พิธีไหว้ครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 00:31
เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 12:01
|
พิธีไหว้ครู-ครอบครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์ กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
พิธีไหว้ครู-ครอบครูดนตรีไทยและนาฏศิลป์ เป็นวิถีปฏิบัติทางพิธีกรรมที่สำคัญของศิลปินไทยแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปินทางด้านดนตรีไทย นาฏศิลป์ โขน ละคร หรือการแสดงออกทางวัฒนธรรมไทยต่างๆ ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา การไหว้ครู เป็นวิถีปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อเทพผู้อบรมครูแห่งศิลปะการ แสดงทั้งมวล ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งประสิทธิประสาทความรู้ทางดนตรีไทยและ นาฏศิลป์ให้ ทั้งครูในปัจจุบันและครูที่ล่วงลับไปแล้ว และในฐานะศิษย์ พร้อมใจกันปวารณาตนรับการถ่ายทอดด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาค หน้า การครอบครู เป็นวิถีปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงการรับให้เป็นศิษย์ คือการนำศีรษะครูมาครอบ และครูจะคอยควบคุมรักษาช่วยให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งาม เกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจและมีความมั่นใจ มากขึ้น
ความมุ่งหมายของพิธีไหว้ครู
๑. |
เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายทั้งปวงที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ ศิษย์ |
๒. |
เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว |
๓. |
เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม |
๔. |
พื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่ โบราณว่าเพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน |
๕. |
เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงามอยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ |
ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
๑. |
สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน |
๒. |
สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู" |
๓. |
เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว |
๔. |
ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน |
๕. |
เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้ว |
การกำหนดเวลา สถานที่ และการเตรียมการไหว้ครู
การไหว้ครูของไทย อาจได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและจีน เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อินเดียและจีนเป็นชาติที่มีพิธีการหรือจารีตประเพณีที่เกี่ยวกับการเคารพครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่มายาวนาน ซึ่งโดยนิสัยของคนไทยที่รักอิสระ รักพวกพ้อง รักพ่อแม่ และบรรพบุรุษ เมื่อมีประเพณีที่สอดคล้องกันแพร่เข้ามา คนไทยจึงรับและนำมาสานต่อได้เป็นอย่างดี
พิธีไหว้ครูตามแบบโบราณของไทย นิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ ปัจจุบันมักประกอบพิธีในเดือน ๖ ถึงเดือน ๑๐ เป็นอย่างช้า แต่อนุโลมให้ประกอบพิธีได้ในเดือน ๙ เพราะถือว่า ๙ เป็นเลขมงคลของไทย วันที่กำหนดให้ประกอบพิธีไหว้ครู จะต้องเป็นวันพฤหัสบดีข้างขึ้น ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ ไปจนถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ นับว่าเป็นมงคลยิ่ง เพราะวันพฤหัสบดีข้างขึ้นถือว่าเป็น “วันฟู” เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง และวันที่สามารถประกอบพิธีไหว้ครูได้อีกหนึ่งวัน คือ วันอาทิตย์ข้างขึ้น ปัจจุบันการไหว้ครูบางครั้งกำหนดแต่วันมิได้ถือเอาข้างขึ้นข้างแรม เพราะถือเอาฤกษ์สะดวกหรือความพร้อมเพียงของทุกฝ่าย แต่ก็ไม่หนีวันอยู่ ๒ วัน คือวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ สถานที่ไหว้ครู ต้องเป็นสถานที่สะอาด โอ่โถงขนาดใหญ่ บรรจุคนได้มาก เช่น ห้องประชุม โรงละคร โรงยิม
การเตรียมการไหว้ครู
๑. |
การจัดสถานที่ ต้องดูสถานที่ตั้งศีรษะเทพเจ้า และศีรษะครูหัวโขนต่างๆ ให้หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออกจึงจะดี |
๒. |
การสร้างประรำพิธี ต้องกำหนดที่จำนวนศีรษะที่นำมาประกอบพิธีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด และเครื่องสังเวยจัดไว้จำนวนมากน้อยเพียงใด หากเป็นเครื่องคู่ก็จำเป็นต้องจัดที่วางเครื่องสังเวยให้ใหญ่เพียงพอหรือหากเป็นเครื่องเดี่ยวก็จัดที่วางเครื่องสังเวยให้มีขนาดเล็กลงได้ |
๓. |
การจัดตั้งศีรษะเทพเจ้า และศีรษะครูหัวโขนต่างๆ ต้องทำระดับชั้นวางให้ต่างกัน ตามยศศักดิ์ อย่างน้อยประรำพิธีไม่ควรต่ำกว่า ๓ ชั้น |
๔. |
เมื่อจัดตั้งประรำพิธีเรียบร้อยแล้ว ต้องปูผ้าสีขาวขลิบของแดงยาวตามผืนผ้า หรือเป็นผ้าสีขาวล้วนก็ได้ |
๕. |
เมื่อปูผ้าสีขาวเสร็จแล้ว ให้อันเชิญศีรษะเทพเจ้าชั้นสูงขึ้นก่อน (พระอิศวร) ไว้ตรงกลาง แล้ววางเรียงตามลำดับลงมาจนสุดท้าย |
๖. |
นำดอกไม้ประดับวาง พวงมาลัยคล้องศีรษะ พระด้านจอนหูขวา นางจอนหูซ้าย ห้อยผ้าแดงหรือสีชมพู ที่จอนหูขวาหรือซ้ายก็ได้ |
๗. |
ถ้ามีรูปของครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตไปแล้วนำมากราบไหว้ ก็จัดวางให้เหมาะสม |
๘. |
ถ้ามีเครื่องประกอบ เช่น หนังใหญ่ อาวุธ กระบี่กระบอง หุ่นกระบอก ก็จัดที่วางให้แลดูสวยงามและเหมาะสม |
๙. |
จัดวางเครื่องสังเวยที่เตรียมไว้ โดยที่ทางขวาหันหน้าออกจากประรำพิธีเป็นฝ่ายมนุษย์วานร เครื่องสังเวยเป็นของสุก และทางซ้ายหันหน้าออกเป็นฝ่ายอสูร ยักษ์ เครื่องสังเวยจะเป็นของดิบ ส่วนตรงกลางเป็นเครื่องกระยาบวช และผลไม้ |
๑๐. |
ตรงกลางด้านหน้าล่าง ตั้งเชิงเทียน ๓ เล่ม ตรงกลางเป็นเทียนชัย ขวาหันหน้าออกเป็นเทียนทอง ซ้ายหันหน้าออกเป็นเทียนเงิน ถัดออกมาเป็นกระถางธูปใหญ่ ตรงกลางต่อมาเป็นหมอนกราบ ปูผ้าสีขาว ๑ เมตรคลุมที่กราบ วางคุมภีร์บนที่กราบ ด้านซ้ายหันหน้าออกวางบาตรน้ำมนต์ แป้งกระแจะ และขันกำนลครู ด้านขวาหันหน้าออกวางพานเทวรูปสรงน้ำ พานใส่มงคล สังข์ พานสายสิญจน์คล้องศีรษะ และเหรียญมงคลแจกนักเรียน หรือผู้เข้ารับการครอบครู |
๑๑. |
เตียงทอง หรือเตียงแดง ยาวเมตรครึ่ง หรือ ๒ เมตร ปูผ้าขาวให้ประธานพิธีนั่ง |
๑๒. |
ปูผ้าขาวตรงกลางเป็นทางเดิน ๓ - ๔ เมตร ต่อจากเตียงยาวออกมาสำหรับผู้ประกอบพิธีรำเพลงหน้าพาทย์เข้าสู่พิธ |
