แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2012 เวลา 01:55
เขียนโดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2011 เวลา 01:43
การปลูกข้าว ให้ได้ผลผลิตสูง เกษตรกรต้อง มีวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างดีเท่านั้น และจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ... เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ปลูกนั้น ควรได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะพันธุ์ข้าวไม่เหมือนกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันหลายประการ ดังนี้ ... รูปต้นดี สูงประมาณ 10-120 เซนติเมตร แตกกอมากใบสีเขียวแก่ ใบตรงไม่โค้งงอ มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง คือ..ให้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้นในที่ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจำ ให้เปลี่ยนวิธีปลูกข้าว จากการปักดำมาปลูกโดยการหว่านข้าวแห้งไม่ควรรอให้ฝนตก ได้น้ำพอเพียงในการตากกล้าและปักดำ เพราะจะล่วงเข้ามาในฤดูกาลมาก ทำให้ข้าวที่ปักดำไม่เท่าไรก็จะตั้งท้องและออกดอก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ
ดังนั้น การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรปฏิบัติดังนี้
พิจารณาพันธุ์
การรู้คุณสมบัติของพันธุ์ข้าวก่อนปลูก จะทำให้สามารถดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนั้นได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดความเสียหายและรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ถูกต้องตรงตามพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวนาปีหรือนาปรัง มีอายุเก็บเกี่ยวเมื่อไร
- มีรูปแบบ ขนาด สี ต้น รวง และเมล็ดอย่างไร เมล็ดร่วงหล่นง่ายหรือยาก
- มีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร เช่น แตกกอดีหรือไม่ ต้านทานโรคแมลงอะไร เป็นต้น
- ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive varieties)
เป็นพันธุ์ข้าวที่จะออกดอกได้ในช่วงวันสั้น (น้อยกว่า 12 ชั่วโมง) ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม (ดังยกตัวอย่างมาแล้ว) ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้จะปลูกได้เฉพาะ นาปี ถ้าปลูกในนาปรังจะไม่ออกดอก พันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์ กข. ที่ไวต่อช่วงแสงได้ กข.5, กข.6, กข.8, กข.13, กข.15, กข.19, และกข.17
- ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง (photoperiod insensitive varieties) พันธุ์ข้าวจำพวกนี้จะออกดอกได้โดยไม่ขึ้นกับความยาวของช่วงวันจะขึ้นอยู่กับอายุเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน และใช้เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในนาปรัง ซึ่งต้องอาศัยน้ำชลประทาน พันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ กข.1, กข.2, กข.3, กข.4, กข.7, กข.9, กข.10, กข.11, กข.17, กข.21, กข.23 และ กข.25 ส่วนพันธุ์พื้นเมืองมีอยู่พันธุ์เดียว คือ พันธุ์เหลืองทอง
ข้อพิจารณาพันธุ์ข้าวมาปลูก
น้ำลึกไม่เกิน 50 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : ปลูกเดือนมีนาคม อาทิ ชัยนาท ๑, พิษณุโลก ๖๐-๒, สุพรรณบุรี ๑ / สุพรรณบุรี ๒ / เหนียวสันปาตอง, กำพาย,เหลืองประทิว ๑๒๓, นางพญา ๑๓๒
น้ำลึกไม่เกิน 80 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง (ต้นสูง) : ปลูกเดือนสิงหาคม อาทิ พิษณุโลก ๖๐-๑, หอมพิษณุโลก ๑, ขาวดอกมะลิ ๑๐๕, กข ๑๕, เหลืองประทิว ๑๒๓, ขาวตาแห้ง ๑๗ เป็นต้น
นาหว่านข้าวแห้ง หรือ นาหว่านสำรวย พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : พันธุ์ข้าวควรมีอายุพอเหมาะกับช่วงฝนตก อาทิ ตระกูล กข., เหมยนอง ๖๓, ขาวดอกมะลิ, เหลืองใหญ่, เผือกน้ำ ๔๓, สุพรรณบุรี ๖๐, ปทุมธานี ๖๐, ชุมแพ ๖๐, พัทลุง ๖๐, ชัยนาท ๑, หอมคลองหลวง ๑, ดอกพยอม, ปิ่นแก้ว ๕๖, เก้าราง ๘๘
เมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ควรตรวจเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะดังนี้
- เมล็ดพันธุ์ต้องสะอาดและไม่มีโรคแมลง
- ไม่มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นๆปะปน ถ้ามีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ปะปนไม่มากให้เก็บออก
- ไม่มีเมล็ดวัชพืชปะปน ถ้ามีปะปนให้ฝัด การร่อน การคัดน้ำเกลือ หรือเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ใหม่
- ทดสอบความงอกของเมล็ดก่อน เมล็ดที่นำไปเพาะควรงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
- อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ตกกล้า 50 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร หรือไร่ละ 80 กิโลกรัม
- นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 10 -15 กก./ไร่
การใส่ปุ๋ย
เพื่อต้นข้าวจะได้มีการแตกกอมากและให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยควรใส่ทั้งแปลงกล้าและแปลงปักดำ ตลอดถึงพื้นที่นาที่ปลูกแบบหว่าน ธาตุอาหารที่ต้นข้าวต้องการมากในปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และอาหารเสริมทางใบ
ดินนามีปริมาณแร่ธาตุอาหารต่ำที่สุด เพราะต้นข้าวได้ดูดเอาไปสร้างต้น ใบ และเมล็ด ทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกครั้งที่ปลูกข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
แต่การใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงชาวนาจะต้องเลือกใช้พันธุ์ข้าวปลูกที่ถูกต้องด้วย เพราะข้าวบางพันธุ์ที่มีต้นสูง เมื่อได้รับปุ๋ยมากต้นของมันจะล้มและไม่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จึงทำให้ชาวนาขาดทุนจากการใส่ปุ๋ย และข้าวบางพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย เมื่อได้รับปุ๋ยมากขึ้นก็จะมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูงมากยิ่งขึ้นตามจำนวนปุ๋ยที่ใส่
โดยมีระยะการใส่ปุ๋ย 3 ระยะดังนี้
แปลงกล้า : ก่อนตกกล้า
ปุ๋ยทางดิน - ปุ๋ยตราดาวนก สูตรซุปเปอร์ ดรากอน 10-20 กก./ไร่
พ่นทางใบ - แตกกอ เร่งรวง 2-5 ซีซี. + ไฮแบค 10 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นได้ตลอดตามความเหมาะสม (แต่ละครั้งให้ห่างกัน 7 วันครั้ง)สะสมอาหารพัฒนาเมล็ด กำจัดโรคเข้าต้นข้าวในระยะกล้า ป้องกันกล้าเน่า กล้ายุบ โรคไหม้
ขยายกอ เร่งการแตกกอ
ปุ๋ยทางดิน ปุ๋ยตราดาวนก สูตรซุปเปอร์ ดรากอน 30 กก./ไร่
- นาดำ.......ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือใส่วันปักดำ
- นาหว่าน...ใส่หลังหว่าน 20 วัน
- นาแล้ง.....ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6 วัน
พ่นทางใบ แตกกอ เร่งรวง 10 ซีซี. + ไฮแบค 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นได้ทุก7 วันครั้ง
ขยายกอ เร่งการแตกกอ ป้องกันโรคเน่า รา ใบแห้ง ใบจุด ใบด่าง
เร่งการออกรวง
ปุ๋ยทางดิน ปุ๋ยตราดาวนก สูตรซุปเปอร์ ดรากอน 30-50 กก./ไร่ (แล้วแต่สภาพของต้นข้าว)
- นาดำ......ใส่หลังปักดำประมาณ 35-45 วัน หรือประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก
- นาหว่าน..เช่นเดียวกับนาดำ
- นาแล้ง....ก็เช่นเดียวกัน ..แต่ต้องพิจารณาเพิ่มอีกว่าดินจะต้องเปียกแฉะด้วย
พ่นทางใบ แตกกอ เร่งรวง 15 ซีซี. + ไฮแบค 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ
1. หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา จะทำให้ต้นข้าวแก่สม่ำเสมอ
2. เมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ทำการเก็บเกี่ยวทันที จะได้ข้าวเปลือกคุณภาพดีและผลผลิตสูง
3. ระยะข้าวออกรวง ถ้าอากาศเย็น ความชื้นสูง ไม่มีแดด ระวังโรคไหม้ ระบาดพ่นกำจัดด้วย ไฮแบค กันไว้ก่อน
ข้อควรระวัง
- ก่อนหว่านปุ๋ยทุกครั้ง ควรระบายน้ำในแปลงออกเสียก่อน ถ้าในแปลงนาดำมีน้ำมากกว่า 15 ซม.
- ระยะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 มักจะมีน้ำนาในมาก หรือท่วมคันนา ควรปล่อยน้ำออก
- ไม่ควรหว่านปุ๋ยในขณะฝนตก หรือมีน้ำไหลบ่าท่วมคันนาใหรอจนกว่าน้ำจะลดต่ำกว่าคันนา
- ในแปลงนา หากพื้นดินไม่เสมอกัน ต้องปรับระดับดินในระหว่างการคราดทุก ๆ ปี
- หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้แปลงนาขาดน้ำเกิน 7 วัน
- ช่วงข้าวตั้งท้องไปถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน นาจะขาดน้ำไม่ได้เลย
- หมั่นเก็บหญ้าในนาข้าวออกอย่างน้อย 1-2 ครั้งก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง จะทำให้ปุ๋ยได้ผลดี
- หมั่นตรวจและดูแล เพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าวอื่น ๆ อยู่เสมอ
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างอ่างเก็บน้ำญวนได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
ท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวความเป็นมาของดอยผาขาม (ดอยผาข่าม) ตำนานสอนใจ ได้ โดยคลิ๊กที่หัวข้อแต่ละตอนได้ครับ |
หาก ท่านมีเวลาว่าง ท่านก็สามารถอ่านบทความของเว็ปมาสเตอร์ได้ที่นี่ครับ มีหลายเรื่องหลายตอนให้ท่านได้เลือกอ่าน ก็อ่านเพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้างก็อย่าได้ว่ากันนะครับ ไม่มีเจตนาใดใดแอบแฝง สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ หรืออยากพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ มีสาระสร้างสรรค์ ก็ขอเชิญท่านแอดผมไปเป็นเพื่อนได้หลายช่องทางครับ ติดต่อผมได้ โดยคลิ๊กที่ชื่อที่ใช้ได้เลยครับ
ที่ |
ช่องทางการติดต่อ |
ชื่อที่ใช้ |
ที่ |
ช่องทางการติดต่อ |
ชื่อที่ใช้ |
1. |
ทาง Face Book ส่วนตัว |
นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
5. |
อีเมลล์ ส่วนตัว |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
2. |
ทาง Face Book หมู่บ้าน |
รวมพลคนเกษตรสมบูรณ์ |
6. |
อีเมลล์ หมู่บ้าน |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
3. |
ทาง Face Book เพื่อนๆ
|
Kasetsomboon City |
7. |
Skype |
kasetsomboon999 |
4. |
ทาง MSN |
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
|
8. |
Line |
Dan |
ท่านสามารถอ่านบทความและเนื้อหาต่างๆของเว็ปไซต์นี้ ผ่านหัวข้อต่างๆดังนี้ |
อย่า เพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ นี่แค่เป็นการเกริ่นเริ่มต้นของบทความ ยังมีต่ออีกเยอะ จะหาเวลามาพิมพ์ พร้อมอัพเดทภาพประกอบให้น่าสนใจ มีข้อแนะนำติชม หรือ ช่วยกันตรวจปรุ๊พ แล้วส่งไปที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
จักขอบพระคุณยิ่ง
เพื่อ การพัฒนาปรับปรุงเว็ปไซต์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป ขอร้องให้ทุกท่านที่เข้ามารับชมเว็ปไซต์ของเรา ทำตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็ปเราด้วยนะครับ ใครที่ไม่เข้าใจกฎของเรา คลิ๊กไปอ่านที่นี่ได้นะครับ ข้อตกลงในการรับชมเว็ปไซต์ของเรา หรือ อ่านบทนำและวัตถุประสงค์ของการจัดทำเว็ปไซต์ ก่อนนะครับ
จากใจ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา |
* หมายเหตุ
วัน เวลาเปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ขอร้องคนบ้านเฮาใส่ใจ๋ ช่วยกั๋นดูแลฮักษาไว้ หื้อลูกหื้อหลาน ได้สืบสานตำนานฮีตฮอยบะเก่ามะเกื้อ (ใครมีข้อมูลที่ดีกว่านี้ ช่วยส่งเมล์ ไปบอกกันหน่อยนะครับ ที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
หรือที่
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ยินดีตอบ และให้คำปรึกษาครับ ....ท.ทิวเทือกเขา