![]() คลิ๊กอ่านข้อมูลและดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ภาพเลยครับ ของคุณภาพจากพี่ Kowit Chaimuang |
|
โดย อาจารย์ผดุง ประวัง |
|
วัดพระแก้ว ( วัดเวียงหลวง ) กับเม็ดแก้วข้าวของพระเจดีย์วัดพระแก้ว พระเจดีย์วัดพระแก้วองค์นี้ จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หมู่บ้านเวียง จากการไปเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่าของชาวบ้าน วันที่ 6 พ.ค.2557 พ่ออุ้ยที่ให้ข้อมูลคือ พ่ออุ้ยแก้ว ฤดีใจ อายุ 80 ปี พ่ออุ้ยตา เรือนแก้ว อายุ 89 ปี พ่ออุ้ยสี เย็นใจ อายุ 75 ปี ได้ประวัติความเป็นมาคราวๆดังนี้ เดิมบริเวณวัดพระแก้วเป็นวัดร้างมีแต่ฐานราก ชาวบ้านได้สร้างวิหารหลังที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันนี้เมื่อปีพ.ศ.2250 หรือประมาณ 307 ปีที่แล้วเรียกชื่อวัดว่า “ วัดเวียงหลวง “ แต่ชาวบ้านในสมัยนั้นบางคนก็เรียกวัดแห่งนี้ว่า “ วัดแก้วข้าว “ ต่อมาภายหลังชาวบ้านกลับเรียกวัดนี้ว่า “ วัดพระแก้ว “ และหลังวิหารมีกู่เก่าสูงประมาณ 3 เมตรเศษ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยเมืองเชียงคำในอดีตประมาณ 1,000 ปีพร้อมๆกับวัดช้างเผือกและวัดหัวข่วงแก้ว รอบๆกู่แห่งนี้จะมีอิฐ ( ดินกี่ ) ก้อนโตๆสลักหักพังอยู่โดยรอบและมีพระเครื่องสกุลเชียงแสน เช่นพระใบโพธิ์ต่างๆและพระสกุลลำพูน เช่น พระคงสีต่างๆที่พบจะเป็นพระคงแดงและพระคงดำเสียเป็นส่วนใหญ่ไม่มีใครสนใจ เพราะสมัยก่อนยังไม่มีค่าใดๆ สมัยเด็กๆพ่ออุ้ยทั้ง 3 ท่านเคยเก็บพระคงดำพระคงแดงมาโยนเล่น เมื่อเล่นโยนพระกันจนเบื่อแล้วจะพากันเอาพระคงต่างๆเหล่านั้นไปทิ้งลงรูแตก หรือรอยแยกกว้างประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 1 วา รูแตกหรือรอยแยกนี้อยู่ระหว่างหลังวิหารกับพระเจดีย์ เมื่อทิ้งพระคงลงไปในรอยแยกนี้จะมีเสียงพระคงกระทบกับผนังแข็งๆเสียงมันจะ ดังไหลลงไปลึกมาก แต่รอยแยกนี้ปัจจุบันได้เทซีเมนต์ทับไว้หมดแล้ว ต่อมาไม่ทราบปีพ.ศ.พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้มาบูรณะพระเจดีย์ ( กู่ ) องค์นี้ขึ้นมาใหม่ โดยได้นำเม็ดแก้วข้าวบรรจุไว้ส่วนบนของพระเจดีย์องค์นี้ด้วย เม็ดแก้วข้าวนี้ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่ามีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้ว สมัยนั้นทางวัดหรือพระสงฆ์จะเก็บเม็ดแก้วข้าวนี้ไว้ในขันขนาดใหญ่บนกุฎิพระ สงฆ์ ( โฮง ) เม็ดแก้วข้าวนี้ชาวบ้านจะนำมาเสี่ยงทายปีละ 1 ครั้งช่วงวันสงกรานต์ เม็ดแก้วข้าวเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่เล็กหลากหลายไม่เท่ากันมีจำนวนมากมีสี ต่างๆ เช่น สีขาว สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีใส สีชมพู เป็นต้น เมื่อถึงวันสงกรานต์ชาวบ้านหรือพระสงฆ์จะนำเม็ดแก้วข้าวมาไว้ในวิหารแล้วดู ลักษณะการคงอยู่ของเม็ดแก้วข้าว ถ้าเม็ดแก้วข้าวเม็ดใหญ่ลอยขึ้นมาอยู่ข้างบนเป็นจำนวนมากแสดงว่าปีนั้น