การจัดตั้งวางศีรษะเทพเจ้า และศีรษะโขนในพิธีไหว้ครู

๑. |
หัว โขนพระอิศวร แทนสัญลักษณ์องค์พระอิศวร ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง และเป็นเป็นเทพเจ้าผู้ทำลายล้าง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องตั้งให้สูงสุดกว่าหัวโขนอื่น |
๒. |
หัว โขนพระนารายณ์ แทนสัญลักษณ์องค์พระนารายณ์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้บริหารและรักษาโลก เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะต้องต่ำกว่าพระอิศวร |
๓. |
หัว โขนพระพรหม แทนสัญลักษณ์องค์พระพรหม ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องต่ำกว่าพระอิศวร แต่เสมอกับพระนารายณ์ |
๔. |
วโขนพระ อินทร์ แทนสัญลักษณ์องค์พระอินทร์ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าที่จะคอยให้ความช่วยเหลือคนดี เป็นผู้บันดาลให้ฝนตก เพื่อให้ความชุ่มฉ่ำแก่พืชผลในแผ่นดิน เวลตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ต่ำกว่าพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม |
๕. |
หัว โขนพระพิฆเนศ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิฆเนศ ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ สติปัญญา ศิลปศาสตร์ เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เป็นเทพผู้อยู่เหนือการรจนาหนังสือ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งให้ลดลงต่ำกว่าเทพองค์อื่นๆ แต่อาจระดับเดียวกับพระอินทร์ |
๖. |
หัว โขนพระวิสสุกรรม แทนสัญลักษณ์องค์พระวิสสุกรรม ซึ่งถือเป็นเทพแห่งการช่างการก่อสร้าง และเกี่ยวข้องกับการละครชาตรี ที่ทรงเสด็จลงมาประทับยังเสากลางเวที เพื่อปกป้องภยันอันตรายทั้งปวง เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน ต้องตั้งลดลงมาจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ พระพิฆเนศ |
๗. |
หัว โขนพระปรคนธรรพ แทนสัญลักษณ์องค์พระปรคนธรรพ ซึ่งถือว่าเป็นครูปี่พาทย์ เป็นผู้ประดิษฐ์พิณ เป็นผู้ปต่งคัมภีร์กฎหมายที่เรียกว่า "นารทิยาธรรมศาสตร์" เป็นผู้รอบรู้ในกาลทั้งสาม คือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ |
๘. |
หัว โขนพระปัญจสีขร แทนสัญลักษณ์องค์พระปัญจสีขร ซึ่งถือว่าท่านเป็นครูพิณและ ขับร้องต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ |
๙. |
หัว โขนพระพิราพ แทนสัญลักษณ์องค์พระพิราพ ถือว่าเป็นครูอสูรเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ซึ่งศิลปินโขน-ละคร ดนตรีไทย เคารพสักการะในฐานะเป็นครูดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์ เป็นเทพเจ้าแห่งความตาย ความหายนะทั้งปวง ในขณะเดียวกันก็เป็นเทพเจ้าแห่งความประสบโชค ขจัดโรคภัยต่างๆ เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านซ้ายของเวที ต่ำกว่าพระอิศวร แต่สูงกว่าหัวโขนยักษ์อื่นๆ และแยกออกมาอีกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากเทพหรือมนุษย์ |
๑๐. |
หัว โขนพระฤษีกไลโกฎ พรภรตฤษี พระฤษีตาวัว พระฤษีตาไฟ แทนสัญลักษณ์ของท่านแต่ละตน ซึ่งถือว่าเป็นครูฝ่ายมนุษย์ ที่ได้ถ่ายทอดท่ารำและจดบันทึกท่ารำพระอิศวรไว้ โดยเฉพาะพระภรตฤษี (พ่อแก่) ศิลปินมักกล่าวถึงและมีไว้บูชา เพราะถือว่าท่านเป็นครูทางนี้โดยตรง ส่วนพระฤษีตนอื่นศิลปินก็ให้ความเคารพนับถือเช่นกัน เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวที แยกกลุ่มออกมาจากเทพเจ้าหรืออสูร |
การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย - ที่สำหรับครูปัธยาย จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่) - ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่ - ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่ - ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว - ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

รายละเอียดสังเวย มีดังนี้ บายศรีปากชาม ๔ คู่ หัวหมูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ มะพร้าวอ่อน ๔ คู่ เป็ดสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ กล้วยน้ำ ๔ คู่ ไก่สุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ ผลไม้ ๗ อย่าง ๔ คู่ กุ้งสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ อ้อยทั้งเปลือก ๑ คู่ ปลาสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย ๔ คู่ ปูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่ เหล้า ๔ คู่ หัวใจ ตับ หมูดิบ ๑ คู่ เครื่องกระยาบวช ๔ คู่ ไข่ไก่ดิบ ๑ คู่ ขนมต้มแดง ขาว ๔ คู่ หมูหนาม ๔ คู่ เครื่องจิ้ม ๔ คู่ ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ ๑ คู่ หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ๔ คู่ น้ำเย็น ๔ คู่ บุหรี่ กับ ชา ๔ คู่ จัด สิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน ๑ ใบ เงิน ๖ บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า ๑ ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว ๓ เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู ๓ คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู
ขั้นตอนการไหว้ครู
๑. |
จัดเตรียมสถานที่และทำความสะอาดบริเวณที่จัดให้เรียบร้อย |
๒. |
เชิญหัวโขนหรือศีรษะครู ทั้งที่เป็นเทพเจ้า เทวดา ฤาษี และคนธรรพมาประดิษฐาน เพื่อเป็นประธานตั้งไว้บนโต๊ะที่เตรียมพร้อมแล้ว |
๓. |
นิมนต์ พระภิกษุ จำนวน ๙ รูป มาทำพิธีสวดมนต์เย็นเพื่อความเป็นสิริมงคล ในบริเวณสถานที่ที่จัดไว้ในตอนเย็น และนิมนต์มาทำพิธีอีกครั้งในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นก่อนเริ่มพิธีไหว้ครู |
๔. |
จัดเครื่องกระยาบวช เครื่องสังเวย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังเวยจะจัดออกเป็น ๓ ชุด คือ - ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก - ส่วนของพระครูฤาษี พระปรคนธรรพ เป็นอาหารสุก - ส่วนของพระพิราพ ซึ่งเป็นเทพอสูร เป็นอาหารดิบ
|
๕. |
เชิญประธานจัดงานมาจุดธูปเทียนบูชาครู ครูผู้ประกอบพิธีแต่งชุดขาว อ่านโองการเชิญครูต่างๆ มาร่วมในพิธี |
๖. |
ดนตรีบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงตามที่ครูผู้ประกอบพิธีจะเรียกเพลง หลังจากที่อ่านโองการเชิญครูปัธยายแต่ละองค์แล้ว |
๗. |
ครูผู้ประกอบพิธีกล่าวถวายเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆ ที่ได้จัดมา เสร็จแล้วกล่าวลาเครื่องเซ่นสังเวย |
๘. |
ผู้มาร่วมงานรำถวายเพื่อบูชาครู ซึ่งนิยมรำเพลงช้า-เพลงเร็ว เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงบางเพลง เช่น ตระนิมิตร ตระบองกัน คุกพาทย์ เป็นต้น |
๙. |
ครูผู้ประกอบพิธี ทำพิธีครอบให้ศิษย์ที่มาร่วมงาน โดยนำศีรษะครูมาครอบให้ ๓ ศีรษะ คือ - ศีรษะพระครูฤาษี อันเป็นสัญลักษณ์ครูทั่วไป - ศีรษะพระพิราพ อันเป็นสัญลักษณ์ครูโขน - ศีรษะเทริดโนห์รา อันเป็นสัญลักษณ์ครูละคร |
๑๐. |
ลูกศิษย์นำขันกำนล มีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้าขาว เงินกำนลครู ๒๔ บาท (อาจแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ ๖ บาท ๑๒ บาท ๒๔ บาท หรือ ๓๖ บาท) ผู้ที่ได้รับครอบถือว่าเป็นศิษย์ที่มีครูแล้ว และในวงการนาฎศิลป์ได้รับคนผู้นี้เป็นนาฎศิลป์โดยสมบูรณ์ |
๑๑. |
ลูก ศิษย์ที่จะจบออกจากสถาบันเป็นปีสุดท้าย จะเข้ารับมอบ โดยครูผู้ประกอบพิธีจะส่งศรพระขันธ์ให้กับศิษย์ผู้นั้นรับไว้ เปรียบเสมือนการขออนุญาตเพื่อไปสอนศิษย์ต่อไป |
๑๒. |
ครูผู้ประกอบพิธีจะเจิมหน้าผาก ประพรมน้ำมนต์ พร้อมให้ของที่ระลึก(ถ้ามี) และกล่าวคำอวยพรให้กับศิษย์ทุกคนที่เข้าพิธีไหว้ครู |
๑๓. |
ศิษย์ทุกคนจะรำส่งครู ซึ่งนิยมรำโปรยข้าวตอกดอกไม้เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไป |




ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครูโขน-ละคร ดนตรีที่ใช้บรรเลงนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ส่วนเพลงที่บรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อันเป็นเพลงที่ในวงการศิลปินให้ความเคารพ ผู้ที่บรรเลงได้จะต้องเป็นบุคคลที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดอาจจะมีผลถึงตนเอง ที่เรียกว่า "ผิดครู" ซึ่งเพลงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่จะกำหนดอัญเชิญครูปัธยาย (ครูเทพเจ้าต่างๆ) มาร่วมในพิธี ซึ่งแต่ละสถานที่อาจมีการกำหนดเพลงเรียงตามลำดับไม่เหมือนกัน เช่น
๑. |
เพลงเหาะ เชิญพระอิศวร |
๒. |
เพลงกลม เชิญเทพเจ้า |
๓. |
เพลงโคมเวียน เชิญเทวดาทั่วๆ ไป |
๔. |
เพลงบาทสกุณี เชิญพระนารายณ์ |
๕. |
เพลงตระพระปรคนธรรพ เชิญพระปรคนธรรพ (ครูดนตรี) |
๖. |
เพลงตระองค์พระพิราพเต็มองค์ เชิญองค์พระพิราพ |
๗. |
เพลงคุกพาทย์ เชิญครูยักษ์ใหญ่ทั่วไป |
๘. |
เพลงดำเนินพราหมณ์ เชิญผู้ทรงศีล |
๙. |
เพลงช้า-เพลงเร็ว เชิญครูมนุษย์ |
๑๐. |
เพลงเชิดฉิ่ง เชิญครูนาง |
๑๑. |
เพลงกราวนอก เชิญครูวานรหรือพานร |
๑๒. |
เพลงกราวใน เชิญครูยักษ์ทั่วไป |
๑๓. |
เพลงกราวตะลุง เชิญครูแขก |
๑๔ |
เพลงโล้ เชิญครูที่เดินทางน้ำ |
๑๕. |
เพลงเสมอเถร เชิญครูฤษีขึ้นสู่ที่ประทับ |
๑๖. |
เพลงเสมอมาร เชิญครูยักษ์ขึ้นสู่ที่ประทับ |
๑๗. |
เพลงเสมอเข้าที่ เชิญครูที่มิได้เจาะจงว่าเป็นใครสู่ที่ประทับ |
๑๘. |
เพลงเสมอผี เชิญวิญญาณที่เกี่ยวข้องด้านนาฏศิลป์ดนตรีขึ้นสู่ที่ประทับ |
๑๙. |
เพลงแผละ เชิญสัตว์ปีกใหญ่ เช่น ครุฑ มาในพิธี |
๒๐. |
เพลงลงสรง เชิญครูที่มาทุกองค์ลงสรงน้ำ |
๒๑. |
เพลงนั่งกิน เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์กินเครื่องเสวย |
๒๒. |
เพลงเซ่นเหล้า เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์ดื่มสุรา |
๒๓. |
เพลงช้า-เพลงเร็ว เชิญทุกคนที่มาร่วมพิธีรำถวาย |
๒๔. |
เพลงกราวรำ เชิญศิษย์ทุกคนรำเพื่อเป็นสิริมงคลและส่งครูกลับ |
๒๕. |
เพลงพระเจ้าลอยถาด ส่งครูกลับ |
๒๖. |
เพลงมหาชัย บรรเลงส่งท้ายเพื่อความสามัคคี
|


|
บทความบันทึกการเดินทางของเว็ปมาสเตอร์ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา คลิ๊กอ่านได้เลยครับ มีทั้งหมดตอนนี้ 14 ตอน |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างอ่างเก็บน้ำญวนได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของดอยผาขาม (ดอยผาข่าม) ตำนานสอนใจ ได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
หากท่านมีเวลาว่าง ท่านก็สามารถอ่านบทความของเว็ปมาสเตอร์ได้ที่นี่ครับ มีหลายเรื่องหลายตอนให้ท่านได้เลือกอ่าน ก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้างก็อย่าได้ว่ากันนะครับ ไม่มีเจตนาใดใดแอบแฝง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ หรืออยากพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ มีสาระสร้างสรรค์ ก็ขอเชิญท่านแอดผมไปเป็นเพื่อนได้หลายช่องทางครับ ติดต่อผมได้ โดยคลิ๊กที่ชื่อที่ใช้ได้เลยครับ
ที่ |
ช่องทางการติดต่อ |
ชื่อที่ใช้ |
ที่ |
ช่องทางการติดต่อ |
ชื่อที่ใช้ |
1. |
ทาง Face Book ส่วนตัว |
นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
5. |
อีเมลล์ ส่วนตัว |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
2. |
ทาง Face Book หมู่บ้าน |
รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ |
6. |
อีเมลล์ หมู่บ้าน |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
3. |
ทาง Face Book เพื่อนๆ
|
Kasetsomboon City |
7. |
Skype |
kasetsomboon999 |
4. |
ทาง MSN |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
8. |
Line |
Dan |
ท่านสามารถอ่านบทความและเนื้อหาต่างๆของเว็ปไซต์นี้ ผ่านหัวข้อต่างๆดังนี้ |
อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ นี่แค่เป็นการเกริ่นเริ่มต้นของบทความ ยังมีต่ออีกเยอะ จะหาเวลามาพิมพ์ พร้อมอัพเดทภาพประกอบให้น่าสนใจ มีข้อแนะนำติชม หรือ ช่วยกันตรวจปรุ๊พ แล้วส่งไปที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
จักขอบพระคุณยิ่ง
เพื่อการพัฒนาปรับปรุงเว็ปไซต์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป ขอร้องให้ทุกท่านที่เข้ามารับชมเว็ปไซต์ของเรา ทำตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็ปเราด้วยนะครับ ใครที่ไม่เข้าใจกฎของเรา คลิ๊กไปอ่านที่นี่ได้นะครับ ข้อตกลงในการรับชมเว็ปไซต์ของเรา หรือ อ่านบทนำและวัตถุประสงค์ของการจัดทำเว็ปไซต์ ก่อนนะครับ
จากใจ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
* หมายเหตุ
วันเวลาเปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ขอร้องคนบ้านเฮาใส่ใจ๋ ช่วยกั๋นดูแลฮักษาไว้ หื้อลูกหื้อหลาน ได้สืบสานตำนานฮีตฮอยบะเก่ามะเกื้อ (ใครมีข้อมูลที่ดีกว่านี้ ช่วยส่งเมล์ ไปบอกกันหน่อยนะครับ ที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
หรือที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ยินดีตอบ และให้คำปรึกษาครับ ....ท.ทิวเทือกเขา
|