรียง ได้เคยฟังและเคยพบเห็นผู้คนนักขุดค้นและนักร่อนทอง เขาก็กล่าวกันว่า ในตำบลร่มเย็นของเรามีแร่ทองอยู่ด้วยกันหลายที่ ทั้งที่เป็นตำนานการสร้างพระธาตุดอยคำ ก็มีเรื่องเราปรัมปราดังนี้
![]() |
![]() |
“ตาม ตำนานเรื่องเล่า การพบแร่ทองคำระหว่างลำห้วย พ่ออุ้ยแม่อุ้ยได้เล่าเรื่องปรัมปรา ให้ฟังว่า ตะก่อนเคยมีแร่ทองคำไหลออกจากลำห้วย แล้วมีแม่หม้ายยากจนเป็นคนไปพบสายแร่ทองทองนี้เป็นคนแรก นางก็ได้เก็บเรื่องราวนี้ไว้เป็นความลับอยู่นาน เพราะนางถึงแม้จะเป็นคนยากจน แต่นางเป็นคนมีจิตใจที่มีคุณธรรมไม่โลภมาก บ้างก็เล่าว่า เพราะเทวดาสงสารนาง เลยเนรมิตให้นางพบกับแร่ทองคำนี้ เมื่อนางพบทองเป็นลักษณะนี้ นางก็ได้ใช้มีดทำการขูดเอาวันละเล็กละน้อยพอหลายวันเข้าก็ได้เยอะขึ้นแล้วนำ ไปขาย ทำให้ครอบครัวของนางมีฐานะดีขึ้น ชาวบ้านก็พากันแปลกใจ ไปถามนาง นางคนนี้ก็ไม่ตอบอะไร จนมีคอยแอบสังเกตและแอบตามนางไปที่นางไปหาของป่า จนไปเจอเข้ากับแร่ทองเหมือนกับทองแท่งที่ขวางเหมือนสะพานข้ามลำห้วย ก็พากันแตกตื่นไปทั่วเมือง เรื่องเลยไปถึงพระกรรณของผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ทำให้มีแต่ผู้คนมีความโลภ และผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ก็ได้สั่งให้คนรับใช้และทหาร จะพากันไปตัดทองนั้น เพื่อที่จะได้เยอะ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลื่อย ขวาน มีด จอบ เมื่อมีความโลภ จิตไม่มีคุณธรรมดังนั้น อาจจะเพราะสิ่งศักดิ์หรือเทวดาที่คอยปกปักรักษาทองคำนี้ไว้ เมื่อมีคนใช้ขวานและเลื่อยตัดให้ขาด ปรากฎว่า ทองคำก็ขาดออกจากกันและได้ไหลเข้าไปในภูเขาเสียทั้งหมด ทำให้ไม่มีใครได้ทองคำนั้นอีกเลย พยามขุดหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดอยแห่งนี้ก็เลยได้ชื่อว่าดอยคำ
นอก จากนั้นแล้ว จากข้อสันนิษฐานอีกอย่างในเรื่องของแร่ทองคำ ก็มีผู้คนพยายามหาแหล่งแร่ทองคำ เท่าที่ทราบและเคยได้ยินมา ในเขตตำบลร่มเย็นก็มีผู้คนเคยพบสายแร่หรือแหล่งแร่ทองคำ บริเวณแถวดอยกิ่วนาค เนื่องด้วยในบริเวณเขตตำบลร่มเย็น จะพบกู่ ซากปรักหักพัง ก้อนอิฐ (ดินกี่ หินศิลาแลงโบราณ) จำนวนเยอะมาก ในบริเวณท้องทุ่งนาของชาวบ้าน หรือตามสถานที่ต่างๆ เช่น บริเวณ ทุ่งเก้าพร้าว หัวนาเต๊อะ ดงขุนหาญ) ซึ่งนับวันก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา นอกจากนั้นแล้ว ทางเขตตำบลร่มเย็นของเรา ก็มีอาณาเขตติดกับดินแดนประเทศลาว ที่มีสายแร่ทองคำอยู่ที่เมืองปากบ่อ แขวงไชยะบุรี ทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังทำการร่อนทองอยู่ ดังนั้น ขอสันนิษฐานตรงนี้อาจจะกว้างไป ก็ขอตั้งสมมติฐานไว้คร่าวๆ ไว้รอการพิสูจน์แล้วกันนะครับ
ศิลปวัฒนธรรมประเพณี | สำนึกรักบ้านเกิด | ความรู้ | คติธรรมคำคม | ศาสนา | ทั่วไป |
คลิ๊กอ่านบทความต่างๆ ได้ในแต่ละหัวข้อเลยนะครับ |
ท่าน ผู้ใดมีข้อมูลดีๆ หรือมีภาพถ่ายหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ตำนาน หรือข้อมูลดีๆ อยากจะแบ่งปันกันก็ส่งกันเข้ามาได้ที่ kasetsomboon999@hotmail.com หรือ songkran999@hotmail.com นะครับ ยินดีแลกเปลี่ยนความเห็นและแบ่งปันความรู้กันนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
-http://www.bloggang.com (วัดพระสิงห์วรวิหาร ถ.สิงหราช อ.เมือง จ.เชียงใหม่)
-http://aortai.multiply.com (ประวัติศาสตร์ล้านนา: aortai)
-http://www.baanjomyut.com (จังหวัดพะเยา:ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา:บ้านจอมยุทธ)
-http://gist.soc.cmu.ac.th (โครงการโบราณคดีภาคเหนือเฉลิมพระเกียรติ:จากยุคน้ำแข็งไพลสโตซีนสู่สมัย ล้านนา บทที่หนึ่ง บทนำ:อุษณีย์ ธงไชย)