ข้าวจะเจริญงอกงามน้ำทาจะดี แต่ถ้าเม็ดแก้วข้าวเม็ดเล็กๆลอยขึ้นมาอยู่ข้างบนมากกว่าเม็ดใหญ่แสดงว่าปี นั้นข้าวไม่เจริญงอกงามน้ำทาจะไม่ดีอย่างนี้เป็นต้น สันนิษฐานว่าเม็ดแก้วข้าวที่ผู้เฒ่าผู้แก่เอ่ยถึงหรือเล่าถึงนั้นน่าจะเป็น พระธาตุขนาดต่างๆนั่นเอง ประวัติวัดพระแก้ว วัดพระแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 145 บ้านเวียง หมู่ที่ 6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ ( น.ส.3 ก เลขที่ 261 ) อาณาเขตของวัด ทิศเหนือประมาณ 75 เมตรจดถนน ทิศใต้ประมาณ 95 เมตรจดถนน ทิศตะวันออกประมาณ 50 เมตรจดถนน ทิศตะวันตกประมาณ 45 เมตรจดถนน ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 50 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วยวิหาร อุโบสถ ศาลา และกุฏิสงฆ์ นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีอ่านหนังสือพิมพ์สำหรับประชาชน วัดพระแก้วสร้างปีพ.ศ.2250 เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดเวียงหลวง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ปีพ.ศ.2415 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 46 เมตร การบริหารและปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ ประวัติเมืองเชียงคำในอดีตมีอายุประมาณ 900 ปี และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองเวียงพางคำ ก่อตั้งมาเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองชะราวที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านคุ้ม ต.ร่มเย็น ตอนแรกเข้าใจว่าเมืองเชียงคำหรือเวียงพางคำและเมืองชะราวเป็นคนละยุคกัน แต่ตามประวัติการอพยพมาตั้งรกรากสร้างบ้านแปลงเมืองของชาวไทยจากตอนใต้ของประเทศจีน มีอายุประมาณ 1,000 ปีโดยประมาณ จึงสันนิษฐานว่าเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงแสน เชียงของ ฝาง เชียงคำ ภูกามยาว แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ อยู่ในยุคเดียวกัน ประวัติเมืองเชียงคำเก่าหรือเมืองเวียงพางคำที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียง ม.6 ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา หมู่บ้านเวียงเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่อดีตตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ( พ.ศ.1600 -1700 ) มีอายุราว 900 ปี ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเชียงคำในอดีต โดยมีข้อสันนิษฐานจากตำนานสิงหนวัติกุมารว่าชาวเมืองอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน ชนชาวไทยกลุ่มนี้ได้แสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อสร้างบ้านแปลงเมืองและมีหลายเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น ในบรรดาเมืองเหล่านั้น มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองเวียงพางคำ เมืองเวียงพางคำที่ว่านี้มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองเชียงคำเก่าที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียง หมู่ 2 ตำบลเวียงในปัจจุบันนี้ และจากตำนานการแผ่ขยายอาณาจักรล้านนาขึ้นมาทางทิศเหนือฝั่งตะวันออก ได้บันทึกไว้ว่าพญาคำฟูแห่งราชวงศ์มังราย ได้เสด็จมาเยี่ยมพระสหายเป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่าเศรษฐีงัวหงส์ที่เมืองเชียงคำและได้มาสิ้นพระชนต์ที่เมืองเชียงคำอันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคำแห่งนี้เมื่อปีพ.ศ.1887 พระชนมายุได้ 47 พรรษา หลักฐานที่แสดงว่าเป็นเมืองโบราณเก่าแก่คือซากวัดวาอาราม กู่เก่า และกำแพงดิน ซึ่งโบราณสถานกำแพงดินและคูเมืองยาวล้อมรอบเป็นวงกลมหรือคล้ายเลข 8 มีร่องรอยกินเนื้อที่ตั้งแต่หมู่บ้านเวียง หมู่บ้านดอนไชย หมู่บ้านดอนแก้ว หมู่บ้านพระนั่งดิน หมู่บ้านคือ และพบศิลาจารึกที่วัดเวียงพระแก้วซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ กรมศิลปากรได้ให้ความคิดเห็นไว้ว่าศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น มีศิลาจารึกบางส่วนถูกนำไปไว้ที่พระศรีโคมคำ ( วัดพระเจ้าตนหลวง ) ในระยะแรกเจ้าสิงหนวัตกุมารได้จัดตั้งเมืองเวียงพางคำ หรือเมืองเชียงคำแห่งนี้จากชุมชนขนาดเล็ก และขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา และพ่อขุนจอมธรรมผู้ก่อตั้งเมืองภูกามยาวหรือเมืองพะเยา ปีพ.ศ.1639 ได้ผนวกเอาเมืองเวียงพางคำหรือเมืองเชียงคำไว้เป็นหัวเมืองหนึ่งของเมืองภูกามยาว เมืองเวียงพางคำหรือเมืองเชียงคำในสมัยอาณาจักรล้านนาปีพ.ศ. 1805 ถูกปกครองโดยพ่อขุนเม็งรายมหาราชร่วมสมัยเดียวกันกับพ่อขุนงำเมืองซึ่งได้ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง สมัยต่อมา พญาแสนภูพระนัดดาของพ่อขุนเม็งราย ได้ขึ้นครองราชสมบัติได้จัดการปกครองให้เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นเมืองปันนาขึ้นตรงต่อเมืองเชียงแสน ต่อมาพญาคำฟูได้ปกครองล้านนาได้ยกกองทัพไปตีเมืองภูกามยาวหรือพะเยาจนชนะ และยกกองทัพไปตีเมืองแพร่ เมืองน่านแต่ไม่สำเร็จ พญาคำฟูได้มาพักกองทัพที่เมืองเชียงคำนี้หลายครั้ง เมืองเชียงคำตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนามาโดยตลอด ( 2101 – 2130 ) ต่อมาพม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และยึดได้เมืองในอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พม่าได้แบ่งการปกครองอาณาจักรล้านนาเป็น 2 ส่วน คือเมืองลุ่มแม่น้ำปิง มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง และเมืองลุ่มแม่น้ำกก-แม่น้ำอิง มีเมืองเชียงแสนเป็นศูนย์กลาง ส่วนเมืองเชียงคำเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงแสน ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้ปกครองอาณาจักรล้านนาทั้งหมด ได้จัดให้มีเจ้าผู้ครองนครเมืองต่าง