อ่างเก็บน้ำญวน (ฝายโป่งจี้) บ้านเกษตรสมบูรณ์ ต.ร่มเย็น ชุดที่ 4
ติดตามโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำญวนแก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม 2012 เวลา 01:48 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพุธที่ 22 กรกฏาคม 2009 เวลา 09:26
ข่าวรอบเมืองเหนือ ขณะ นี้มีเจ้าหน้าที่มาตอบคำถามว่า มีการสำรวจออกแบบเขีื่อนเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่ป่า รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายวิศวกรรม โครงการชลประทานพะเยา 054-413694 โดย วรพัฒน์ [1 พ.ค. 2551 , 16:30:17 น.] ( IP = 61.7.174.94 : : ) วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11388 มติชนรายวัน พลิกแฟ้ม”แผน”สร้าง อ่างเก็บน้ำ”น้ำญวน” เสียงกังวลชาวเชียงคำ รายงาน โดย สายอรุณ ปินะดวง ทุก ปีในฤดูน้ำหลากน้ำในแม่น้ำยวนและแม่น้ำลาวจะเอ่อขึ้นสูงแล้วไหลผ่าน อ.เชียงคำ และ อ.ภูซาง จ.พะเยา ขณะที่ฤดูแล้ง สายน้ำแห้งขอดไม่มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรในบางพื้นที่ ผู้นำชุมชนใน อ.เชียงคำ จึงร้องขอให้กรมชลประทานศึกษาแหล่งน้ำเพื่อทำอ่างเก็บน้ำเพื่อหวังเก็บกัก น้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคในฤดูแล้งและบรรเทาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ข้อ เรียกร้องของผู้นำชุมชนดังกล่าวมีมาตั้งแต่ปลายปี 2526 กรมชลประทานศึกษาพบพื้นที่ที่คาดจะก่อสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่ในเขตป่า อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำเปื๋อย น้ำหย่วน น้ำลาว เนื้อที่ประมาณ 1,385 ไร่ และบางส่วนซ้อนทับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูซาง 342 ไร่ โครงการ นี้กรมชลประทานตั้งชื่อว่า “อ่างเก็บน้ำน้ำญวน” มีพื้นที่รับน้ำลงอ่างเก็บน้ำ 150 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) ความจุเก็บกักปกติ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ความจุเก็บกักระดับน้ำนองสูงสุด 40 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าจะสามารถช่วยส่งน้ำให้แก่พื้นที่ท้ายอ่างได้ประมาณ 20,000 ไร่ งบประมาณก่อสร้างและค่าบริหารจัดการต่างๆ รวมถึงค่าชดเชยแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะต้องอพยพที่อยู่อาศัยและที่ทำ กินประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เขตการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ใน เขตลุ่มน้ำชั้น 1 เอ และ 1 บี ป่าลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ประมาณ 22.24 ไร่ และ 1 บี ประมาณ 324.9 ไร่ จึงต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA-Environmental Impact Assessment) เพื่อประกอบการขอใช้พื้นที่ลุ่มน้ำทั้งสอง ตามมติคณะรัฐมนตรี คิดเป็นการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้มูลค่าประมาณ 202 ล้านบาท เมื่อ โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จระดับน้ำในอ่างจะท่วมบ้านเรือนประชาชนในหมู่ที่ 19 ต.ร่มเย็น ห่างจาก อ.เชียงคำ ด้านทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร จำนวน 33 ครัวเรือน 37 หลังคาเรือน ที่ทำกิน 76 ครัวเรือน จำนวน 931 ไร่ ประชาชนในหมู่บ้านดังกล่าวเป็นชนเผ่าเมี่ยนที่ทำกินมานานกว่า 30-50 ปี ผล การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเบื้องต้นนั้นมีความแตกต่างกันหลากหลาย บางกลุ่มเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์เพราะจะมีน้ำใช้ตลอดฤดูกาล แต่อีกกลุ่มมีความกังวลกับผลกระทบในการก่อสร้างเกรงจะไม่มีที่ทำกินและต้อง อพยพไปอยู่นอกพื้นที่ นางอรพรรณ แซ่เติ๋น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) และอดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 19 บ้านน้ำยวนพัฒนา แสดงความเห็นต่อโครงการดังกล่าวว่า “ถ้ามีโครงการ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำญวน ที่ดินทำกินบ้านเรือนของดิฉันจะถูกน้ำท่วม และต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ทันที เคยหารือเจ้าหน้าที่ของกรมชลฯ หลายครั้งแล้วว่าอยู่ที่นี่มานาน หากเสียสละและอพยพออกจากพื้นที่ไปแล้วยังไม่รู้ชะตากรรมจะเป็นเช่นไร จึงขอให้ทางรัฐบาลยกเลิกโครงการดีกว่า เพราะทุนทั้งหมดในชีวิตที่ได้ทุ่มเทไปทั้งกายและใจ คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท ยังไม่นับค่าเสียโอกาสในอนาคต” นาย กิตติ แซ๋จ๋าว อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 19 ต.ร่มเย็น กล่าวว่า สงสัยเรื่องระดับน้ำท่วมมานานแล้ว ครั้งนี้จะขอสอบถามให้ชัดเจนว่าระดับน้ำท่วมสูงมากน้อยเพียงใด พื้นที่ทำกินรวมถึงที่อยู่อาศัยส่วนใดเสียหายไปบ้าง “เมื่อไม่นาน มานี้เจ้าหน้าที่ชลประทานแจ้งว่าหากก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำจะท่วมหมู่บ้าน ปางปอบหรือน้ำยวนพัฒนาประชาชนที่จะได้รับผลกระทบนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องมีมาตรการรับผิดชอบช่วยเหลือให้เกิดความยั่งยืนในชีวิตอย่างไร หากไม่ชัดเจนกลุ่มชาวบ้านคงจะไม่ไว้วางใจให้ก่อสร้าง” นายกิตติกล่าว นาย อโณทัย ศรีเจริญ หัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ 2 กองกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน ชี้แจงถึงหลักในการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยและค่าทดแทนให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผล กระทบว่า 1.กรณีที่ดินจะดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ปี 2530 แยกเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิยึดคำสั่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 397/2532 ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิยึดมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 กรกฎาคม 2532 2.ค่าทดแทนต้นไม้และไม้ผลที่ถูกเขตชลประทาน ตามบัญชีมาตรฐานปี 2549 3.ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ยึดหลักตามบัญชีมาตรฐานกำหนดค่ารื้อย้ายอาคารบ้านเรือนราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน นาย มหิทธิ์ วงศ์ษา นายช่างโยธา 6 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ระบุว่า อ่างเก็บน้ำน้ำญวนเป็นโครงการหนึ่งในการศึกษาทางเลือกการพัฒนาเรื่องแหล่ง น้ำของ อ.เชียงคำ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ทั้งนี้ ยังมีขั้นตอนอีกมากจึงไม่สามารถตัดสินในขณะนี้ได้ว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของโครงการอยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ และ 1 บี จะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม “เมื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสร็จเรียบร้อยยังต้องผ่านการพิจารณาของหลายหน่วยงาน เช่น สำนักนโยบายและแผน (สผ.) คณะกรรมการผู้ชำนาญการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จากนั้นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กกวล.) ซึ่งเปรียบเสมือนคณะรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมชี้ขาด” นายมหิทธิ์กล่าว ฟังดูเหมือนเส้นทางก่อสร้าง “อ่างเก็บน้ำญวน” ยังอยู่อีกยาวไกล แต่ชาวเชียงคำที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการยังรู้สึกผวาอยู่ทุกวัน ดูวีดีโอคลิ๊บอ่างเก็บน้ำญวนจากสถานที่จริง คลิ๊กที่ภาพเลยครับ ในพื้นที่ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยามีปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง เพราะไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของอำเภอ ในปี พ.ศ.2526 จังหวัดพะเยา จึงได้มีหนังสือถึงกรมชลประทานขอให้ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งกรมชลประทานได้ศึกษาและวางโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำญวน ตั้งอยู่ที่บ้านสบสา ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา แต่เนื่องจากโครงการมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ขั้น 1A และ1B จึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จนกระทั่งมีมติ ครม.เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 เรื่องการผ่อนผันขอใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A โดยต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assesment : EIA) เพื่อประกอบในการเสนอคระรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการโครงการ ใน ปี พ.ศ. 2550 กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการ การศึกษาวิเคราะห์ผลกรนะทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไข ลดผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบ จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำญวนพร้อมทั้งปรับปรุงเหมืองฝายในลำน้ำแม่ลาว และลำน้ำน้ำญวน และสร้างคลองส่งน้ำเพิ่มเติม จะสามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน20,000ไร่ และฤดูแล้ง 8,000ไร่ ครองคลุมพื้นที่ 7ตำบล โดยมีบรรจุ 36 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับการเกษตรกรรม ประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่โครงการอีกทาง หนึ่ง อย่างไรก็ตามผลกระทบที่สำคัญจากการพัฒนาดครงการ จะทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านน้ำญวนพัฒนา จำนวน 33 ครัวเรือน และที่ทำกินประมาณ 900 ไร่ จะถูกน้ำท่วม ซึ่งกรมชลประทาน จะดูแลชดเชยที่ดินและทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้กรมชลประทานจะต้องขอใช้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประมาณ 1,300 ไร่ และอุทยานแห่งชาติภูซาง ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนซ้อนทับกัน และมีสภาพเป็นป่าไม้ 535 ไร่ ซึ่งถ้ามีการพัฒนาโครงการจะได้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน ประมาณ 2,000 ไร่ ตลอดระยะเวลาการศึกษา กรมชลประทานได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานทุกภาค ส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาฯ โดยได้จัดการประชุม จำนวน 4 ครั้ง และได้ให้ข้อมูลข่าวสารในรูปของจดหมายข่าวและแผ่นพับอย่างต่อเนื่อง ผละการประชุมที่ผ่านมาพบว่าประชาชนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในการพัฒนา ดครงการ แต่มีบางส่วนไม่เห็นด้วย เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรง โดยต้องอพยพบ้านเรือนและที่ทำกินออกจากพื้นที่ที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่งกรมชลประทานจะได้ดูแลและให้ความเป็นธรรมในการชดเชยที่ดินและทรัพยฺสิน เช่น จ่ายค่าชดเชยที่เหมาะสม ส่งเสริมอาชีพการประมง ส่งเสริมการค้าขายบริเวณจุดชมวิว จัดหาพื้นที่สร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้ใหม่ในบริเวณหมู่บ้านเดิม (บ้านน้ำยวนพัฒนา)เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดประโยชน์มากที่สุด และไม่ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หรือได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ชาว บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำญวน ไม่แน่ใจได้รับค่าชดเชยจากทางการหรือไม่ ขณะที่กรมชลประทานยืนยันว่าประชาชนทั้งหมดจะได้รับค่าชดเชยตามระเบียนทาง ราชการอย่างแน่นอน รายงานข่าวจาก จังหวัดพะเยาแจ้งว่า เมื่อเร็วๆ นี้ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงคำ จ.พะเยา บริษัท ที่ปรึกษา เอส ดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษากรมชลประทาน ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ ตามโครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำญวน จังหวัดพะเยา ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสบสา ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบโครงการฯ แก่ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว กว่า 200 คน จากการศึกษาพบว่า มีประชาชนในพื้นที่โครงการจำนวน 33 ครัวเรือน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า ไม่มีความมั่นใจว่าพวกเขา จะได้รับเงินชดเชยจากทางการ หรือไม่ เนื่องจากทั้ง 33 ครัวเรือนไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่อาศัยอยู่ในขณะนี้ ด้าน นายปรีชา ศิริธร ผู้อำนวยการโครงการชลประธาน กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำญวน จังหวัดพะเยา ในอำเภอเชียงคำ ของกรมชลประทาน เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2526 โดยตั้งงบประมาณไว้ที่ประมาณ 500 ล้านบาท ต่อมาในปี 2535 มติ ครม.ห้ามใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ จนกระทั้ง พ.ศ.2546 ครม.ให้ผ่อนผันการขอใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 A พร้อมทั้งจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบ เพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งขณะนี้ได้ทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนปัญหาที่ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 33 ครัวเรือนกว่า 900 ไร่นั้น ยืนยันว่าจะได้รับค่าชดเชย ตามระเบียนทางราชการอย่างแน่นอน แต่จะได้เพียง 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น โดยขณะนี้ กรมชลประทาน กำลังดำเนินการตามระเบียนการจ่ายเงินค่าชดเชย คาดว่าจะสามารถจ่ายให้แก่ประชาชนได้ในเร็วๆ นี้ และเชื่อว่าโครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำญวน จังหวัดพะเยา จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองก็ ตาม เนื่องจากเป็นความต้องการและความเดือนร้อนของประชาชน โครงการ อ่างเก็บน้ำ น้ำญวน จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ที่ บ้านสบสา ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดพื้นที่ 1,685 ไร่ อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ (ป่าC) อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื่อย น้ำหย่วน น้ำลาว และบางส่วนทับซ้อนอยู่กับอุทยานแห่งชาติภูซาง หากแล้วเสร็จ จะสามารถเก็บน้ำได้ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร ในฤดูฝนสามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้ 20,000 ไร่ และฤดูแล้ง 8,000 ไร่
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org |
ข้อตกลงก่อนชมเว็ปไซต์ |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |