Last Updated on Tuesday, 18 December 2012 07:44 Written by นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา Saturday, 12 March 2011 11:45
![]() |
ที่ว่าการอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา |
คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม เมืองแห่งธรรมะ มีพระนั่งดิน ถิ่นทอน้ำไหล ผ้าทอไทลื้อ น้ำตกเลื่องลือ คะแนงน้ำมิน ป่าไม้ผืนดิน อุดมสมบูรณ์ ![]() |
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ เพื่ออ่านเป็นไฟล์ pdf คลิ๊กตรงหัวข้อได้เลยครับ | |||||
1. | รวมประวัติอำเภอเชียงคำ | ดาวน์โหลด | 4. | ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
2. | หน้าปกหนังสือ | ดาวน์โหลด | 5. | ประวัติวัดเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
3. | คำนำสารบัญ | ดาวน์โหลด | 6. | คำสอนสุภาษิตล้านนา | ดาวน์โหลด |
เกริ่นนำ ประวัติความเป็นมา :
1. | พี่น้องชนชาติพันธุ์พื้นเมือง ใช้ภาษาล้านนา เป็นภาษาสื่อสารกัน มีอักษรหรืออักขระล้านนาเป็นตัวหนังสือเขียน คลิ๊กอ่านเพิ่ม | |
2. | พี่น้องชนชาติพันธุ์ไทลื้อ ใช้ภาษาไทลื้อเป็นภาษาสื่อสารกัน มีอักษรหรืออักขระธรรม ซึ่งก็ใช้อักษรล้านนา ซึ่งบางครั้งแทบจะแยกไม่ออกระหว่างคนพื้นเมืองกับพี่น้องไทลื้อ ซึ่งมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน คลิ๊กอ่านเพิ่ม | |
3. | พี่น้องชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีวัฒนธรรมชนเผ่า และมีที่อยู่อาศัยอยู่บนภูเขาหรืออยู่ใกล้ภูเขา คลิ๊กอ่านเพิ่ม | |
4. | พี่น้องชนเผ่าม้ง หรือ แม้ว มีวัฒนธรรมประจำชนเผ่า อาศัยอยู่พื้นลาบใกล้เชิงเขา คลิ๊กอ่านเพิ่ม | |
5. | พี่น้องชนเผ่าไทยอีสาน ซึ่งได้อพยพมาหาที่ทำกินแห่งใหม่เป็นหมู่บ้านที่ย้ายถิ่นฐานมาจากภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ทั้งชาวไทยอีสานและชาวผู้ไท ซึ่งมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งก็มีหลายหมู่บ้าน หลายชุมชนในตำบลต่างๆ ในอำเภอเชียงคำนี้ คลิ๊กอ่านเพิ่ม |
|
* หมายเหตุ ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ได้มีโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ เกิดขึ้นมาจากพระราชดำริ ได้มีการอพยพชาวเขาเผ่าต่างๆ จากจังหวัดเชียงใหม่ มาอีก 4 เผ่า เพื่อมาดูแลป่าต้นน้ำญวน ที่บ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา อันได้แก่ เผ่าเมี่ยนหรือเย้า เผ่าอาข่า เผ่ามูเซอ และชนเผ่าประกากะญอ หรือ กะเหรี่ยง คลิ๊กอ่านข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() |
แผนที่บริเวณพื้นที่อำเภอเชียงคำ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
คลิ๊กชมเว็ปไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็นได้ที่ภาพข้างบนครับ |
1. | ในส่วนแรก ขอนำเสนอหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่ได้ข้อมูลมาจากเว็ปไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี | |
ที่ได้บันทึกเรื่องราวหลักฐาน ประวัติอำเภอเชียงคำ ไว้ดังนี้ คือ |
![]() |
พระเจ้านั่งดิน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงคำ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | อำเภอเทิง (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอภูซาง | |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | แขวงไชยะบุลี (ประเทศลาว) และอำเภอสองแคว (จังหวัดน่าน) | |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | อำเภอสองแคว (จังหวัดน่าน) และอำเภอปง | |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | อำเภอจุน และอำเภอเทิง (จังหวัดเชียงราย) |
ที่ | ตำบล | ชื่อภาษาอังกฤษ | จำนวน | หมู่บ้าน | |
1. | หย่วน |
Yuan | 15 | หมู่บ้าน | |
2. | น้ำแวน | Nam Waen | 14 | หมู่บ้าน | |
3. | เวียง | Wiang | 10 | หมู่บ้าน | |
4. | ฝายกวาง | Fai Kwang | 17 | หมู่บ้าน | |
5. | เจดีย์คำ | Chedi Kham | 12 | หมู่บ้าน | |
6. | ร่มเย็น | Rom Yen | 22 | หมู่บ้าน | |
7. | เชียงบาน | Chiang Ban | 11 | หมู่บ้าน | |
8. | แม่ลาว | Mae Lao | 14 | หมู่บ้าน | |
9. | อ่างทอง | Ang Thong | 13 | หมู่บ้าน | |
10. | ทุ่งผาสุข | Thung Pha Suk | 7 | หมู่บ้าน |
ที่ | เทศบาล/ตำบล | เขตพื้นที่ที่ครอบคลุม | |
1. | เทศบาลตำบลเชียงคำ | ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหย่วน | |
2. | เทศบาลตำบลบ้านทราย | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล | |
3. | เทศบาลตำบลฝายกวาง | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายกวางทั้งตำบล | |
4. | เทศบาลตำบลหย่วน | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหย่วน (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียงคำ) | |
5. | องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแวน | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำแวนทั้งตำบล | |
6. | องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์คำ | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์คำทั้งตำบล | |
7. | องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่มเย็นทั้งตำบล | |
8. | องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงบานทั้งตำบล | |
9. | องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาว | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาวทั้งตำบล | |
10. | องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล | |
11 | องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผาสุข | ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งผาสุขทั้งตำบล |
![]() |
ภาพวิถีชีวิตชาวไทลื้อ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
2. | ใน ส่วนที่สอง เป็นตำนานของพี่น้องชาวไทลื้อ ซึ่งก็ถือได้ว่า เป็นชนชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยใน | |
พื้นที่เขตอำเภอเชียงคำของเรา จำนวนมากเป็นอันดับสอง ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ ดังนี้ |
![]() |
วัดพระธาตุดอยคำ ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
คำขวัญของ ตำบลร่มเย็น บ้านเล็กในป่าใหญ่ ท่องไพรชมถ้ำ ไหว้สาพระธาตุดอยคำ เด่นงามล้ำภูอานม้า พืชสวนเกษตรเขียวงามตา ล้ำเลอค่าแหล่งรวมวัฒนธรรม |
3. | ในส่วนที่สามนี้ ถือได้ว่าเป็นประวัติหรือตำนานที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรามาก | |
ที่สุด เนื่องด้วยมีบรรพบุรุษของชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย และตำนานนี้ ที่เขียนขึ้นมาโดย | ||
คุณชัยวัฒน์ จันธิมา ซึ่งได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ ในบทความดังกล่าวได้กล่าวได้ดังนี้ |
![]() |
ภาพวาดตำนานการพบทองคำที่พระธาตุดอยคำ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
จากผู้เรียบเรียง "ตามตำนานเรื่องเล่า การพบแร่ทองคำระหว่างลำห้วย พ่ออุ้ยแม่อุ้ยได้เล่าเรื่องปรัมปรา ให้ฟังว่า ตะก่อนเคยมีแร่ทองคำไหลออกจากลำห้วย แล้วมีแม่หม้ายยากจนเป็นคนไปพบสายแร่ทองทองนี้เป็นคนแรก นางก็ได้เก็บเรื่องราวนี้ไว้เป็นความลับอยู่นาน เพราะนางถึงแม้จะเป็นคนยากจน แต่นางเป็นคนมีจิตใจที่มีคุณธรรมไม่โลภมาก บ้างก็เล่าว่า เพราะเทวดาสงสารนาง เลยเนรมิตให้นางพบกับแร่ทองคำนี้ เมื่อนางพบทองเป็นลักษณะนี้ นางก็ได้ใช้มีดทำการขูดเอาวันละเล็กละน้อยพอหลายวันเข้าก็ได้เยอะขึ้นแล้วนำไปขาย ทำให้ครอบครัวของนางมีฐานะดีขึ้น ชาวบ้านก็พากันแปลกใจ ไปถามนาง นางคนนี้ก็ไม่ตอบอะไร จนมีคอยแอบสังเกตและแอบตามนางไปที่นางไปหาของป่า จนไปเจอเข้ากับแร่ทองเหมือนกับทองแท่งที่ขวางเหมือนสะพานข้ามลำห้วย ก็พากันแตกตื่นไปทั่วเมือง เรื่องเลยไปถึงพระกรรณของผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ทำให้มีแต่ผู้คนมีความโลภ และผู้ปกครองเมืองสมัยนั้น ก็ได้สั่งให้คนรับใช้และทหาร จะพากันไปตัดทองนั้น เพื่อที่จะได้เยอะ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเลื่อย ขวาน มีด จอบ เมื่อมีความโลภ จิตไม่มีคุณธรรมดังนั้น อาจจะเพราะสิ่งศักดิ์หรือเทวดาที่คอยปกปักรักษาทองคำนี้ไว้ เมื่อมีคนใช้ขวานและเลื่อยตัดให้ขาด ปรากฎว่า ทองคำก็ขาดออกจากกันและได้ไหลเข้าไปในภูเขาเสียทั้งหมด ทำให้ไม่มีใครได้ทองคำนั้นอีกเลย พยามขุดหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดอยแห่งนี้ก็เลยได้ชื่อว่าดอยคำ ซึ่งมีตำนานเรื่องเล่ามากมาย เช่น ตำนานการสร้างพระธาตุ ที่มีการขนทองคำบรรทุกบนหลังม้ามาเพื่อที่จะสร้างเจดีย์ เป็นต้น หากมีเวลาผู้เขียนจะได้นำไปลงไว้ที่เว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org นะครับ ท.ทิวเทือกเขา"
ในปัจจุบันแม้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และร่องรอยของตำนานที่เล่าขานสืบกันมาจะทรุดพังและถูกทำลายลงตามเหตุแห่งสมัย แต่สิ่งที่ปรากฏเป็นความสง่างามเหนือชุมชนแห่งนี้ คงยังมีให้ลูกหลานมองเห็นอยู่บ้าง อาทิ พระธาตุดอยคำ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวเชียงคำทุกคน
อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าของพ่ออุ้ยแม่อุ้ยและพระสงฆ์ในชุมชนแห่งนี้ หลายท่านระบุว่า ก่อนที่จะมาเป็นชุมชนบ้านคุ้ม-บ้านสบสานั้น ชุมชนดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณป่าเหนือหมู่บ้านขึ้นไปอีกราว 2-3 กิโลเมตร ที่เรียกว่า "ป่าห้วยน้ำสา" โดยบริเวณดังกล่าวพบซากอิฐเก่าของวัดร้างและเศษพระพุทธรูปจำนวนมาก เท่าที่ปรากฏให้เห็น ได้แก่ วัดพระธาตุทุ่งสา อยู่บริเวณป่าห้วยน้ำสา จากปากคำของพ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าว่า ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา จะมีแสงคล้ายดวงแก้วลอยขึ้นมาในบริเวณพระธาตุนั้น แล้วค่อย ๆ เคลื่อนมาวนเวียนที่พระธาตุดอยคำ จากนั้นก็ลอยมาที่วัดคุ้ม ลอยต่อไปยังวัดพระนั่งดิน และกลับมาเช่นเดิม เป็นอย่างนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว นอกจากนี้ในบริเวณนั้น ชาวบ้านมักจะได้ยินเสียงประหลาดคล้ายเสียงฆ้อง เสียงกลองตีดังสนุกสนานเหมือนงานวัดอยู่บ่อย ๆ เช่นกัน วัดโป่งหนองขอน อยู่บริเวณไม่ห่างไกลจากวัดพระธาตุทุ่งสานัก ตามคำบอกเล่าได้ระบุว่ามี "บ่อจืน" (บ่อตะกั่ว) ในบริเวณนั้นด้วย ที่แห่งนั้นจะเป็นที่ถลุงเงิน ถลุงทองคำในอดีต ซึ่งตำนานได้กล่าวถึงสายแร่ทองคำในเขตนี้ด้วย ต่อมาชาวบ้านได้ถมบ่อนี้เพราะวัวควายมักจะตกลงไป
วัดห้วยถ้ำอยู่บริเวณห้วยถ้ำหรือ "ดอยโปด" (ภูเขาถล่ม) ที่แห่งนี้เล่าว่า มีถ้ำที่เก็บพระพุทธรูปและวัตถุโบราณหลายอย่างในช่วงสงครามพม่า (ประมาณ พ.ศ. 2101) แต่ต่อมาน้ำได้เซาะดินเกิดถล่มปิดถ้ำไว้ หลายปีต่อมามีชาวบ้านรุ่นหลังไปขุดค้นและขโมยพระพุทธรูปออกมาได้จำนวนไม่ นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระพุทธรูปออกมาได้จำนวนไม่น้อย บางส่วนก็เก็บรักษาบูชาที่วัดคุ้ม
นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระพุทธรูปและข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณได้ที่บริเวณ "วังกว๊าน" ปัจจุบันเป็นที่สวนและไร่นาของชาวบ้านไปแล้ว เล่ากันว่า เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน "พ่ออุ๊ยหม่องคำ" ได้พบพระพุทธรูปทองจำนวนมากในบริเวณนี้โดยบังเอิญ ชาวบ้านแห่ไปขุด แต่ปรากฏว่ามีแต่ผงขี้เถ้า
![]() |
พระครูขันติวชิรธรรม “ตุ๊ลุงเพชร” ปราชญ์พระสงฆ์ รองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
พระครูขันติวชิรธรรม ปราชญ์พระสงฆ์ เจ้าคณะตำบลร่มเย็น เล่าให้ฟังว่า นอกจากพุทธสถานต่าง ๆ แล้ว บริเวณนี้ยังปรากฏร่องรอยของการทำการเกษตรของชุมชนดั้งเดิมด้วย คาดว่าจะเป็นการทำนา เพราะปรากฏมีคันนาบางแห่งซึ่งขณะนี้ได้ฟื้นเป็นป่าไปหมดแล้ว พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยหลายคนเล่าว่า บริเวณป่าห้วยสา ยังมีบริเวณที่เรียนกว่า "ทุ่งทัพ" อันเป็นที่พักของกองทัพที่มาตั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยปรากฏมีร่องน้ำหนึ่งชื่อ "ร่องขี้ม้า" แสดงว่าอาจจะมีกองทหารม้ามาตั้งอยู่ที่นี่ด้วย นอกจากนั้นยังมีทุ่งเลี้ยงสัตว์ และแหล่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "กอดสองห้อง" และ"กอดป่าครั่ง"
พ่ออุ้ยแม่อุ้ยหลายท่านช่วยกันวิเคราะห์ว่า การโยกย้ายวัดและชุมชนจากป่าห้วยสา ลงมาสู่บ้านคุ้มนั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการถูกรบกวนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อาจจะเป็นไชยภูมิในการรบหนึ่ง เนื่องจากบริเวณบ้านคุ้มมีสาขาน้ำยวนและร่องลำห้วยมากมาย เหมาะจะเป็นคูป้องกันข้าศึกได้ หรืออาจจะเป็นเพราะสมัยก่อนมีสิงสาราสัตว์มากชอบออกมารบกวนสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านหนึ่ง หรืออาจจะเพราะมีพื้นราบมาก มีพื้นที่ชุ่มน้ำ "หนอง" ได้รับน้ำจากหลายสาย ฯลฯ
หลังจากนั้นหนองและร่องน้ำบางสายก็ตื้นเขิน จึงมีการขยายชุมชนและมีราษฎรจากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากจังหวัดน่านอพยพมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติมอีก ชุมชนบ้านคุ้มและบ้านสบสาก็ขยายเป็นบ้านหนอง บ้านร้อง บ้านโจ้โก้ ฯลฯ
ในส่วนชุมชนเก่าแก่ที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่านั้น ก็กลับฟื้นเป็นป่าที่สมบูรณ์ กลายเป็นป่าใช้สอยหรือป่าชุมชนของชาวบ้าน แต่ในช่วงปี 2505 รัฐบาลกลับเปิดให้เอกชนสัมปทานป่าบริเวณนี้ ทำให้ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ตะเคียนถูกโค่นล้มลงไปจำนวนมาก นายทุนได้ใช้ช้างลากติดต่อกันหลายปี จนมีชื่อบริเวณหนึ่งว่า "ปางช้าง"
อย่างไรก็ตามประมาณช่วงปี พ.ศ. 2512 พ่อหลวงหวัน จอมนาสวน ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านคุ้ม จึงประกาศให้ป่าห้วยสาเป็นเขตอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ห้ามมีการตัดไม้ทำลายป่าจากบุคคลภายนอกอย่างเด็ดขาด อนุญาตให้แต่เพียงคนในชุมชนที่ต้องการสร้างบ้านเท่านั้น แต่ก็ถูกท้าทายจากภายนอกบ้าง
สืบต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยที่นายเจริญ แจ้งสว่าง ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านประมาณปี 2533 ได้มีการตั้งกฎระเบียบป่าห้วยสาอย่างเข้มงวดอีกครั้ง มีการตั้งคณะกรรมการและลงโทษอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานราชการป่าไม้เข้าร่วมดำเนินงานด้วย จนทำให้ป่าผืนนี้สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของอำเภอเชียงคำด้านตะวันออก
สำหรับป่าต้นน้ำห้วยสานี้ประกอบด้วยลำห้วยกว่า 10 สาขา ได้แก่ ห้วยถ้ำ ห้วยหวายฝาด ห้วยต้นหล้อง ห้วยแคแดง ห้วยครูบา ห้วยคาวตอง ห้วยน้ำบง ฯลฯ ไหลรวมกันเป็นห้วยน้ำสายาวประมาณ 30 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่การเกษตรกว่าหมื่นไร่ ในสองตำบลได้แก่ ตำบลร่มเย็นและตำบลเจดีย์ อันเป็นพื้นที่ผลิตข้าว ข้าวโพด หอมแดง สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชน ทั้งนี้น้ำสานั้นมีไหลตลอดทั้งปีทำให้ทำการเพราะปลูกพืชได้ทุกฤดู
ด้วยความสมบูรณ์ของชีวิต และความผูกพันต่อสายน้ำและป่าไม้ ชุมชนบ้านคุ้มได้รวมตัวกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงผีขุนน้ำและบวชป่าสืบชะตาต้นไม้ประจำทุกปี และที่โดดเด่นคือการฟังเทศน์กลางแม่น้ำ หรือพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมัจฉาพระยาปลาช่อน ซึ่งริเริ่มโดยพระครูขันติวชิรธรรม เจ้าคณะตำบลร่มเย็น อันเป็นธรรมเทศนาขอฟ้าฝนตามคติโบราณที่ถือว่าใช้เทศน์ให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล
เรื่อง พระยาปลาช่อนนี้ มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ณ ดินแดนแห่งหนึ่งได้เกิดความแห้งแล้งทุกข์เข็ญยิ่งนัก แม่น้ำแห้งขอดจนกาและแร้งสามารถบินลงมาจิกกินกุ้ง หอย ปู ปลาในหนองได้ นอกจากนี้ข้าวกล้าไร่นาผู้คนก็แห้งตายไม่มีเหลือ พระยาปลาช่อนผู้มีใจกุศล อันก็คือพระโพธิสัตว์ ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์บังเกิดให้มีฝนฟ้าตกลงมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงการสั่งสอนให้มนุษย์มีใจรักในหมู่ญาติพี่น้องของตน เมื่อญาติพี่น้องมีทุกข์ตนเองก็จะต้องช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
ธรรมเทศนาปลาช่อนบทนี้อาจจะสอนใจคนในยุคสมัยปัจจุบันได้ดี หากทุกคนช่วยกันรักษาป่า รักษาแม่น้ำลำธาร ไม่ตัดไม้ทำลายแม่น้ำเพียงเพราะความเห็นแก่ตัวคนเดียว ซึ่งถ้ารักษาป่าก็หมายถึงการเกื้อกูลญาติพี่น้องนั่นเอง ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ เมืองของเราก็มั่นคงถาวร ปรากฏการณ์เล็ก ๆ ที่เมืองเชียงคำน่าจะพิสูจน์ให้เราประจักษ์ได้ไม่มากก็น้อย
![]() |
ภาพบรรยากาศทุ่งนา ก่อนทางเข้าหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
ป้ายชื่อหมู่บ้าน อยู่ตรงทางเข้าหมู่บ้าน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
4. | ในส่วนที่สี่นี้ เป็นการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ | |
จ.พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56110 เป็น หมู่บ้านที่ได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยทางการได้ทำการแยกหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ ออกมาจากบ้านโจ้โก้ หมู่ที่ 4 ก่อนมีตั้งชื่อหมู่บ้านนั้น บ้านกษตรสมบูรณ์ ได้มีชื่อเก่าว่า "บ้านโจ้โก้ใหม่" ซึ่งก็สืบเนืองมาจาก เป็นหมู่บ้านที่ขยายตัวและเริ่มมีประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในการปกครองของบ้านโจ้โก้ ทำให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความลำยากบาก ทำให้หน่วยงานราชการ อำเภอเชียงคำ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะตั้งเป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ขึ้นมา โดยให้ชาวบ้านได้มีการประชุม เลือกตั้งผู้นำหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้าน ซึ่งในที่ประชุมของชาวบ้าน ก็มีมติในที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ว่า "จะตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 " |
![]() |
ทางเข้าหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
สตบ.ประจำหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ (ชรบ. และ อฟปร.) คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
ปัจจุบันเส้นทางจากอำเภอเชียงคำไปจังหวัดน่าน เป็นทางลาดยางสะดวกสบายแล้ว ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงจังหวัดน่าน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งตระหง่านตรงข้ามกับบ้านเกษตรสมบูรณ์ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
นายอินแสวง มาสุข ผู้ใหญ่บ้านคนแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2533- พ.ศ. 2535 |
นายเหลา รุ่งเรือง ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2546 |
|
คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
นายเหลี่ยม รุ่งเรือง ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
บรรยากาศท้องทุ่งนา มีลำเหมืองไหลผ่านหมู่บ้าน เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมเป็นอย่างดี คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | ทุ่งนา บ้านโจ้โก้ หมู่ ๔ ต.ร่มเย็น | |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | ภูเขา และสวนลำไย สวนยางพารา ของชาวบ้าน และอ่างเก็บน้ำญวน | |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | สวนมะขามและสวนลำไยของชาวบ้าน และห่างออกไป 1 กิโลเมตร ติดกับบ้านห้วยสา |
|
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | สวนลำไย ของชาวบ้าน และบ้านใหม่เจริญสุข |
ที่ | ชื่อ - นามสกุล | ดำรงตำแหน่ง | |
1. | นายอินแสวง มาสุข | เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2533 - 2535 | |
2. | นายเหลา รุ่งเรือง | เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 - วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ( 2 สมัย) | |
3. | นายเหลี่ยม รุ่งเรือง | เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 -ปัจจุบัน (สมัยที่ 2) |
![]() |
ป้ายแผนผังการบริหารหมู่บ้าน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
1. | นายเหลี่ยม รุ่งเรือง | ผู้ใหญ่บ้าน | ||
2. | นายธงชัย มาสุข | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คนที่ 1 | ||
3. | นายติด วงศ์แก้ว | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 | ||
4. | นายก้าน กลิ่นหอม |
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น | ||
5. | นางนันทิกานต์ คิดหา |
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น | ||
6. | นายหมาย ฐานะราช | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
7. | นายสิทธิ์ แจ้งสว่าง | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
8. | นายวาสน์ มาสุข |
คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
9. | นายเพชร ฉลาดแหลม | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
10. | นายดวล แจ้งสว่าง | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
11. | นายบุญทา มาสุข | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
12. | นายค่าย มาสุข |
คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
13. | นายเพลิน มาสุข | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
14. | นายบุญธรรม มาสุข |
คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
15. | นายจันทร์ ใจใหญ่ | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
16. | นายสมฤทธิ์ ฐานะราช | คณะกรรมการหมู่บ้าน | ||
17. | นายกวด แจ้งสว่าง | คณะกรรมการหมู่บ้าน |
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน
1. | นายศรีวรรณ ทองสุข | 6. | นายเจริญ มาสุข | ||
2. | นายเสริฐ แจ้งสว่าง | 7. | นายสิทธิ์ กันทะสอน | ||
3. | นายอินทร์ ฉลาดแหลม | 8. | นายฝาย ทะนันไชย | ||
4. | นายเป็ง อินแสนสืบ | 9. | นายรัตน์ แจ้งสว่าง | ||
5. | นายเหลา รุ่งเรือง | 10. | นายหมาย ฐานะราช |
คณะกรรมการ อสม. ประจำหมู่บ้าน
1. | นายก้าน กลิ่นหอม | ประธาน | ||
2. | นายสมอาด รุ่งเรือง |
รองประธาน | ||
3. | นายสุวัจน์ รุ่งเรือง | เลขานุการ |
||
4. | นางสมบูรณ์ หมื่นศรี | เหรัญญิก |
||
5. | นางเหรียญ ไทวน | กรรมการ | ||
6. | นางจันทร์เพ็ญ รุ่งเรือง | กรรมการ | ||
7. | นางสุทัศน์ สุทธสม | กรรมการ | ||
8. | นายเมืองดี ใจหมั้น | กรรมการ | ||
9. | นายสมาน เบ็ญจะญาติ | กรรมการ | ||
10. | นางศรีเรือน แจ้งสว่าง | กรรมการ | ||
11. | นางสมคิด มาสุข |
กรรมการ | ||
12. | นางนันทิกานต์ มาสุข | กรรมการ | ||
13. | นางแสงหล้า ย้ายถิ่น | กรรมการ | ||
14. | นางห่วง แจ้งสว่าง | กรรมการ |
![]() |
คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
คณะกรรมการกลุ่มพัฒนาสตรี
1. | นางปราณี สมบูรณ์ | ประธาน | ||
2. | นางสมบูรณ์ หมื่นศรี | รองประธาน | ||
3. | นางกรณิกา มาสุข | เลขานุการ | ||
4. | นางเพ็ญ พิศมร | เหรัญญิก | ||
5. | นางพิศมัย มะโนศรี | ประชาสัมพันธ์ | ||
6. | นางเหนี่ยม มาสุข | ปฏิคม | ||
7. | นางพี รุ่งเรือง | กรรมการ | ||
8. | นางจ๋อน กลิ่นหอม | กรรมการ | ||
9. | นางสุพัฒน์ ชิดสนิท | กรรมการ |
![]() |
คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
คณะกรรมการกลุ่มผู้สูงอายุ
1. | นายศรีวรรณ ทองสุข | ประธาน | ||
2. | นายเสริฐ แจ้งสว่าง | รองประธาน | ||
3. | นายหมาย ฐานะราช | เลขานุการ | ||
4. | นายฝาย ทะนันไชย | เหรัญญิก |
![]() |
คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
1. | นายธงชัย มาสุข | ผู้อนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง ชะล้อ ซอ ซึง | ||
2. | นายติด วงศ์แก้ว | ผู้อนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง ชะล้อ ซอ ซึง |
ปราชญ์ท้องถิ่น กลุ่มผู้รู้ประจำหมู่บ้าน
1. | พ่ออุ้ยหลง ชิดสนิท | เป็นหมอยาเมือง เป่ารักษาโรคตาแดง, เป่างูสวัด, สารพัดโรค | เสียชีวิตแล้ว | ||
2. | พ่อน้อยเป็ง อินแสนสืบ | เป็นหมอบายศรีสู่ขวัญ, ปัดเคราะห์ | |||
3. | พ่อหนานศรีวรรณ ทองสุข | เป็นหมอบายศรีสู่ขวัญ, ปัดเคราะห์ | |||
4. | พ่อหนานจู สมประเสริฐ | เป็นหมอบายศรีสู่ขวัญ, ปัดเคราะห์ | |||
5. | พ่อหนานคำ | เป็นหมอบายศรีสู่ขวัญ, ปัดเคราะห์ | |||
6. | แม่อุ้ยสุ มาสุข |
เป็นหมอดูยาม (หาเมื่อ) |
ที่่ | ชื่ออาชีพ | ที่ | ชื่ออาชีพ | |
1. | ทำนา | 9. | ปลูกมะนาว | |
2. | ทำไร่ข้าวโพด | 10. | ปลูกมะบวบ, มะนอย | |
3. | ทำสวนหอมแดง | 11. | ทำสวนถั่วแดง | |
4. | ทำสวนกระเทียม | 12. | ทำสวนลำไย | |
5. | ทำสวนมันเทศ มันฝรั่ง | 13. | ทำสวนลิ้นจี่ | |
6. | ทำสวนถั่วลิสง | 14. | ทำสวนยาสูบ | |
7. | ปลูกแตงกวา | 15. | ทำสวนยางพารา | |
8. | ปลูกถั่วฝักยาว | 16. | อาชีพอื่นๆ เช่น หาของป่า เป็นต้น |
ที่ | สถานที่และสิ่งสำคัญ | ที่ | สถานที่และสิ่งสำคัญ | |
1. | วัดเกษตรสมบูรณ์ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม |
6. | ศาลาเอนกประสงค์ SML คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | |
2. | อ่างเก็บน้ำญวน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 7. | โรงกลั่นน้ำมันดีเซลล์ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | |
3. | ประปาภูเขาประจำหมู่บ้าน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 8. | โรงบ่มใบยาสูบ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | |
4. | ป่าชุมชนประจำหมู่บ้าน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 9. | โรงอบลำไย คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | |
5. | อ่างเก็บน้ำห้วยดินดำ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 10. | ศาลเจ้าพ่อกาบคำ คลิ๊กชมวีดีโอเพิ่มเติม |
![]() |
อ่างเก็บน้ำห้วยดินดำ คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
![]() |
อ่างเก็บน้ำญวน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูข้อมูลและภาพเพิ่มเติม |
ที่ | ชื่อแม่น้ำ/ลำน้ำ | ที่ | ชื่อแม่น้ำ/ลำน้ำ | |
1. | แม่น้ำญวน คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 4. | ลำน้ำห้วยโยนฟัน คลิ๊กวีดีโอเพิ่มเติม | |
2. | ลำน้ำห้วยเฮี้ย คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม | 5. | ลำน้ำห้วยปู่โท้ คลิ๊กดูวีดีโอเพิ่มเติม | |
3. | ลำน้ำห้วยเขียด คลิ๊กดูวีดีโอเพิ่มเติม | 6. | ลำน้ำห้วยดินดำ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติม |
![]() |
แม่น้ำญวน คลิ๊กที่ภาพข้างบน เพื่อดูวีดี รายการกินอยู่คือมาถ่ายทำรายการที่หมู่บ้านของเรา |
กฎระเบียบในหมู่บ้านบ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ประชุมประจำเดือนครั้งที่3 /2553 มีนาคม 2553 คณะ กรรมการในหมู่บ้านได้ร่วมกันพิจารณาออกกฎระเบียบเพื่อให้ความเป็นระเบียบ เรียบร้อยในหมู่บ้าน และได้มีมติเห็นชอบจากที่ประชุมราษฎร ในหมู่บ้านเรียบร้อยแล้วดังนี้ |
ข้อ |
กฏระเบียบปฏิบัติ | |||||||||||
1. | บ้านหลังคาเรือนใดไม่ไปร่วมประชุม โดยไม่มีเหตุอันควรจะถูกปรับครั้งละ 20 บาท | |||||||||||
2. | บ้านหลังคาเรือนใดไม่ไปร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นกิจกรรมรวมของหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควรปรับครั้งละไม่เกิน 100 บาท | |||||||||||
3. | บ้านหลังคาเรือนใดในเขตรับผิดชอบของหัวหน้าเขตไม่ร่วมอยู่เวรเฝ้างานศพโดยไม่มีเหตุอันสมควรปรับครั้งละไม่เกิน 50 บาท | |||||||||||
4. | ผู้ใดลักขโมยน้อยในหมู่บ้านถูก จับได้ต้องปรับครั้งละไม่เกิน 10 เท่า ของทรัพย์สินที่ถูกขโมยและปรับเข้ากองกลางหมู่บ้าน500 บาท หรือส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย |
|||||||||||
5. | ผู้ใดบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ป่าต้นน้ำและลักลอบตัดไม้ทำร้ายป่าซึ่งเป็นเหตุหวงห้าม ถ้าจับได้ปรับรายละ 500-2,000 บาท หรือส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย ยกเว้นป่าที่เสื่อมโทรมทำกินมาเป็นเวลา10ปี | |||||||||||
6. | ผู้ใดดื่มเมาสุราทำให้ก่อกวนก่อเกิดความไม่ สงบหรือเปิดเครื่องเสียงดังในยามวิกาล เกินเวลา 23:00 น. ถูกปรับครั้งละไม่เกิน 500 บาท เข้ากองกลางหมู่บ้าน(ยกเว้นเป็นงานประเพณี) | |||||||||||
7. | ผู้ใดก่อเหตุทะเลาะวิวาทในหมู่บ้านหรืองาน ประเพณีต่างๆในหมู่บ้าน ผู้ลงมือก่อเหตุก่อนมีโทษปรับครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท คู่กรณีปรับครั้งละไม่เกิน 1000 บาท เข้ากองกลางหมู่บ้านแต่ละคณะกรรมการจะพิจารณาคู่กรณีที่ถูกชกต่อยว่าจะมี ความผิดหรือไม่ | |||||||||||
8. | ผู้ใดลักน้ำประปาในหมูบ้านโดยที่ไม่ได้ผ่านมาตรน้ำ ถ้าจับได้จะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท | |||||||||||
9. | ผู้ใดใช้ยิงปืนจุดประทัดหรือทำให้เสียงดังใน หมู่บ้าน(ยกเว้นเป็นประเพณี)ผู้ใดฝ่าฝืนถูกปรับครั้งละไม่เกิน 100 บาท คณะกรรมการปรับครั้งละไม่เกิน 1000 บาท สอบต.. ,ผช. ปรับครั้งละเกิน 1500 บาท ผญบ. ปรับครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท | |||||||||||
10. | ผู้ใดนำขยะไปทิ้งในสาธารณะประโยชน์ เช่น แม่น้ำหรือสถานที่ซึ่งมีเจ้าของแล้วถูกจับได้ปรับครั้งละไม่เกิน 200 บาท | |||||||||||
11. | ผู้ใดใช้กระแสไฟฟ้าจี้ปลา สูบปลา ใช้ยาฆ่าแมลงหรือวัตถุระเบิด ตาข่าย อวน แห จับปลาในเขตห้ามของหมู่บ้านถูกจับได้ปรับครั้งละไม่เกิน 4,000 บาท | |||||||||||
12. | ผู้ใดขับขี่รถเสียงดังบนท้องถนนหรือในซอยหมู่บ้าน ในยามวิกาลจับได้ปรับครั้งละไม่เกิน 500 บาท | |||||||||||
13. | ผู้ใดมียาเสพย์ติดไว้ครอบครอง เพื่อเสพย์หรือใช้ในสถานที่ต่างๆในหมู่บ้านของตนเองเป็นแหล่งมั่วสุมยาเสพย์ ติด จับได้ปรับครั้งละไม่เกิน 1000 บาท และส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมาย | |||||||||||
14. | ราษฎรในหมู่บ้านทุกคนต้องเคารพกฎระเบียบของหมู่บ้าน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตัดออกจากการเป็นสมาชิกด้านสังคมต่างๆของหมู่บ้าน ดังนี้ |
|||||||||||
|
นายธงชัย มาสุข | นายเหลี่ยม รุ่งเรือง | นายติด วงศ์แก้ว |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 | ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 | ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 |
นายก้าน กลิ่นหอม | นายสมหมาย ฐานะราช | นางนันทิกานต์ คิดหา |
สมาชิก อบต. | ที่ปรึกษา | สมาชิก อบต. |
คงพอไว้เท่านี้ก่อนสำหรับประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรานะครับ รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายสงกรานต์ มาสุข "หนานแดน" ท.ทิวเทือกเขา |
หาก มีข้อผิดพลาดประการใด ที่เกี่ยวกับข้อมูลและรูปภาพ กระผมขอน้อมรับคำแนะนำติชมได้ตลอดเวลา ภาพและข้อมูลต่างๆ หากใครมีเพิ่มเติมก็ส่งให้ผมได้นะครับ ผมก็รวบรวมได้ตามที่พอจะหาได้ ซึ่งก็มีให้ชมมากมายในเว็ปไซต์ www.kasetsomboon.org นะครับ ท่านสามารถรับชมภาพและข้อมูลต่างๆของทางเว็ปไซต์ของได้โดยคลิ๊กไปที่หัวข้อ หรือ เรื่องราวต่างๆในหน้าเว็ปไซต์ของเราได้เลยครับ หรือจะเลือกรับชมวีดีโอต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์และวัดของ เรา ก็ขอเพียงท่านพิมพ์คำว่า วัดเกษตรสมบูรณ์ ในเว็ปไซต์ http://www.youtube.com ท่านก็จะสามารถรับชมวีดีโอต่างๆได้ ซึ่งมีอยู่จำนวนเยอะแยะมากมายหลายร้อยหลายพันวีดีโอ หรือ หากท่านจะเข้ารับชมในเว็ปไซต์ผ่านทางเฟรชบุ๊คที่ เว็บไซต์ รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ หรือของ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา ขอบกราบขอบพระคุณครับ |
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็ปไซต์ของเราก่อนนะครับ คลิ๊กอ่านได้เลย |
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 1 | 11. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 11 |
2. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 2 |
12. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 12 |
3. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 3 |
13. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 13 |
4. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 4 |
14. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 14 |
5. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 5 |
15. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
6. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 6 |
16. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
7. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 7 |
17. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
8. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 8 |
18. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
9. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 9 | 19. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
10. | บันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | ตอนที่ 10 | 20. | ภาพบันทึกการเดินทางของ นายตัวดี | Face Book |
ขอบคุณนะครับ ที่ติดตามอ่านบทความของผม นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างอ่างเก็บน้ำญวนได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 1 | 4. | ติดตามโครงสร้างอ่างฯ | สำนักข่าว |
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 2 | 5. | ความเป็นมาของโครงการฯ | บทนำ |
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำญวน | ตอนที่ 3 |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของดอยผาขาม (ดอยผาข่าม) ตำนานสอนใจ ได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ | ที่ | ชื่อเรื่อง | ตอนที่ |
1. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 1 | 6. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 2 |
2. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ | ตอนที่ 2 | 7. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 3 |
3. | ตำนานพระสุธนมโนราห์ | ตำนาน | 8. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 4 |
4. | ตำนานนกหัสดีลิงค์ | ตำนาน | 9. | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 5 |
5 | เบื้องหลังความงดงามดอยผาขาม | ตอนที่ 1 |
ที่ | ช่องทางการติดต่อ | ชื่อที่ใช้ | ที่ | ช่องทางการติดต่อ | ชื่อที่ใช้ |
1. | ทาง Face Book ส่วนตัว | นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา | 5. | อีเมลล์ ส่วนตัว | This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it |
2. | ทาง Face Book หมู่บ้าน | รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ | 6. | อีเมลล์ หมู่บ้าน | This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it |
3. | ทาง Face Book เพื่อนๆ |
Kasetsomboon City | 7. | Skype | kasetsomboon999 |
4. | ทาง MSN | This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it | 8. | Line | Dan |
ท่านสามารถอ่านบทความและเนื้อหาต่างๆของเว็ปไซต์นี้ ผ่านหัวข้อต่างๆดังนี้ |
ที่ | หัวข้อ | ที่ | หัวข้อ | ที่ | หัวข้อ |
1. | บทนำ | 8. | บทความสำนึกรักบ้านเกิด | 15. | รวมลิงค์ต่างๆ |
2. | ข้อตกลงก่อนชม | 9. | บทความคติธรรมคำคม | 16. | เว็ปบอร์ด |
3. | ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์ | 10. | บทความวัฒนธรรมประเพณี | 17. | ติดต่อเรา |
4. | ประวัติวัดเกษตรสมบูรณ์ | 11. | รวมรูปภาพ | 18. | ฟังเพลงคำเมืองบ้านเฮา |
5. | บทความทั่วไป | 12. | ฟังวิทยุออนไลน์ | 19. | อ่านข่าวย้อนหลัง |
6. | บทความให้ความรู้ | 13. | ราคายางพาราวันนี้ | 20. | บันทึกการเดินทาง |
7. | บทความเกี่ยวกับศาสนา | 14. | แผนที่บ้านเกษตรสมบูรณ์ | 21. | เกี่ยวกับผู้จัดทำ |
ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ เพื่ออ่านเป็นไฟล์ pdf คลิ๊กตรงหัวข้อได้เลยครับ | |||||
1. | รวมประวัติอำเภอเชียงคำ | ดาวน์โหลด | 4. | ประวัติบ้านเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
2. | หน้าปกหนังสือ | ดาวน์โหลด | 5. | ประวัติวัดเกษตรสมบูรณ์ | ดาวน์โหลด |
3. | คำนำสารบัญ | ดาวน์โหลด | 6. | คำสอนสุภาษิตล้านนา | ดาวน์โหลด |
จากใจ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
![]() ![]() ![]() ![]() Copyright © 2009 www.kasetsomboon.org และ www.kasetsomboon.com All rights reserved. |