ๆเมืองเชียงคำ จึงขึ้นตรงต่อหัวเมืองล้านนา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้จัดการปกครองหัวเมืองต่างๆ เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปีพ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 ได้ปกครองประเทศเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เมืองเชียงคำได้จัดให้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณน่านเหนือซึ่งมีเมืองในสังกัด 8 เมือง ต่อมาเมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำได้ถูกยุบรวมเป็นเขตปกครองเดียวกันเรียกว่าแขวงน้ำลาว ได้จัดตั้งที่ทำการแขวงน้ำลาว ณ. หมู่บ้านเวียง ต่อมาประมาณต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2445 ได้เกิดขบฎชาวไทยใหญ่ ( ขบฎเงี้ยว ) ได้มาตั้งทัพที่ทุ่งเชียงคำได้เข้าปล้นและยึดเมืองเชียงคำได้แล้วเผาทำลายเมืองจนหมดสิ้น และจับนายแขวงเมืองเชียงคำประหารชีวิต พระยาดัสกรปลาสได้รับมอบหมายให้ยกกองทัพมาปราบกบฏไทยใหญ่จนสำเร็จ และเห็นว่า เมืองเชียงคำถูกทำลายเสียหายจนหมดสิ้น จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ทำการใหม่ ณ.หมู่บ้านหย่วนอันเป็นชุมชนไทลื้อเมื่อปีพ.ศ.2446 ตั้งแต่นั้นมาเมืองเชียงคำที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเวียง จึงถูกลดฐานะลงมาเป็นหมู่บ้านในปีพ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศทางการได้จัดการปกครองให้มีการจัดตั้งเป็นตำบล หมู่บ้าน บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงจึงถูกรวมเป็นตำบลเวียงและหมู่บ้านเวียงได้ถูกจัดให้เป็นหมู่ 6 ของตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำในการปกครอง ต่อมาในปีพ.ศ. 2535 ทางราชการได้จัดการปกครองตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แบ่งการปกครองบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมูบ้านเวียง หมู่ที่ 6 ตำบลเวียง ได้เข้าร่วมเป็นหมู่บ้านเขตสุขาภิบาลบ้านทราย และสุขาภิบาลบ้านทรายได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลในปีพ.ศ.2544 ดังนั้นหมู่บ้านเวียงจึงเป็นชุมชนหนึ่งในเขตเทศบาลบ้านทรายมาจนถึงปัจจุบัน วัดบ้านเวียงเดิมชื่อ วัดเวียงหลวง แต่ต่อมาสันนิษฐานว่าพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชเจ้าแห่งอาณาจักรล้านช้างได้เดิมทัพผ่านมาพักที่เมืองเชียงคำหรือเมืองเวียงพางคำ พระเจ้าชัยเชษฐาธิราช ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ชั่วคราวที่วัดเวียงหลวง ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกต่อๆกันมาว่า ” วัดเวียงพระแก้ว ” จนถึงทุกวันนี้ เมืองละปูนกั๊บเมืองเจียงคำอยู่ในยุคเดียวกั๋นคือประมาณ 1,000-1,300 ปี เช่น พระรอดมีอายุ 1,300 ปี แล้วก็มาขุดปะตี่เมืองเจียงคำนี่ตวยก็หมายความว่าเมืองละปูนกั๊บเมืองเจียงคำในสมัยนั่น มีก๋านก้าขายไปมาหาสู่กั๋น มีจาวบ๊านขุดปะพระสกุลละปูน เช่น พระคง พระเปิม และพระสกุลเจียงแสน เช่น พระใบโพธิเจียงแสนเป๋นต๊นหลายตี่ เช่นบริเวณวัดร้างจื้อวัด ” เจดีย์พระเจ๊าเจ็ดองค์ ” ตั้งอยู่บริเวณป่าสุสานบ๊านพระนั่งดิน บ๊านไชยพรม บ๊านล้า ปัจจุบันเปิ้นเทซีเมนต์กลบไว่หม๊ด บ่หื้อไผมาลักขุดแถมคับ สันนิษฐานว่าเมืองเจียงคำหรือเมืองเวียงพางคำกั๊บเมืองชะราวนี่ถูกกองทัพเงี้ยวหรือไทยใหญ่ทำลายลงในเวลาใกล๊เคียงกั๋นครับ แนวกำแพงดินเมืองเก่าเชียงคำมีลัษณะเป็นวงกลม 2 ถึง 3 วง และมีล่องลอยยาวไปถึงหมู่บ้านทรายซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมืองถึงเกือบ 3 กิโลเมตร ลัษณะแนวกำแพงดินจากการสำรวจด้วยตัวเองคือเดินลุยลัดเลาะไปทุกแห่งรอบตำบลเวียง ได้ข้อมูลดังรูปที่ส่งมาให้ดู คือวงกลมใหญ่ด้านทิศเหนือคือบริเวณหมู่บ้านเวียงเป็นตัวเมือง ยังมีกำแพงดินเป็นเนินดินสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก วงกลมกลางอยู่บริเวณบ้านพระนั่งดินล้อมรอบจากหลังวัดพระนั่งดินอ้อมข้ามถนนหลวงมาทางทิศตะวันออกไปหมู่บ้านดอนไชย แล้วไปบรรจบกับแนวกำแพงดินในเขตหมู่บ้านเวียง แนวกำแพงดินวงนี้ยังมีล่องลอยให้เห็นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะแนวที่อยู่ด้านทิศเหนือที่ชาวบ้านพระนั่งดินเรียกว่าสวนสักหรือป่าสัก ( ใกล้สะพานข้ามแม่น้ำลาวระหว่างบ้านพระนั่งดินมาบ้านเวียง ) ยังเห็นแนวกำแพงดินเป็นเนินสูงและร่องน้ำตรงกลางมีกู่หรือวัดร้าง 1 กู่ ชาวบ้านเรียกว่า ” กู่สวนสักหรือกู่ป่าสัก ( ไม่ทราบชื่อจริง ) วงกลมสุดท้ายอยู่ด้านทิศใต้ เริ่มจากร่องเหมืองข้างวัดคือผ่านหน้าวัดคือเลียบผ่านเขตโรงเรียนบ้านพระนั่งดิน อ้อมข้ามถนนหลวงผ่านซอยบ้านธรรมรักษ์หรือมูลนิธิต้นกล้าความดี อ้อมเขตหมู่บ้านดอนแก้ว ไปบรรจบกับแนวกำแพงดินวงกลาง ที่หมู่บ้านพระนั่งดิน ลักษณะกำแพงดินเมืองเก่าเชียงคำหรือเมืองเวียงพาคำเป็นเนินดินคู่ขนาน 2 เนินทั้ง 3 วงเหมือนกันหมด มีความสูงเฉลี่ย 5-6 เมตร ปัจจุบันจุดที่สูงที่สุดประมาณ 3 เมตร เช่นด้านประตูเวียงทิศตะวันออกและแนวหน้าบ้านพ่อหลวงเจตน์ ประกาสิทธิ์ เป็นต้น ตรงกลางเนินดินเป็นร่องน้ำลึกประมาณ 3- 5 เมตร กว้างเฉลี่ยประมาณ 10 เมตร คนเฒ่าคนแก่เล่าต่อๆกันมาว่าแม้แต่ช้างยังไม่กล้าลงเพราะลึกมาก ผู้ที่ให้ข้อมูลไว้อย่างละเอียดคือพ่อครูสุข ดะนัย ( เสียชีวิตแล้ว ) ตัวเมืองที่ล้อมรอบหมู่บ้านเวียงมีประตูเมือง 3 ประตูคือ 1. ประตูทางทิศตะวันออกเรียกว่า ” ประตูเวียง ” หมู่บ้านหน้าด้านทางนี้คือหมู่บ้านดอนไชยและหมู่บ้านดอนแก้ว 2. ประตูทางทิศตะวันตกเรียกว่า ” ประตูชัย “อยู่ตรงกันข้ามกับวัดบ้านไชยพรม 3. ประตูผีอยู่ด้านทิศเหนือใกล้ป่าสุสานหมู่บ้านเวียง ประตูนี้ใช้สำหรับนำศพออกมาจากในตัวเมือง สาเหตุที่เมืองเชียงคำถูกขบฎไทยใหญ่เผาทำลายเพราะในสมัยหลังสันนิษฐานว่าเมืองเชียงคำไม่มีกองทัพที่เข็มแข็งเหมือนในอดีตและถูกยุบเป็นแขวงแล้ว ชาวเมืองอยู่กันแบบชาวบ้านทั่วไป จึงถูกขบฎไทยใหญ่บุกเข้าไปปล้นและเผาทำลายเมือง คุ้มเจ้าเมืองเก่า วัดวาอาราม เช่น วัดช้างเผือกที่อยู่บริเวณสามแยกเข้าป่าสุสานบ้านเวียงและวัดหัวข่วงแก้วที่อยู่บริเวณประปาหมู่บ้านทางทิศตะวันออก รวมทั้งวัดอื่นๆจึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น ถ้าเป็นสมัยเริ่มแรกที่ยังมีพญาหรือเจ้าเมืองปกครองอยู่ไม่มีทางที่ขบฎไทยใหญ่จะบุกเข้าปล้นได้เด็ดขาดครับ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้รับทราบมาแบบสดๆร้อนๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านในหมู่บ้านเวียง เช่น พ่อหนานสวย อดีตเจ้าอาวาสวัดเวียงพระแก้ว พ่อหนานผาด ศิริวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเวียงพระแก้ว และคำบอกเล่าจากพระสงฆ์วัดเวียงพระแก้วเกี่ยวกับเจ้าหมวกคำ วีระบุรุษแห่งเมืองเชียงคำสมัยนั้น เจ้าหมวกคำที่แท้ก็คือเจ้าแขวงเมืองเชียงคำที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าหลวงเมืองน่านให้มาปกครองแขวงเมืองเชียงคำนั้นเอง เจ้าหมวกคำ ได้ต่อสู้กับทหารจากกองทัพไทยใหญ่ ที่บุกเข้าปล้นแขวงเมืองเชียงคำอย่างกล้าหาญ และถูกทหารไทยใหญ่จับตัวได้แล้วนำไปประหารชีวิตและคุ้มของเจ้าหมวกคำ ตั้งอยู่บริเวณใกล้ต้นโพธิริมฝั่งแม่น้ำลาวด้านทิศใต้ของแขวงเมืองเชียงคำ ปัจจุบันนี้ก็คือบริเวณฝั่งตะวันออกใกล้สะพานข้ามแม่น้ำลาว จากหมู่บ้านพระนั่งดินมาหมู่บ้านเวียงดังรูปที่ส่งมาให้ดู และจะได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลนี้ลงไว้ในประว้ติหมู่บ้านเวียงและประวัติเมืองเชียงคำหรือเมืองเวียงพาคำครับ วิหารวัดเวียงพระแก้ว มีความโดดเด่น และเก่าแก่ของอำเภอเชียงคำ ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ ประวัติวัดทั่วประเทศ (ว.พ.ก.) เล่มที่ 8 กองพุทธศาสนถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ระบุไว้ว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2250 พระราชทานวิสุงคามสีมา ปีพ.ศ.2415 แสดงว่าวิหารวัดเวียงพระแก้วมีอายุนับถึงปัจจุบันนี้ถึง 307 ปี ซึ่งถือว่าเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งจะเป็นรองแค่วัดหย่วนซึ่งสร้างเมื่อปีพ.ศ.2230 ความโดดเด่นของพระวิหารวัดเวียงพระแก้วคือ 1.โครงสร้างของวิหารทั้งหมด เช่น เสา คาน ขื่อ แป ใช้สลักไม้ ( แซ่ไม้ ) ไม่มีการใช้ตะปูในการสร้างเลย 2.ศิลปะการตกแต่งประดับประดาเป็นแบบผสมผสานระหว่างอารยธรรมล้านนากับอารยธรรมล้านช้าง ( ลาว ) เช่นตัวบ่างที่ประดับไว้ด้านนอกข้างวิหารเป็นการแกะสลักไม้ด้านเดียวแบบอารยธรรมล้านช้าง เป็นต้น 3.เป็นโบราณสถานแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการบุกปล้นและเผาทำลายเมืองเชียงคำของกองทัพไทยใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2445 ท่านสามารถคลิ๊กอ่านเรื่องราวต่างๆได้ในแต่ละหัวข้อเลยครับ |
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |