เกษตรทฤษฏีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ 2
  
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:49 เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2011 เวลา 04:19
การขาดน้ำเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการเกษตรไทย ซึ่งส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก หากฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรยากจนลง เกษตรกรบางส่วนต้องอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหรือถิ่นอื่น ด้วยน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยพสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงคิดค้น “ทฤษฎีใหม่” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยมุ่งเน้นเกษตรกรรายย่อยที่ค่อนข้างยากจนและอยู่ในเขตน้ำฝนเป็นกลุ่มผู้ รับประโยชน์เป้าหมายอันดับแรก
พระราโชบายในเรื่องการใช้พื้นที่ขนาด เล็กของเกษตรกรรายย่อยตามทฤษฎีใหม่ คือ ต้องมีแหล่งน้ำภายในพื้นที่ที่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก เช่น มีพื้นที่ปลูกข้าว ๕ ไร่ พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ๕ ไร่ พื้นที่สระน้ำลึก ๔ เมตร ๓ ไร่ และพื้นที่อีก ๒ ไร่ เพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรือนและกิจกรรมอื่น ๆ โดยผสมผสานกิจกรรมเพาะปลูกเข้ากับการเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์น้ำด้วย ทฤษฏีใหม่เป็นแสงสว่างที่นำทางให้เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากเริ่มก่อร่างสร้าง ตัวได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่”โดยให้ทำการทดลอง ณ วัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ด้วยการแบ่งพื้นที่ตามสัดส่วนคือ
ส่วนที่หนึ่ง ร้อยละ ๓๐ เนื้อที่เฉลี่ยประมาณ ๓ ไร่ ให้ทำการขุดสระเก็บกักน้ำที่มีความลึกประมาณ ๔ เมตร ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้มากถึง ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
ส่วนที่สอง ร้อยละ ๖๐ ทำการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยแบ่งเนื้อที่ส่วนนี้ออกเป็น ๒ ส่วนย่อยคือ
– ส่วนย่อยแรก ร้อยละ ๓๐ ทำนาข้าวประมาณ ๕ ไร่
– ส่วนย่อยที่สอง ร้อยละ ๓๐ ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้นที่และภาวะตลาดประมาณ ๕ ไร่ พื้นที่ทางการเกษตรทั้ง ๒ แบบนี้ใช้น้ำประมาณ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
ส่วน ที่สาม พื้นที่ที่เหลือร้อยละ ๑๐ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนน คันดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ การเตรียมพื้นที่ตาม “ทฤษฎีใหม่” มี ๓ ขั้นตอน คือ
 |
ขั้นตอนที่ ๑ เมื่อราษฎรได้แบ่งพื้นที่ตามสัดส่วนที่ทรงกำหนดขึ้นแล้ว ก็ให้ทำการขุดสระเพื่อให้มีการเก็บกักน้ำไว้
ขั้น ตอนที่ ๒ หากฝนทิ้งช่วงหรือเกิดขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ทำให้จำเป็นต้องใช้ปริมาณน้ำมาก จะต้องเติมน้ำที่พร่องไปให้พร้อมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงควรทำระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว ซึ่งอยู่ทางเหนือตอนบนของพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา เชื่อมต่อมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลง ก็จะทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี โดยราษฎรสามารถสูบน้ำจากสระมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา หากน้ำในสระไม่เพียงพอ ก็ส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำมาเพิ่มเติมในสระได้เช่นกัน
ขั้นตอนที่ ๓ เมื่อโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ให้นำน้ำจากเขื่อนป่าสักโดยวิธีการสูบต่อกันเป็นทอดลงในอ่างเก็บน้ำห้วย หินขาว ทำให้น้ำเต็มตลอดเวลา และถ้ามีน้ำมากพอ ก็อาจจะขยายพื้นที่ทฤษฎีใหม่ออกไปได้อีก
ภายหลังจากการทดลองใช้”ทฤษฎี ใหม่” ที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้มีการนำทฤษฎีใหม่ไปทดลองปฏิบัติที่บ้านแดนสามัคคี หมู่ที่ ๑๓ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปรากฏว่าตั้งแต่ขุดสระเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๓9) สระน้ำที่ขุดไว้สามารถเก็บน้ำฝนเพื่อสำรองใช้ในการเกษตรได้อย่างเพียงพอ
นอก จากนี้แล้ว ในพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ทรงเล่าถึงการนำทฤษฎีใหม่ไปใช้ในเขตชลประทานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอน บน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งในโครงการนี้ประกอบด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาดความจุ ๓.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำด้วยระบบคลองเปิดตามปกติ ในพระราชดำรัสดังกล่าวสรุปได้ว่า ในปีถัดไปจะทำระบบบผันน้ำจากอ่างห้วยไผ่ จังหวัดมุกดาหาร มาแจกจ่ายให้แก่สระน้ำ ที่อยู่ในแปลงราษฎรด้วยระบบท่อส่งน้ำแบบปิด ซึ่งถ้าส่งน้ำแบบเปิดที่เคยทำ จะมีการสูญเสียน้ำจากการรั่วซึมหรือระเหย จะส่งน้ำได้เพียง ๒,๕๐๐ ไร่ แต่ถ้าส่งน้ำด้วยคลองแบบปิดจะสามารถเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง ๑๐,๐๐๐ ไร่ขึ้นไป
จะ เห็นได้ว่าทฤษฎีใหม่เริ่มด้วยการช่วยราษฎรให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่าง เพียงพอโดยการขุดสระน้ำกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ประโยชน์ ต่อจากนั้นจะต้องให้ความรู้แก่เกษตรกรให้ใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูง สุด ด้วยวิธีการทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ราษฎรจะประสบความสำเร็จได้ถ้ามีความขยันขันแข็ง และมีความรู้ทางการเกษตรพอสมควร ด้วยเหตุผลดังกล่าว หลังจากโครงการทดลองได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และมีราษฎรในพื้นที่แสดงความจำนงที่จะขุดสระเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ จึงได้มีการขยายผลไปสู่ราษฎรในท้องที่อำเภอเขาวงเป็นครั้งแรกจำนวน ๓๕ ราย โดยรัฐให้ความช่วยเหลือขุดสระน้ำความจุ ๔,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร โดยผู้ร่วมโครงการต้องออกเงินสมทบรายละ ๕,๐๐๐ บาท และมีการนำราษฎรที่ขอเข้าร่วมโครงการไปอบรมและดูงานการเกษตรแบบผสมผสานที่ ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานฯ ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ มีการขยายผลอีก ๕๐ ราย โดยราษฎรต้องออกเงินสมทบค่าขุดสระรายละ ๔,๑๐๐ บาท
หลักการและการดำเนิน การที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงขั้นที่หนึ่งของทฤษฎีใหม่เท่านั้น ในการคิดทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงหยุดแต่เพียงแค่การจัดหาแหล่งน้ำและการ ปรับปรุงการเกษตรของเกษตรกรเป็นรายครัวเรือน หากแต่ทรงคิดไกลไปถึงการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความแข็งแกร่งของชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกด้วย “ทฤษฎีใหม่” ฉบับสมบูรณ์ประกอบไปด้วยสามขั้นตอน คือ
ขั้นแรก จัดดุลยภาพของการใช้พื้นที่โดยคำนึงถึงขนาดแปลงพืช ชนิดพืช แหล่งน้ำและที่อยู่อาศัย โดยพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ มูลนิธิ และหน่วยงานเอกชน
ขั้นที่สอง การรวมพลังของเกษตรกรเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิต การตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน
ขั้นที่สาม การประสานกับแหล่งทุนและแหล่งพลังงาน หลังจากกลุ่มเกษตรกรพัฒนาจากขั้นที่ ๒ กลุ่มจะมีศักยภาพในการต่อรองประสานประโยชน์กับสถาบันการเงินคือธนาคาร และองค์กรเอกชนที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิต โดยมีการแปรรูปผลผลิต เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริเหล่านี้ได้ดำเนินการตามแนวพระบรมราโชบายอย่างเข้ม แข็ง ประกอบกับทรงใฝ่พระราชหฤทัยติดตาม ส่งเสริม สนับสนุน และพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้งานพัฒนาด้านดินพรุ ดินเปรี้ยวจัด ดินทราย ดินตื้น และดินเค็ม ตามหลักการสำคัญ ๕ ประการข้างต้น มีความก้าวหน้าอย่างมากและอำนวยประโยชน์เป็นอเนกประการ เกษตรกรในพื้นที่เหล่านั้นได้เข้ามาศึกษาแบบแผนและคำแนะนำจากศูนย์ศึกษาการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แล้วนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาพื้นที่ของตนเป็นอันมาก เมื่อเกษตรกรเหล่านั้นได้พัฒนาอาชีพตามแนวพระราชดำริก็มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณภาพของชีวิตในครัวเรือนเกษตรกรก็ดีขึ้น |