-http://www.baanmaha.com (ที่มาอาณาจักรเมืองเชียงแสน:บ้านมหาดอทคอม:ญา ทิวาราช)
-http://travel.upyim.com (วัดพระสิงห์วรวิหาร)
-http://www.sanyasi.org (ตำนานเมืองเชียงแสน:สันยาสี)
หาก มีข้อผิดพลาดประการใด ที่เกี่ยวกับข้อมูลและรูปภาพ กระผมขอน้อมรับคำแนะนำติชมได้ตลอดเวลา ภาพและข้อมูลต่างๆ หากใครมีเพิ่มเติมก็ส่งให้ผมได้นะครับ ผมก็รวบรวมได้ตามที่พอจะหาได้ ซึ่งก็มีให้ชมมากมายในเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org นะครับ ท่านสามารถรับชมภาพและข้อมูลต่างๆของทางเว็ปไซต์ของได้โดยคลิ๊กไปที่หัวข้อ หรือ เรื่องราวต่างๆในหน้าเว็ปไซต์ของเราได้เลยครับ หรือจะเลือกรับชมวีดีโอต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์และวัดของ เรา ก็ขอเพียงท่านพิมพ์คำว่า วัดเกษตรสมบูรณ์ ในเว็ปไซต์ http://www.youtube.com ท่านก็จะสามารถรับชมวีดีโอต่างๆได้ ซึ่งมีอยู่จำนวนเยอะแยะมากมายหลายร้อยหลายพันวีดีโอ หรือ หากท่านจะเข้ารับชมในเว็ปไซต์ผ่านทางเฟรชบุ๊คที่ เว็บไซต์ รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ หรือของ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา ขอบกราบขอบพระคุณครับ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 1 | 11. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 11 |
2. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 2 | 12. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 12 |
3. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 3 | 13. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 13 |
4. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 4 | 14. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 14 |
5. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 5 | 15. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
6. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 6 | 16. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
7. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 7 | 17. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
8. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 8 | 18. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
9. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 9 | 19. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
10. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 10 | 20. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
ขอบคุณนะครับ ที่ติดตามอ่านบทความของผม นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างอ่างเก็บน้ำญวนได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 1 | 4. | ติดตามโครงสร้างอ่างฯ | สำนักข่าว |
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 2 | 5. | ความเป็นมาของโครงการฯ | บทนำ |
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 3 |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของดอยผาขาม (ดอยผาข่าม) ตำนานสอนใจ ได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 1 | 6. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 2 |
2. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 2 | 7. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 3 |
3. | ตำนานพระสุธนมโนราห์ | ตำนาน | 8. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 4 |
4. | ตำนานนกหัสดีลิงค์ | ตำนาน | 9. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 5 |
5 | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 1 |
หาก ท่านมีเวลาว่าง ท่านก็สามารถอ่านบทความของเว็ปมาสเตอร์ได้ที่นี่ครับ มีหลายเรื่องหลายตอนให้ท่านได้เลือกอ่าน ก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้างก็อย่าได้ว่ากันนะครับ ไม่มีเจตนาใดใดแอบแฝง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ หรืออยากพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ มีสาระสร้างสรรค์ ก็ขอเชิญท่านแอดผมไปเป็นเพื่อนได้หลายช่องทางครับ ติดต่อผมได้ โดยคลิ๊กที่ชื่อที่ใช้ได้เลยครับ
ที่ | ช่องทางการติดต่อ | ชื่อที่ใช้ | ที่ | ช่องทางการติดต่อ | ชื่อที่ใช้ |
1. | ทาง Face Book ส่วนตัว | นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา | 5. | อีเมลล์ ส่วนตัว | songkran999@hotmail.com |
2. | ทาง Face Book หมู่บ้าน | รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ | 6. | อีเมลล์ หมู่บ้าน | kasetsomboon999@hotmail.com |
3. | ทาง Face Book เพื่อนๆ |
Kasetsomboon City | 7. | Skype | kasetsomboon999 |
4. | ทาง MSN | songkran999@hotmail.com | 8. | Line | Dan |
ท่านสามารถอ่านบทความและเนื้อหาต่างๆของเว็ปไซต์นี้ ผ่านหัวข้อต่างๆดังนี้ |
ที่ | หัวข้อ | ที่ | หัวข้อ | ที่ | หัวข้อ |
1. | บทนำ | 8. | บทความสำนึกรักบ้านเกิด | 15. | รวมลิงค์ต่างๆ |
2. | ข้อตกลงก่อนชม | 9. | บทความคติธรรมคำคม | 16. | เว็ปบอร์ด |
3. | ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์ | 10. | บทความวัฒนธรรมประเพณี | 17. | ติดต่อเรา |
4. | ประวัติวัดเกษตรสมบูรณ์ | 11. | รวมรูปภาพ | 18. | ฟังเพลงคำเมืองบ้านเฮา |
5. | บทความทั่วไป | 12. | ฟังวิทยุออนไลน์ | 19. | อ่านข่าวย้อนหลัง |
6. | บทความให้ความรู้ | 13. | ราคายางพาราวันนี้ | 20. | บันทึกการเดินทาง |
7. | บทความเกี่ยวกับศาสนา | 14. | แผนที่บ้านเกษตรสมบูรณ์ | 21. | เกี่ยวกับผู้จัดทำ |
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ เพื่ออ่านเป็นไฟล์ pdf คลิ๊กตรงหัวข้อได้เลยครับ | |||||
1. | รวมประวัติอำเภอเชียงคำ | ดาวน์โหลด | 4. | ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
2. | หน้าปกหนังสือ | ดาวน์โหลด | 5. | ประวัติวัดเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
3. | คำนำสารบัญ | ดาวน์โหลด | 6. | คำสอนสุภาษิตล้านนา | ดาวน์โหลด |
อย่า เพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ นี่แค่เป็นการเกริ่นเริ่มต้นของบทความ ยังมีต่ออีกเยอะ จะหาเวลามาพิมพ์ พร้อมอัพเดทภาพประกอบให้น่าสนใจ มีข้อแนะนำติชม หรือ ช่วยกันตรวจปรุ๊พ แล้วส่งไปที่ songkran999@hotmail.com จักขอบพระคุณยิ่ง
เพื่อ การพัฒนาปรับปรุงเว็ปไซต์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป ขอร้องให้ทุกท่านที่เข้ามารับชมเว็ปไซต์ของเรา ทำตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็ปเราด้วยนะครับ ใครที่ไม่เข้าใจกฎของเรา คลิ๊กไปอ่านที่นี่ได้นะครับ ข้อตกลงในการรับชมเว็ปไซต์ของเรา หรือ อ่านบทนำและวัตถุประสงค์ของการจัดทำเว็ปไซต์ ก่อนนะครับ
จากใจ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
* หมายเหตุ
วัน เวลาเปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ขอร้องคนบ้านเฮาใส่ใจ๋ ช่วยกั๋นดูแลฮักษาไว้ หื้อลูกหื้อหลาน ได้สืบสานตำนานฮีตฮอยบะเก่ามะเกื้อ (ใครมีข้อมูลที่ดีกว่านี้ ช่วยส่งเมล์ ไปบอกกันหน่อยนะครับ ที่ kasetsomboon999@hotmail.com หรือที่ songkran999@hotmail.com ยินดีตอบ และให้คำปรึกษาครับ ….ท.ทิวเทือกเขา
![]() ![]() ![]() ![]() |
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |